วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
           การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
           วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน
เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
           องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม   สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
             1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source)   อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ 
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น  ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ  ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร  จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
             2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์  ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ  ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับ
ข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ  กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง

              3. ช่องสัญญาณ  (channel)  ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน  อาจจะเป็นอากาศ  สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว  เช่น  น้ำ  น้ำมัน เป็นต้น  เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
              4. การเข้ารหัส  (encoding)  เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย  จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้  การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง   ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
              5. การถอดรหัส (decoding)  หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร  โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
              6. สัญญาณรบกวน (noise)  เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ  มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร  ผู้รับข่าวสาร  และช่องสัญญาณ    แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด  ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ  เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร  ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter) 
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง  เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ  เช่น  การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล  เป็นต้น
ข่ายการสื่อสารข้อมูล
            หมายถึง   การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง  อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)
องค์ประกอบพื้นฐาน
หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
   1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง
แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา 120 ตัวอักษร
ต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
   2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบ
สภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาด
ไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
   3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีก
โลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่ง
สามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
   4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการ
จัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้   

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฏเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล(Sender)
ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ใน รูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับ รับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ
3. โปรโตคอล  (Protocal)
โปรโตคอล คือ กฏระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC เป็นต้น
4. ซอฟต์แวร์ (Software)
การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับกำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell’s netware] UNIX Windows NT ฯลฯ
5. ข่าวสาร (Message)
เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้
5.1 ข้อมูล (Data)  เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
5.2 ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้ค่อนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง
5.3 รูปภาพ (Image) เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บ และใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก
5.4 เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ
6. ตัวกลาง(Medium)
เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับ หรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สำหรับสื่อสารข้อมูล
เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต้นทางเข้ากับคอมพิวเตอร์ปลายทาง โดยใช้ตัวกลางหรือสื่อกลางสำหรับเชื่อมต่อ ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ การต่อแบบสายตรงตามรูปนั้น อาจจะต่อตรงโดยใช้ช่องต่อแบบขนานของเครื่อง ทั้ง 2 เครื่อง เพื่อใช้สำหรับโอนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องได้ หรืออาจจะต่อโดยใช้อินเทอร์เฟสคาร์ดใส่ไว้ใน เครื่องสำหรับเป้นจุดต่อก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งานเป็นการเชื่อมต่อ ระยะไกลจากคอมพิวเตอร์ต้นทางไปยังปลายทาง โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ
การส่งสัญญาณข้อมูล (Transmission Definition)
การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆจากอุปกรณ์สำหรับส่งหรือผู้ส่ง ผ่านทางตัวกลางหรือสื่อกลาง ไปยังอุปกรณ์รับหรือผู้รับข้อมูลหรือข่าว ซึ่งข้อมูลหรือข่าวสารที่ส่งไปอาจจะอยู่ในรูปของสัญญาณเสียง  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงก็ได้ โดยที่สื่อกลางหรือตัวกลางของสัญญาณนั้นแบ่งเป็น 2 ชนิด คือชนิดที่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ เช่น สายเกลียวคู่ (Twisted paire) สายโทรศัพท์ สายโอแอกเชียล (Coaxial) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ส่วนตัวกลางอีกชนิดหนึ่งนั้นไม่สามารถกำหนดเส้นทางของสัญญาณได้ เช่น สุญญากาศ น้ำ และ ชั้นบรรยากาศ เป็นต้น
แบบของการส่งสัญญาณข้อมูล
การส่งสัญญาณข้อมูล สามารถแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบดังนี้
1. การส่งสัญญาณทางเดียว (One-Way Transmission หรือ Simplex)
การส่งสัญญาณแบบนี้ในเวลาเดียวกันจะส่งได้เพียงทางเดียวเท่านั้น ถึงแม้ว่าตัวส่งจะมีสัญญาณช่องทางก็ตาม ซึ่งมักจะเรียกการส่งสัญญาณทางเดียวนี้ว่า ซิมเพล็กซ์ ผู้ส่งสัญญาณจะส่งได้ทางเดียว โดยที่ผู้รับจะไม่สามารถโต้ตอบได้ เช่น การส่งวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพโทรทัศน์
2. การส่งสัญญาณกึ่งทางคู่ (Half-Duplex หรือ Either-Way)
การส่งสัญญาณแบบนี้เมื่อผู้ส่งได้ทำการส่งสัญญาณไปแล้ว ผู้รับก็จะรับสัญญาณนั้นหลังจากนั้นผู้รับก็สามารถปรับมาเป็นผู้ส่งสัญญาณแทน ส่วนผู้ส่งเดิมก็ปรับมาเป็นผู้รับแทนสลับกันได้ แต่ไม่สามารถส่งสัญญาณพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ จึงเรียกการส่งสัญญาณแบบนี้ว่า ฮาร์ฟดูเพล็กซ์ (Half Duplex หรือ HD) ได้แก่ วิทยุสนามที่ตำรวจใช้ เป็นต้น
3. การส่งสัญญาณทางคู่ (Full-Duplex หรือ Both way Transmission)
การส่งสัญญาณแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันทั้งสองทางในเวลาเดียวกัน เช่น การใช้โทรศัพท์ ผู้ใช้สามารถพูดสายโทรศัพท์ได้พร้อม ๆ กัน
มาตรฐานสากล(International Standards)
เพื่อความเป็นระเบียบและความสะดวกของผู้ผลิตในการผลิตอุปกรณ์สื่อสารแบบต่าง ๆ ขึ้นมา จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานสากล สำหรับระบบติดต่อสื่อสารข้อมูลขึ้น ซึ่งประกอบด้วยโปรโตคอล และสถาปัตยกรรมโดยมีการจัดตั้งองค์การสำหรับพัฒนา และควบคุมมาตรฐานหมายองค์กรดังต่อไปนี้
1. ISO (The International Standards Organization)
เป็นองค์การสากลที่พัฒนามาตรฐานสากลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเครือข่าย โดยมีการแบ่งโครงสร้างในการติดต่อสื่อสารออกเป็น 7 ชั้น (Layers)
2. CCITT (The Conseclitive Committee in International)
เป็นองค์กรสากลที่พัฒนามาตรฐาน v และ x โดยที่มาตรฐาน v ใช้สำหรับวงจรโทรศัพท์และโมเด็ม เช่น  v29,v34 ส่วนมาจรฐาน x ใช้กับเครือข่ายข้อมูลสาธารณะเช่น เครือข่าย x.25 แพ็กเกจสวิตช์ (Package switch) เป็นต้น
3. ANSI (The American National Standards Institute)
เป็นองค์กรมาตรฐานของสหรัฐเมริกา ANSI ได้พัฒนามาตรฐานเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและ ระบบเครือข่ายมาตรฐานส่วนใหญ่จะ เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ตัวเลข ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลและมาตรฐานเทอร์มินัส
4. IEE (The Institute of Electronic Engineers)
เป็นมาตรฐานที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักวิชาการ และผู้ปกครองอาชีพทางสาขาไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริการ มาตรฐานจะเน้นไปทางด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ไมโครโปรเซสเซอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น IEE 802.3 ซึ่งใช้ระบบ LAN (Local Area Network)
5. EIA (The Electronics Industries Association)
เป็นองค์กรมาตรฐานของอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานทางด้านไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน EIA จะขึ้นต้นด้วย RS (Recommended Standard) เช่น Rs-232-c เป็นต้น
การผลิตของผู้ประกอบการต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้มาตรฐานใดก็ตาม สิ่งที่ผลิตนั้นอย่างน้อยจะต้องได้ครบตามมาตรฐาน แต่อาจจะดีเหนือกว่ามาตรฐานก็ได้
ลักษณะของสัญญาณที่ใช้ในการส่งสัญญาณข้อมูล
การส่งสัญญาณข้อมูล หรือข่าวสารต่าง ๆ สามารถทำได้ 2 ลักษณะดังนี้
1. การส่งสัญญาณแบบอนาลอก(Analog Transmission)
การส่งสัญญาณแบบอนาลอกจะไม่คำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่รวมอยู่ในสัญญาณเลย โดยสัญญาณจะแทนข้อมูล อนาลอก เช่น สัญญาณเสียง เป็นต้น ซึ่งสัญญาณอนาลอกที่ส่งออกไปนั้นเมื่อระยะห่างออกไปสัญญาณก็จะอ่อนลงเรื่อย ๆ ทำให้สัญญาณไม่ค่อยดี ดังนั้นเมื่อระยะห่างไกลออกไปสามารถแก้ไขได้โดยใช้เครื่องขยายสัญญาณ (Amplifier) แต่ก็มีผลทำให้เกิดสัญญาณรบกวน (Noise) ขึ้น ยิ่งระยะไกลมากขึ้นสัญญาณรบกวนก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถแก้ไขสัญญาณรบกวนนี้ได้โดยใช้เครื่องกรองสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออกไป
2. การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล(Digital Transmission)
การส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะใช้เมื่อต้องการข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนแน่นอน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสนใจรายละเอียดทุกอย่างที่บรรจุมากับสัญญาณ ในทำนองเดียวกันกับการส่งสัญญาณแบบอนาลอก กล่าวคือ เมื่อระยะทางในการส่งมากขึ้น สัญญาณดิจิตอลก็จะจางลง ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยใช้อุปกรณ์ทำสัญญาณซ้ำ หรือรีพีตเตอร์(Repeater)
ปัจจุบันการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะเข้ามามีบทบาทสูงในการสื่อสารข้อมูล เนื่องจากให้ความถูกต้องชัดเจนของข้อมูลสูง และส่งได้ในระยะไกลด้วย สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้ง่ายด้วย ทั้งนี้เนื่องจากสัญญาณจากคอมพิวเตอร์อยู่ใน รูปของดิจิตอลนั่นเองแต่เดิมนั้นถ้าหากระยะทางใน การสื่อสารไกลมักจะใช้สัญญาณแบบอนาลอกเสียส่วนใหญ่ เช่น โทรศัพท์, โทรเลข เป็นต้น
รหัสที่ใช้ส่งสัญญาณข้อมูล(Transmission Code)
การส่งสัญญาณการสื่อสารถูกแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ แบบดิจิตอลและแบบอนาลอก ซึ่งการส่งสัญญาณแบบอนาลอกส่วนใหญ่จะเป็นการติดต่อสื่อสารกันระหว่างมนุษย์ ได้แก่ การได้ยิน การมองเห็น อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ สำหรับการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลนั้น  ส่วนใหญ่จะสื่อสารกันโดยใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในการถ่ายทอดข้อมูลซึ่งกันและกัน
ข้อมูลหรือข่าวสารโดยทั่วไปแล้วในเบื้องต้นส่วน ใหญ่จะอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ในทันที เช่น ตัวอักษร ตัวเลข เสียง และภาพต่าง ๆ ซึ่งข่าวสารเหล่านี้จะอยู่ในรูปแบบอนาลอก แต่เมื่อต้องการนำข้อมูลหรือข่าวสารเหล่านี้มาใช้กับคอมพิวเตอร์ จะต้องเปลี่ยนข้อมูล หรือข่าวสารเหล่านี้ให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้เสียก่อน ซึ่งคอมพิวเตอร์จะรับรู้ข่าวสารที่เป็นแบบดิจิตอลเท่านั้น นั่นคือการเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนข่าวสารแบบอนาลอกให้เป็นข่าวสารแบบดิจิตอลนั่นเอง
จากข้อความหรือข่าวสารต่าง ๆ ที่เรามองเห็นและเข้าใจได้ เมื่อเราป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยพิมพ์เข้าทางแป้นพิมพ์ ตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไปจะต้องมีการเข้ารหัสโดยผ่านตัวเข้ารหัส (Encoder) ให้อยู่ในรูปของสัญญาณที่สามารถส่งสัญญาณต่อไปได้เมื่อสัญญาณถูกส่งไปยังเครื่องรับ จากนั้นเครื่องรับก็จะตีความสัญญาณที่ส่งมาและผ่านตัวถอดรหัส (Decodes) ให้กลับมาอยู่ในรูปแบบที่เราเข้าใจได้หรืออยู่ในรูปแบบที่ใช้สำหรับเก็บในคอมพิวเตอร์ก็ได้อีกครั้งหนึ่ง
รูปแบบของรหัส
รหัสที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของไบนารี (Binary)  หรือเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 กับเลข 1 โดยใช้รหัสที่เป็นเลข 0 แทนการไม่มีสัญญาณไฟและเลข 1 แทนการมีสัญญาณไฟ ซึ่งเป็นไปตามหลักการของไฟฟ้าที่มีลักษณะมีไฟและไม่มีไฟอยู่ตลอดเวลา เรียกรหัสที่ประกอบด้วย 0 กับ 1 ว่าบิต (Binary Digit) แต่เนื่องจากข้อมูลหรือข่าวสารทั่วไปประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลขและสัญลักษณ์มากมาย ถ้าจะใช้ 0 กับ 1 เป็นรหัสแทนแล้วก็คงจะได้เพียง 2 ตัวเท่านั้น เช่น 0 แทนตัว A และ 1 แทนด้วย B
ดังนั้นการกำหนดรหัสจึงได้นำกลุ่มบิทมาใช้ เช่น 6 บิท, 7 บิท หรือ 8 บิทแทนตัวอักษร 1 ตัว ซึ่งจะสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด รหัสมาตรฐานโดยทั่วไปจะใช้กับอักขระภาษาอังกฤษซึ่งมีหลายมาตรฐาน เช่น รหัสโบดอต (Baudot code), รหัสเอบซีดิก (EBCDIC) และรหัสแอสกี (ASCll Code)
                รหัสแอสกี (ASCll CODE)
รหัสแอสกี (ASCll CODE) มาจากคำเต็มว่า American Standard Code for Information Interchange ซึ่งเป็นรหัสมาตรฐานของอเมริกาที่ใช้สำหรับส่งข่าวสารมีขนาด 8 บิท โดยใช้ 7 บิทแรกเข้ารหัสแทนตัวอักษร ส่วนบิทที่ 8 จะเป็นบิทตรวจสอบ (Parity Bit Check) รหัสแอสกีได้รับมาตรฐานของ CCITT หมายเลข 5 เป็นรหัสที่ได้รับความนิยมในการสื่อสารข้อมูลอย่างกว้างขวาง เนื่องจากรหัสแอสกีใช้ 7 บิทแรกแทนตัวอักขระ แต่ละบิทจะประกอบด้วยตัวเลข 0 หรือเลข 1 ดังนั้นรหัสแอสกีจะมีรหัสที่แตกต่างกันได้เท่ากับ 27 หรือเท่ากับ 128 ตัวอักขระนั่นเองในจำนวนนี้จะแบ่งเป็นตัวอักษรที่พิมพ์ได้ 96 อักขระ และเป็นตัวควบคุม (Control Characters) อีก 32 อักขระ ซึ่งใช้สำหรับควบคุมอุปกรณ์และการ ทำงานต่าง ๆ
                รหัสโบคอต (Baudot Code)
รหัสโบคอตเป็นรหัสที่ใช้กับระบบโทรเลข และเทเล็กซ์ ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐานของ CCITT หมายเลข 2 เป็นรหัสขนาด 5 บิท สามารถมีรหัสที่แตกต่างกันได้เท่ากับ 25 หรือเท่ากับ 32 รูปแบบ ซึ่งไม่เพียงพอกับจำนวนอักขระทั้งหมด จึงมีการเพิ่มอักขระพิเศษขึ้นอีก 2 ตัว คือ 11111 หรือ LS (Letter Shift Character) เพื่อเปลี่ยนกลุ่มตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์เล็ก (Lower case) และ 11011 หรือ FS(Figured Shift Character) สำหรับเปลี่ยนกลุ่มตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทำให้มีรหัสเพิ่มขึ้นอีก 32 ตัว แต่มีอักขระซ้ำกับอักขระเดิม 6 ตัว จึงสามารถใช้รหัสได้จริง 58 ตัว อีก 32 ตัว แต่มีอักขระซ้ำกับอักขระเดิม 6 เดิม จึงสามารถใช้รหัสได้จริง 58 ตัว เนื่องจากรหัสโบคอตมีขนาด 5 บิท ซึ่งไม่มีบิทตรวจสอบจึงไม่นิยมนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์
                รหัสเอบซีดิก (EBCDIC)
รหัส EBVFIC มาจากคำเต็มว่า Extended Binary Coded Deximal Interchange Code พัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM มีขนาด 8 บิตต่อหนึ่งอักขระ โดยใช้บิตที่ 9 เป็น บิทตรวจสอบ ดังนั้นจึงสามารถมีรหัสที่แตกต่างสำหรับใช้แทนตัวอักษรได้ 28 หรือ 256 ตัวอักษร ปัจจุบันรหัสเอบซีดิกเป็นมาตรฐานในการเข้าตัวอักขระบนเครื่องคอมพิวเตอร์
รหัสแบบของการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารข้อมูล
การเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารเพื่อสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอักจุดหนึ่งนั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสม สำหรับรูปแบบของการเชื่อมต่อแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบดังต่อไปนี้
1. การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point to Point Line)
เป็นการเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน โดยต่อจากอุปกรณ์รับหรือส่ง 2 ชุด ใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวมีความยาวของสายไม่จำกัด เชื่อมต่อสายสื่อสารไว้ตลอดเวลา (Lease Line) ซึ่งสายส่งอาจจะเป็นชนิดสายส่งทางเดียว (Simplex) สายส่งกึ่งทางคู่(Half-duplex) หรือสายส่งทางคู่แบบสมบูรณ์ (Full-duplex) ก็ได้ และสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งแบบซิงโครนัสหรือแบบวิงโครนัส การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดมีได้หลายลักษณะดังรูปข้างต้น
2. การเชื่อมต่อแบบหลายจุด(Multipoint or Multidrop)
เนื่องจากค่าเช่าช่องทางในการส่งผ่านข้อมูลต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมากการส่งข้อมูลไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา จึงมีแนวความคิดที่จะใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวแต่เชื่อมต่อกับหลายๆ จุด ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ลักษณะการเชื่อมต่อแบบหลายจุดแสดงให้เห็นได้
    การเชื่อมต่อแบบหลายจุดแต่จุดจะมีบัพเฟอร์  (Buffer) ซึ่งเป็นที่พักเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนทำการส่ง โดยบัพเฟอร์จะรับข้อมูลมาเก็บเรื่อย ๆ จนเต็มบัพเฟอร์ ข้อมูลจะถูกส่งทันทีหรือเมื่อมีคำสั่งให้ส่ง เพื่อใช้สายสื่อสารให้เต็มประสิทธิภาพในการส่งแต่ละครั้ง และช่วงใดที่ว่างก็สามารถให้ผู้อื่นส่งได้ การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะกับการสื่อสารที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก และเป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการสื่อสารข้อมูลโดยวิธีการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะประหยัดค่าใช้จ่าย และใช้ระบบสื่อสารได้ค่อนข้างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการดังต่อไปนี้
ประสิทธิภาพของเครื่องและซอฟต์แวร์ที่ใช้สื่อสารข้อมูล
ปริมาณการส่งผ่านข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสถานีส่งและรับข้อมูล
ความเร็วของช่องทางการส่งผ่านข้อมูลที่ใช้
ข้อจำกัดที่ออกโดยองค์การที่ควบคุมการสื่อสารของแต่ละประเทศ
3. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสาร (Switched Network)
จากรูปแบบการเชื่อมต่อที่เป็นแบบจุดซึ่งต้องต่อสายสื่อสารไว้ตลอดเวลา แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้วการสื่อสารข้อมูลไม่ได้ผ่านตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีแนวความคิด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารหรือเครือข่ายสวิตซ์ซิ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุดให้สามารถใช้สื่อสารได้มากที่สุด ลักษณะเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารสามารถแสดงได้ดังรูป
เครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารที่เห็นโดยทั่วไปมี 4 รูปแบบดังนี้
เครือข่ายสื่อสารโทรศัพท์ (The Telephone NetworK)
เครือข่ายสื่อสารเทลเล็กช์ (The  Telex/TWX Network)
เครือข่ายสื่อสารแพคเกตสวิตซ์ซิ่ง(package Switching Network)
เครือข่ายสื่อสารสเปเซียลไลซ์ ดิจิตอล(Specialized Digital Network)
หลักการทำงานของเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารดังนี้
การเชื่อมต่อด้องเป็นแบบจุดต่อจุด
ต้องมีการเชื่อมต่อการสื่อสารกันทั้งฝ่ายรับและส่งก่อนจะเริ่มรับหรือส่งข้อมูล เช่น หมุนเบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น
หลังจากสื่อสารกันเสร็จเรียบร้อยจะต้องตัดการเชื่อมต่อ เพื่อให้ผู้อื่นใช้สายสื่อสารได้ต่อไป

สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
                องค์ประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลอันหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือสายสื่อกลาง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางได้ เช่น สายโคแอกเซียล (Coaxial) สายเกลียวคู่ (Twisted-pair) สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) และสื่อกลางที่กำหนดเส้นทางไม่ได้ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นดาวเทียม คลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น
การเลือกสื่อกลางที่จะนำมาใช้ในการเชื่อมต่อระบบสื่อสารข้อมูลนั้น จำเป็นต้องพิจารณากันหลายประการ เช่น ความเร็วในการส่งข้อมูล ราคาของอุปกรณ์ที่ใช้ สถานที่ใช้ การบริการ การควบคุม ตลอดจนเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ซึ่งลื่อกลางแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป
                สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable)
สายโคแอกเซียลเป็นสายที่นิยมใช้กันค่อนข้างมากในระบบการสื่อสารความถี่สูง เช่น สายอากาศของทีวี สายชนิดนี้ถูกออกแบบมาให้มีค่าความต้านทาน 75 โอห์มและ 50 โอห์ม โดยสาย 75 โอห์ม ส่วนใหญ่ใช้กับสายอากาศทีวีและสาย 50 โอห์ม จะนำมาใช้กับการสื่อสารที่เป็นระบบดิจิตอล
คุณสมบัติของสายโคแอกเซียลประกอบด้วยตัวนำสองสาย โดยมีสายหนึ่งเป็นแกนอยู่ตรงกลางและอีกเส้นเป็นตัวนำล้อมรอบอยู่อีกชั้น มีขนาดของสาย 0.4 ถึง 1 นิ้ว
สายโคแอกเซียลมี 2 แบบ คือ แบบหนา (Thick) และแบบบาง (Thin) แบบหนาจะแข็ง การเดินสายทำได้ค่อนข้างยาก แต่สามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่าแบบบางสามารถ เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของสายสื่อสารกลางแบบโคแอกเชียลได้ดังต่อไปนี้
                สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair)
สายคู่เกลียวเป็นสายมาตรฐานสองเส้นหุ้มด้วยฉนวนแล้วบิดเป็นเกลียว สามารถรับส่งข้อมูลได้ทั้งแบบ อนาลอกและแบบดิจิตอล สายชนิดนี้จะมีขนาด 0.015-0.056 นิ้ว ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 10 เมกะบิทต่อวินาที ถ้าใช้ส่งสัญญาณแบบอนาลอกจะต้องใช้วงจรขยายหรือแอมพลิฟายเออร์ ทุก ๆ ระยะ 5-6 กม. แต่ถ้าต้องการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะต้องใช้อุปกรณ์ทำซ้ำสัญญาณ (Repeater) ทุก ๆ ระยะ 2-3 กม. โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้หลายเมกะบิตต่อวินาทีในระยะทางได้ไกลหลายกิโลเมตร เนื่องจากสายคู่เกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี และมีน้ำหนักเบา นอกจากนั้นยังง่ายต่อการติดตั้ง จึงถูกใช้งานอย่างกว้างขวางตัวอย่างของสายคู่บิดเกลียว คือ สายโทรศัพท์ สำหรับสายคู่บิดเกลียวนั้นจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ
สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน        (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่บางทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่จะป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก
สายส่งข้อมูลแบบไฟเบอร์ออฟติกจะประกอบด้วยเส้นใยทำจากแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งอยู่ตรงแกนกลาง อีกชนิดหนึ่งอยู่ด้านนอก โดยที่ใยแก้วทั้ง 2 นี้จะมีดัชนีในการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงที่ส่งจากปลายด้านหนึ่งผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งได้
                สายส่งแบบไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic)
เป็นการส่งสัญญาณด้วยใยแก้ว และส่งสัญญาณด้วยแสงมีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสามารถส่งข้อมูล ได้ด้วยเร็วเท่ากับแสง ไม่มีสัญญาณรบกวนจากภายนอก
สายส่งข้อมูลแบบไฟเบอร์ออฟติกจะประกอบด้วยเส้นใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งอยู่ตรงแกนกลาง อีกชนิดหนึ่งอยู่ด้านนอก โดยที่ใยแก้วทั้ง 2 นี้จะมีดัชนีในการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงที่ส่งจากปลายด้านหนึ่งผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งได้
อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
โมเด็ม (MODEM)
MODEM มาจากคำเต็มว่า Modulator – DEModulator ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลดิจิตอล ที่ได้รับจากเครื่องส่งหรือคอมพิวเตอร์ เป็นสัญญาณแบบอนาลอกก่อนทำการส่งไปยังปลายทางต่อไป โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ และเมื่อส่งถึงปลายทางก็จะมีโมเด็มทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากอนาลอกให้เป็นดิจิตอล เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ปลายทาง
               
มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer)
วิธีการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งปลายทางที่ง่ายที่สุดคือ การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point to Point) แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงและใช้งานไม่เต็มที่ จึงมีวิธีการเชื่อมต่อที่ยุ่งยากขึ้น คือการเชื่อมต่อแบบหลายจุดซึ่งใช้สายสื่อสารเพียงเส้น 802.3
คอนเซนเตรเตอร์ (Concentrator)
คอนเซนเตรเตอร์เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเพิ่มสายหรือช่องทางการส่งข้อมูลได้มากขึ้น การส่งข้อมูลจะเป็นแบบอซิงโครนัส
คอนโทรลเลอร์(Controller)
คอนโทรลเลอร์เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่ส่งข้อมูลแบบอซิงโครนัส ที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้ดี การทำงานจะต้องมีโปรโตคอลพิเศษสำหรับกำหนด วิธีการรับส่งข้อมูล มีบอร์ดวงจรไฟฟ้าและซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์
ฮับ (HUB)
ฮับเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่เช่นเดียวกับมัลติเพล็กซ์เซอร์ ซึ่งนิยมใช้กับระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มีราคาต่ำ ติดต่อสื่อสารข้อมูลตามมาตรฐาน IEEE 802.3
ฟรอนต์ – เอ็นโปรเซสเซอร์  FEP (Front-End Processor)
FEP เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างโฮสต์คอมพิวเตอร์ หรือมินิคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับสื่อสารข้อมูล เช่น โมเด็ม มัลติเล็กซ์เซอร์ เป็นต้น FEP เป็นอุปกรณ์ทีมีหน่วยความจำ (RAM) และซอฟต์แวร์สำหรับควบคุมการทำงานเป็นของตัวเองโดยมีหน้าที่หลักคือ ทำหน้าที่แก้ไขข่าวสาร เก็บข่าวสาร เปลี่ยนรหัสรวบรวมหรือกระจายอักขระ ควบคุมอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล จัดคิวเข้าออกของข้อมูล ตรวจสอบข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูล
อิมูเลเตอร์ (Emulator)
อิมูเลเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกลุ่มข่าวสารจาก โปรโตคอลแบบหนึ่งไปเป็นกลุ่มข่าวสาร ซึ่งใช้โปรโตคอลอีกแบบหนึ่ง แต่จะเป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หรือเป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ก็ได้ บางครั้งอาจจะเป็นทั้ง 2 อย่าง โดยทำให้คอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ามานั้นดูเหมือนเป็นเครื่องเทอร์มินัลหนึ่งเครื่อง โฮสต์หรือมินิคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนิยมนำเครื่อง PC มาใช้เป็นเทอร์มินัลของเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพราะประหยัดกว่าและเมื่อไรที่ไม่ใช้ติดต่อกับมินิ หรือเมนแฟรมก็สามารถใช้เป็น PC ทั่วไปได้
เกตเวย์ (Gateway)
เกตเวย์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าที่หลักคือ ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2  เครือข่ายหรือมากกว่าซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน สามารถสื่อสารกันได้เสมือนกับเป็นเครือข่ายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วระบบเครือข่ายแต่ละเครือข่ายอาจจะแตกต่างกันในหลายกรณี เช่น ลักษณะการเชื่อมต่อ (Connectivity) ที่ไม่เหมือนกัน โปรโตคอลที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลต่างกัน เป็นต้น
บริดจ์ (Bridge)
เป็นอุปกรณ์ IWU (Inter Working Unit)  ที่ใช้สำหรับเชื่อมเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) 2 เครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะใช้โปรโตคอลที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้
เราเตอร์ (Router)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะเป็นเครือข่ายเดียวกันหรือข้ามเครือข่ายกัน โดยการเชื่อมกันระหว่างหลายเครือข่ายแบบนี้เรียกว่า เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) โดยเครือข่ายแต่ละเครือข่ายจะเรียกว่า เครือข่ายย่อย (Subnetwork) ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้เชื่ออมต่อระหว่างเครือข่าย เรียกว่า IWU (Inter Working Unit) ได้แก่ เราเตอร์และบริดจ์
รีพีตเตอร์ (Repeater)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณซ้ำ เพื่อส่งสัญญาณต่อไปนี้ในระยะไกลป้องกันการขาดหายของสัญญาณ ซึ่งรูปแบบของเครือข่ายแต่ละแบบรวมทั้งสายสัญญาณที่ใช้เป็นตัวกลางหรือสื่อกลาง แต่ละชนิดจะมีข้อจำกัดของระยะทางในการส่ง ดังนั้นเมื่อต้องการส่งสัญญาณให้ไกลกว่าปกติต้องเชื่อมต่อกับรีพีตเตอร์ดังกล่าว เพื่อทำให้สามารถส่งสัญญาณ ได้ไกลยิ่งขึ้น
เครือข่าย (Networks)
เครือข่าย หมายถึง กลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันดังนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยสื่อการติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 ระบบเข้าด้วยกัน รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ
ความจำเป็นในการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นในการทำงานในยุคปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังนี้
1) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้การทำงานมีความคล่องตัว ยืดหยุ่น และปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
2)   เครือข่ายช่วยให้หน่วยงานประหยัดงบประมาณโดยช่วยสนับสนุนการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกัน เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และฐานข้อมูล
3) เครือข่ายทำให้พนักงานหรือทีมงานของหน่วยงานที่อยู่ห่างไกลกันสามารถใช้เอกสารร่วมกัน และแลกเปลี่ยนแนวคิด ความเห็น ตลอดจนเสริมให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพดีขึ้น และกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ๆ
4) เครือข่ายช่วยสร้างให้การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานกับลูกค้าหรือองค์การภายนอกมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น
ประเภทของเครือข่าย
1) จำแนกตามพื้นที่
• เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network-LAN)
เป็นการติดต่ออุปกรณ์สื่อสารตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไประยะ 2,000 ฟุต (โดยปกติจะอยู่ในอาคารเดียวกัน) LAN จะช่วยให้ผู้ใช้จำนวนมากสามารถใช้ทรัพยากรของหน่วยงานร่วมกัน เช่น พรินต์เตอร์ โปรแกรม และไฟล์ข้อมูล ในกรณีที่ LAN ต้องการเชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะภายนอก เช่น เครือข่ายโทรศัพท์หรือเครือข่ายของหน่วยงานอื่น จะต้องมี gateway ซึ่งทำหน้าที่เหมือนประตูติดต่อระหว่างเครือข่ายที่แตกต่างกัน โดยช่วยแปลโปรโตคอลของเครือข่ายให้กับอีกโปรโตคอลหนึ่งเพื่อจะทำงานร่วมกันได้
• เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network-MAN)
เครือข่ายเป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงขนาดใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน
• เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network-WAN)
เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ในบริเวณกว้างโดยครอบคลุมทั้งประเทศหรือทั้งทวีป WAN จะอาศัยสื่อโทรคมนาคมหลายประเภท เช่น เคเบิ้ล ดาวเทียม และไมโครเวฟ
2) แบ่งตามความเป็นเจ้าของ
• เครือข่ายสาธารณะ (Public Network)
เป็นเครือข่ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้โดยทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ ดังนั้นผู้ใช้จะต้องแข่งกับผู้ใช้รายอื่น โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีผู้ใช้จำนานมาก เช่น ระบบโทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งผู้ใช้ไม่มีหลักประกันว่าสายจะว่างในช่วงนี้ต้องการหรือไม่
• เครือข่ายเอกชน (Private Network)
เป็นเครือข่ายที่หน่วยงานสามารถเป็นเจ้าของเอง หรือ เช่าเพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร กรณีนี้ก็จะเป็นหลักประกันว่าหน่วยงานจะมีโอกาสได้ใช้เครือข่ายเมื่อต้องการเสมอ
 • เครือข่ายแบบมูลค่าเพิ่ม (Value-added Network-VAN)
เป็นเครือข่ายกึ่งสาธารณะซึ่งให้บริการเพิ่มขึ้นจากการติดต่อสื่อสารปกติผู้ให้บริการสื่อสาร (Communication service provider) เป็นเจ้าของ VAN อย่างไรก็ตาม VAN เร็วกว่าเครือข่ายสาธารณะและมีความปลอดภัยมากกว่า เครือข่ายสาธารณะ
• เครือข่ายเอกชนเสมือนจริง (Virtual Private Network-VPN)
เป็นเครือข่ายสาธารณะที่รับประกันว่าผู้ใช้จะมีโอกาสใช้งานเครือข่ายได้ตลอดเวลา แต่ไม่ได้ให้สายหรือช่องทางการสื่อสารแก่หน่วยงานผู้ใช้โดยเฉพาะ แต่จะใช้วิธีแปลงรหัสข้อมูลของหน่วยงานผู้ใช้โดยเฉพาะ แต่จะใช้วิธีแปลงรหัสข้อมูลของหน่วยงานเพื่อที่จะส่งไปพร้อม ๆ กับหน่วยงานอื่น ๆ
Network Topology
คือการออกแบบและการติดต่อเชื่อมโยงกันของเครือข่ายทางกายภาพ โดยทั่วไปโทโปโลจีพื้นฐานมีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้
1) แบบดาว (Star Network)
เป็นเครือข่ายที่คอมพิวเตอร์ทุกตัวและอุปกรณ์อื่นเชื่อมกับโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่อยู่ และการสื่อสารทั้งหมดระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่ายต้องผ่านโฮสต์คอมพิวเตอร์ เนื่องจากโฮสต์คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์อื่นทั้งหมดในเครือข่าย เครือข่ายแบบดาวเหมาะสำหรับการประมวลผลที่มีลักษณะรวมศูนย์ อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของแบบนี้ คือ หากใช้โฮสต์คอมพิวเตอร์ก็จะทำให้ระบบทั้งหมดทำงานไม่ได้
2) แบบบัส (Bus Network)
เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์โดยใช้สายวงจรเดียว ซึ่งอาจจะเป็นสายเกลียวคู่สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วก็ได้ สัญญาณสามารถสื่อสารได้ 2 ทางในเครือข่ายโดยมีซอฟต์แวร์คอยช่วยแยกว่าอุปกรณ์ใดจะเป็นตัวรับข้อมูล หากมีคอมพิวเตอร์ตัวใดในระบบล้มเหลวจะไม่มีผล ต่อคอมพิวเตอร์อื่น อย่างไรก็ตามช่องทางในระบบเครือข่ายแบบนี้สามารถจัดการรับข้อมูลได้ครั้งละ 1 ชุดเท่านั้น ดังนั้นจึงเกิดปัญหาการจราจรของข้อมูลได้ในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้งานพร้อมกัน โทโปโลจีแบบนี้นิยมใช้ในวงแลน
3) แบบวงแหวน (Ring Network)
คอมพิวเตอร์ทุกตัวเชื่อมโยงเป็นวงจรปิด ทำให้การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งไปยังอีก ตัวหนึ่งโดยเดินทางไปในทิศทางเดียว คอมพิวเตอร์แต่ละตัวทำงานโดยอิสระ หากมีตัวใด ตัวหนึ่งเสียระบบการสื่อสารในเครือข่ายได้รับการกระทบกระเทือน ยกเว้นจะมีวงแหวนคู่ในการรับส่ง ข้อมูลในทิศทางต่างๆ กัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในการป้องกันไม่ให้เครือข่ายหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง
นอกจากโทโปโลจีทั้ง 3 แบบที่กล่าวข้างต้น อาจจะพบโทโปโลจีแบบอื่นๆ เช่น แบบโครงสร้างลำดับชั้น (Hierarchical Network) ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างคล้ายต้นไม้ (Tree) หรือมีแบบผสม (Hybrid) อย่างไรก็ตามโทโปโลจีแต่ละประเภทจะมีข้อดีและ ข้อจำกัดแตกต่างกันผู้พัฒนาระบบจะต้องพิจารณาถึงความเร็ว ความเชื่อถือได้ และความสามารถของเครือข่ายในการทำงาน หรือการแก้ไขข้อบกพร่องในกรณีที่อุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่ง ในระบบมีปัญหาตลอดจนลักษณะทางกายภาพ เช่น ระยะห่างของ node และต้นทุนของทั้งระบบ
รูปแบบการประมวลผลแบบกระจายเครือข่าย (Organizational Distributed Processing)
วิธีการประมวลผลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์มี 3 รูปแบบ คือ
1.Terminal-to-Host Processing
2. File Server Processing
3. Client/Server
หน่วยที่ 1 การสื่อสารกับการเรียนการสอน
การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
1. การเรียนรู้ (Learning) การ เรียนรู้โดยทั่วไป หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
2. การสอน (Instruction) หมาย ถึง การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนการให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไป ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูสื่อสาร และวิธีสอน1. สื่อ ( Medium หรือ Media) สื่อเป็นช่องทางของการสื่อสาร (Communication) มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน หมายถึง ระหว่าง (Between) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศ (Information) ระหว่าง ผู้สื่อกับผู้รับเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ ผู้สอนและอื่นๆ ซึ่งเมื่อใช้สิ่งเหล่านี้นำสารเพื่อการเรียนการสอน เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า
             สื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media) สื่ออาจมีหลายรูปแบบ หรือหลายลักษณะ (Format) แม้แต่สื่อประเภทเดียวกัน ก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ภาพยนตร์ มีทั้งขนาด 8 16 และ 35 มิลลิเมตร เทปคาสเสทก็เป็นสื่ออีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสื่อเกี่ยวกับเสียง และสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อในรูปแบบของภาษา (Verbal) เป็นต้น วัสดุ (Material s ) หมาย ถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นชิ้นหรือเป็นอัน เมื่อนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน อาจเรียกว่า วัสดุการสอนหรือวัสดุการเรียนการสอน โสตทัศนวัสดุ (Audio visual Material s ) หมาย ถึง วัสดุ อุปกรณ์และกิจกรรมต่างๆ (หรือประสบการณ์ทางการศึกษา) ทั้งหลายที่จัดขึ้นมา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส
               สรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ครูและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. สาร (Messages) ใน กิจกรรมการเรียนการสอนใดๆ ก็ตาม ย่อมมีสาร หรือเนื้อหาสาระในการสื่อสารการสอน ซึ่งสารดังกล่าวอาจจะเป็นเนื้อหาวิชา แนวทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คำถามเกี่ยวเรื่องที่ศึกษาคำตอบ หรือคำอธิบายรวมทั้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับสารก็คือ สื่อจะเป็นพาหะนำสาร
          ดัง นั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูหรือผู้สอนที่จะต้องเลือกสรรสื่อที่ดี ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำสารสู่ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. วิธีสอน วิธีสอน (Instructional Methods) โดยทั่วไป มักอธิบายในลักษณะของการนำเสนอแบบต่างๆ (Presentation Forms) เช่น การบรรยาย และการอภิปราย เป็นต้น วิธีสอนกับสื่อการสอนไม่เหมือนกัน วิธีสอนเป็นลักษณะของกระบวนการที่ใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียน หรือเนื้อหาสาระในการเรียน ส่วนสื่อเป็นเพียงพาหะนำสารหรือเนื้อหาความรู้ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับ
การสื่อสารการสอนการสอน เป็นการจัดสภาพแวดล้อมและเนื้อหาความรู้ (Information) เพื่อ เกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การส่งผ่านความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียนเป็นการสื่อสาร จากหลักการสื่อสารจะเห็นว่าการสื่อสารกับการเรียนการสอนมีลักษณะคล้ายคลึง กันมาก จนกล่าวได้ว่าการเรียนการสอนเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง
          อย่าง ไรก็ตาม การเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเฉพาะลึกซึ้งกว่าการสื่อสาร การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการให้ข่าวสารความรู้ แต่การเรียนการสอนเป็นการสื่อสารเฉพาะที่มีการออกแบบวางแผน (Designed) ให้ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอน การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการพื้นฐานในการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้
          การสอนเป็นการจัดการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การถ่ายโอนความรู้หรือสารสนเทศจากผู้สื่อไปยังผู้รับ เรียกว่าการสื่อสาร การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ ย่อมหมายถึงการได้รับความรู้ข่าวสารใหม่ๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้การสอนจึงเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง ดังนั้น เพื่อให้สามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสาร และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนวิธีการแก้ไข เพื่อเป็นแนวคิดใน การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนต่อไป
1. องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
          1) ผู้สื่อ (Source, Sender หรือ Encoder)
          2) ผู้รับ (Receiver หรือ Decoder) และ
          3) สาร (Messages)
2. กระบวนการสื่อสาร (Communication Process)
          กระบวนการสื่อสารอาจอธิบายได้หลายรูปแบบ (Models) รูปแบบที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ SM CR Model
3. ปัญหาการสื่อสาร
          ปัญหาการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านจิตวิทยา เช่น ปัญหาเกี่ยว กับผู้รับไม่สนใจ ไม่ยอมรับรู้ ผู้สื่อสารชอบใช้ภาษาพูด (Verbal ism) ส่วน ปัญหาด้านกายภาพ เช่น ความไม่สะดวก และความห่างไกลจากแหล่งความรู้ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในกระบวนการสื่อสารถ้านำสื่อต่างๆ เข้ามาใช้ก็จะสามารถลดปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้
ความต่อเนื่องระหว่างรูปธรรมนามธรรม
จำแนก และการบูรณาการ เป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ ดังนั้นการชี้แนะจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสอน และการสอนก็เป็นภารกิจสำคัญของครู ด้วยเหตุนี้ ครูจึงต้องเป็นบุคคลที่สามารถจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนได้อย่างเหมาะสมกับ ตัวผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามจุดมุ่งหมายของการสอน
           กรวยประสบการณ์ของ เอดการ์ เดล (Edgar Dale)
การ สอนโดยทั่วไปควรเริ่มจากประสบการณ์ตรง ผ่านไปยังประสบการณ์จำลอง ( เช่น รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิและภาพยนตร์ ) ไปสู่สัญลักษณ์ ซึ่งการเรียนจากสื่อต่างๆ ทั้งหลายจะมีผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การสอนควรควบคู่ไปกับการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจำแนก - บูรณาการ ดังนั้น ประสบการณ์รูปธรรมและ / หรือกึ่งรูปธรรม จะช่วยเกื้อหนุนการเรียนรู้และจดจำได้นาน ตลอดจนช่วยให้เข้าใจสัญลักษณ์หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ดีขึ้น
วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) Abstract
ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols) -------------------------------
การบันทึกเสียง วิทยุและภาพนิ่ง
(Recording, Radio and Iconic
Still Pictures)
ภาพยนตร์ (Motion Pictures)
โทรทัศน์ (Television) -------------------------------
นิทรรศการ (Exhibits)
การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
การสาธิต (Demonstrations)
ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experiences) En active
ประสบการณ์จำลอง (Contrived Experiences)
ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย
(Direct, Purposeful Experiences) -----------------------
นอก จากสื่อการสอนจะให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมแก่ผู้เรียน แล้วสื่อการสอนยังช่วยให้ผู้เรียนได้บูรณาการประสบการณ์เดิมทั้งหลายเข้า ด้วยกันอีกด้วย ดังนั้นการจัดประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมอย่างเหมาะสมในการเรียน การสอน จึงเป็นเหตุผลหรือหลักการสำคัญในการใช้สื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

พื้นฐานทางจิตวิทยาของการเรียนรู้
 1. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist Perspective) นัก จิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม หรือนักจิตวิทยากลุ่มความรู้ความเข้าใจ เชื่อว่ามนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์ ประสบการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม จุดเริ่มของการเรียนรู้จะอยู่ที่การรู้จักจำแนก (Differentiation) สิ่งต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันออกจากกัน และสามารถจัดไว้เป็นกลุ่มหรือพวก ประสบการณ์ในการรู้จำแนกจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิด (Concept) ในเรื่องนั้นๆ กระบวนการขั้นต่อไปก็คือ การนำแนวคิดเหล่านั้นมาบูรณาการ (Integration) เข้า ด้วยกัน เกิดการเรียนรู้ขึ้นเป็นหลักการ และทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเป็นความรู้ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นนามธรรมและสามารถเชื่อมโยงความรู้ ที่ได้นี้ไปเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในสิ่งอื่นๆ ต่อไป
          Schemata (Schema)
          Assimilation
          Accommodation
2. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist Perspective) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เชื่อว่าการเรียนรู้คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
          1. แรงขับ (Drive) หมายถึง ความต้องการของผู้เรียน ซึ่งจะจูงใจผู้เรียนให้หาทางสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง
          2. สิ่งเร้า (Stimulu s) สิ่งเร้าอาจเป็นความรู้หรือการชี้แนะจากครูหรือจากแหล่งการเรียน (สื่อ) ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบสนอง
          3. การตอบสนอง (Response) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่สังเกตได้จากพฤติ กรรมของผู้เรียนที่แสดงออกมา
          4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้อง
               สื่อ การสอนเปรียบเสมือนสิ่งเร้าเพื่อการเรียนรู้ ตัวอย่างสื่อการสอนที่ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้นี้ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม ชุดการสอนและนวกรรมการสอนประเภทต่างๆ
3. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ ( Constructivist Perspective ) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องจากกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist) ที่ เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เรียน ด้วยการนำความรู้เดิม (ประสบการณ์) มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างมีเหตุผล แล้วประมวลเป็นความรู้ใหม่เพื่อนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาต่อไป ทั้งนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างสรรค์ด้วยการแปลความหมาย (Interpretation) ข้อมูล และสารสนเทศที่มีอยู่รอบๆ ตัวด้วยตนเองดังนั้น จุดประสงค์การเรียนการสอนจึงไม่ใช่การสอนความรู้ แต่เป็นการสร้างสรรค์สถานการณ์ต่างๆ ที่ผู้เรียนสามารถแปลความหมายของข้อความรู้ต่างๆ เพื่อความเข้าใจด้วยตัวของผู้เรียนเองดังนั้น การเรียนการสอนตามความเชื่อของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ก็คือ การชี้แนะแนวทางการเรียนเพื่อเกิดการเรียนรู้ตามความสามารถของผู้เรียน การวัด และประเมินผลการเรียนจะอยู่บนพื้นฐานของความสามารถของผู้เรียนในการใช้ความ รู้เพื่อเกื้อหนุนการคิดในการดำรงชีวิตจริง
4. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มจิตวิทยาสังคม ( Social-Psychological Perspective ) จิตวิทยา สังคมเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่รู้จักกันมานานในการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการส อน นักจิตวิทยาสังคมเชื่อว่า ลักษณะกลุ่มสังคมในห้องเรียนมีผลต่อการเรียนรู้ เช่น การเรียนแบบอิสระ การเรียนเป็นกลุ่มเล็ก หรือการเรียนรวมทั้งชั้น บทบาทสำคัญของการเรียนจะอยู่ที่ว่า ผู้เรียนสามารถควบคุมกิจกรรมการเรียนได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีผลดีกว่าการเรียนแบบแข่งขัน (Competitive Learning
เทคโนโลยีเพื่อการเรียน
เทคโนโลยี (Technology) คำว่า เทคโนโลยี อาจให้ความหมายได้ 3 ทัศนะ ดังนี้
           1) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นกระบวนการ (Technology as a P recess) หมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่นๆ ในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีระบบ
          2) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นผลผลิต (Technology as P redact) หมายถึง เครื่องมือ (Hardware) และวัสดุ (Software) อัน เป็นผลมาจากการประยุกต์ใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี ฟิล์มภาพยนตร์เป็นวัสดุ เครื่องฉายภาพยนตร์เป็นเครื่องมือ และต่างก็เป็นผลผลิตของเทคโนโลยี
          3) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นทั้งกระบวนการและผลิตผล (Technology as a Mix of Process and Product) เป็นการกล่าวถึง เทคโนโลยีในแง่ (1) การใช้วิธีการ และเครื่องมือหรือวัสดุร่วมกันในเวลาเดียวกัน (2) การใช้เครื่องมือและวิธีการแยกจากกันในเวลาเดียวกัน เช่น เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับวัสดุ (Software หรือ Program) อย่างสัมพันธ์กัน
          การ นำสื่อโสตทัศน์ทั้งหลายมาใช้ในการปรับปรุงการสื่อสารและการเรียนการสอน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์การเรียนการสอน ซึ่งเป็นผลิตผลของเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนมีความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งไปกว่าการสื่อสาร เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นวิธีการหรือกระบวนการ (Technology as a P recess) จึงเป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่างๆ ทางการสอนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
          เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และแขนงวิชาอื่นๆ มาใช้ในการปฏิบัติภารกิจ ดังนั้น เทคโนโลยีการสอน จึงหมายถึง
การ ประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และแขนงวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น เทคโนโลยีการสอน จึงเป็นการออกแบบระบบการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถจัดความรู้ ทักษะ และเจตคติหรือการเรียนรู้ทั้งหลายให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          เทคโนโลยี การสอนได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนและก่อให้เกิดวิธีหรือ แนวปฏิบัติใหม่ๆ หรือที่เรียกว่า นวกรรมการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบ เช่น การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer - Based Instruction : CB) การสอนโดยใช้ระบบเสียง (Audio-tutorial Systems) การสอนแบบโมดุล (Modular Instruction) เกมและสถานการณ์จำลอง (Game and Simulation) เป็น ต้น เทคโนโลยีการสอนบางลักษณะจึงเป็นการใช้สื่อโสตทัศน์และหรือเครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งสิ่งพิมพ์ต่างๆ ร่วมกันในลักษณะของสื่อประสม (Miltie media) แต่ เทคโนโลยีการสอนจะมีลักษณะเฉพาะ ที่แตกต่างไปจากการใช้สื่อการเรียนการสอนแบบธรรมดา กล่าวคือ เทคโนโลยีการสอน จะเน้นผู้เรียนและกระบวนการเรียนการสอน และยึดหลักการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสำคัญ
          บท เรียนโปรแกรมเป็นตัวอย่างที่ดีของเทคโนโลยีการสอน บทเรียนโปรแกรมยึดหลักการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเฉพาะทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ซึ่งสกินเนอร์ (B. F. Skinner) ได้ พัฒนาบทเรียนโปรแกรมขึ้นมา โดยจัดบทเรียนเป็นขั้นตอนสั้นๆ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับทุกขั้นตอนการเรียนและได้รับการเสริมแรง เมื่อตอบสนองถูกต้อง การเสริมแรงและข้อมูลย้อนกลับเป็นผลแห่งความรู้ (Knowledge of Results) หรือ เกิดการเรียนรู้ขึ้นมาในตัวผู้เรียนนั่นเอง ดังนั้น การสอนโดยใช้บทเรียนโปรแกรมหรือการสอนแบบโปรแกรม จึงเป็นกระบวนการที่ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียน (Active Process) ไม่ใช่ผู้เรียนรอรับความรู้แต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งต่างจากการสื่อสาร การสื่อสารเป็นเพียงบันไดขั้นแรกของการเรียนรู้เท่านั้น
           อาจจะกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีการสอนได้พัฒนามาจากทฤษฎีการเสริมแรง ซึ่งทฤษฎีการเสริมแรงนี้ จัดว่าเป็นทฤษฎีพื้นฐานที่ก่อให้เกิดเทคโนโลยีการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบ อย่างไรก็ตามทฤษฎีอื่นๆ เช่นกลุ่มสัมพันธ์ จิตวิทยากลุ่มความรู้นิยม ทฤษฎีสารสนเทศ (Information Theory) และจิตวิทยาพัฒนาการ ต่างก็มีความสำคัญในการเกื้อหนุนให้เทคโนโลยีการสอนพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง
บทบาทของสื่อในการเรียนการสอน
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า สื่อและเทคโนโลยีการสอน สนับสนุนยุทธวิธีเบื้องต้นของการเรียนการสอนได้หลายประการ ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ใช้ สื่อ/เทคโนโลยีช่วยการสอนของครู การใช้สื่อลักษณะนี้เป็นวิธีที่เรารู้จักและคุ้นเคยมากที่สุด โดยครูนำสื่อมาใช้เพื่อช่วยการสอน การใช้สื่อในลักษณะนี้จะช่วยให้การสอนสัมฤทธิ์ผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ ความสามารถของครู ดังนั้น ถ้าครูจะนำสื่อมาใช้ช่วยในการสอน ครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับหลักสูตร ระบบการสอนและเทคนิคต่างๆ ในการใช้สื่อ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2. สื่อ ช่วยผู้เรียนฝึกทักษะและการปฏิบัติได้ เป็นการจัดสื่อไว้ในลักษณะห้องปฏิบัติการ โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้ภายใต้การชี้แนะของครู เช่น การใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษา การเรียนจากบทเรียนโปรแกรม ตลอดจนการฝึกปฏิบัติอื่นๆ และการทำแบบฝึกหัดหรือการค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นต้น
3. ช่วยการเรียนแบบค้นพบ สื่อการสอนสามารถช่วยการจัดการเรียนการสอนแบบค้นพบหรือการสอนแบบสืบเสาะ (Inquiry Approach) ได้ เป็นอย่างดี เช่น การใช้วิดีโอช่วยสอนวิทยา ศาสตร์กายภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเฝ้าสังเกตภาพและเนื้อหา จนสามารถค้นพบข้อสรุปหรือหลักการต่างๆ ได้
4. สื่อ ช่วยจัดการเกี่ยวกับการสอน สื่อการเรียนการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนกับผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์หรือมีความ สัมพันธ์ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ดังนั้น สื่อและเทคโนโลยี จึงทำให้บทบาทของครูเปลี่ยนไปจากการเป็นผู้บอกความรู้ มาเป็นผู้จัดการและร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้สามารถ จัดรูปแบบการเรียนการสอนขึ้นมาหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียน ปัญหาและสื่อต่างๆ ที่จัดขึ้นมาเพื่อการเรียนการสอนนั้นๆ เช่น 1) การสอนแบบเอกัตบุคคล 2) การสอนแบบกลุ่มเล็ก 3) การ สอนแบบกลุ่มใหญ่ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบใด ครูก็สามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีเข้าช่วยในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอน ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นครูยังสามารถกำหนดเวลาและกิจกรรมการเรียนได้อย่างเหมาะสม ตามลักษณะของสื่อที่นำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นๆ
5. สื่อ/เทคโนโลยี ในการสอนแบบเอกัตบุคคล การสอนแบบเอกัตบุคคลเป็นวิธีสอนที่กำลังได้รับความสนใจกันมากในปัจจุบัน การสอนแบบนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นรายบุคคลภายใต้คำแนะนำหรือการชี้แนะของครู โดยอาศัยระบบสื่อที่จัดขึ้นไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามจุดมุ่งหมายของการสอน
6. ช่วย การศึกษาพิเศษ สื่อการสอนสามารถจัดขึ้นมาเพื่อช่วยให้การศึกษาแก่คนพิการได้เป็นอย่างดี เรียกว่าสื่อช่วยในการจัดการศึกษาพิเศษได้
7. สื่อ การสอนกับการศึกษานอกระบบ จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความรู้ทางวิชาการ สื่อการสอนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการให้การศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในหรือ นอกห้องเรียน ตลอดจนการศึกษาแบบทาง
 ระบบ          
         ระบบ คือหน่วยรวมของสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ออกแบบสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างมีระเบียบและสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผล เพื่อให้การดำเนินงานนั้นบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จากนิยามดังกล่าวระบบจึงมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ 1) จุดมุ่งหมาย 2) กระบวนการ และ 3) ส่วนประกอบต่างๆ เมื่อวิเคราะห์ระบบจะพบว่า ระบบมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1) สิ่งที่ป้อนเข้าสู่ระบบ หรือข้อมูล (Input) 2) กระบวนการหรือวิธีการ (Process) และ 3) ผลที่ได้ (Output)
         แนว คิดเรื่องระบบนี้ นำมาใช้ครั้งแรกในวงการอุตสาหกรรม และการทหารก่อน ต่อมาจึงมีผู้นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเรียกว่า ระบบการสอน (Instructional System) จุด มุ่งหมายสำคัญของระบบการสอนก็คือการนำวิธีระบบมาใช้ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการออกแบบ หรือวางแผนการสอนอย่างมีระบบนั่นเอง
องค์ประกอบหลักในการออกแบบการสอน
           การ ออกแบบการสอน เป็นการวางแผนการสอนอย่างมีระบบ จุดเริ่มของการออกแบบการ สอน ก็คือ การคิดพิจารณาองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบและพิจารณาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับ การเรียนการสอน ดังนั้น การออกแบบระบบการสอนจึงต้องพิจารณาเรื่องต่างๆ ด้วยการตอบคำถามสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
          1. โปรแกรมการสอนนี้จะออกแบบสำหรับใคร (คำตอบก็คือผู้เรียน ดังนั้น ขั้นแรกจึงต้องศึกษา คุณลักษณะของผู้เรียน)
          2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไร หรือ มีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง (คำตอบก็คือ จุดมุ่งหมายการเรียน)
          3. เนื้อหา วิชาหรือทักษะต่างๆ ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนนั้น ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร (คำตอบก็คือ ต้องคิดหาวิธีสอน สื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน ฯลฯ)
          4. จะ รู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ หรือเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด (คำตอบก็คือ ต้องคิดหาวิธีประเมินการเรียนและการสอน)
          กล่าวโดยสรุป คำตอบทั้ง 4 ประการข้างต้น ก็คือ องค์ประกอบเบื้องต้นในการพัฒนาหรือการวางแผนการเรียนการสอน องค์ประกอบทั้ง 4 ประการนี้ มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ออกแบบระบบการเรียนการสอน จะต้องพิจารณาองค์ประกอบเบื้องต้นทั้ง 4 ประการนี้อย่างรวมๆ ร่วมกันทั้งหมดก่อนที่จะออกแบบระบบการสอน
           การออกแบบระบบการสอนจากองค์ประกอบหลักทั้ง 4 ประการดังกล่าวมาแล้วนั้น เมื่อนำมาวิเคราะห์ในการออกแบบการสอน จะได้ขั้นตอนต่างๆ ที่สำคัญ 10 ประการ คือ
 1. สำรวจหรือศึกษาความต้องการการเรียนรู้ (Learning Needs) เพื่อออกแบบโปรแกรมการเรียนการสอน กำหนดวัตถุประสงค์ (Goals) การพิจารณาความจำเป็นบังคับและความจำเป็นก่อนหลัง
          2. เลือกเรื่องและ/หรือภารกิจต่างๆ ที่ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้ และกำหนดความมุ่งหมายทั่วไป
          3. ศึกษาคุณลักษณะผู้เรียน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
          4. วิเคราะห์เนื้อหาและหรือภารกิจที่จะสอนให้ละเอียด
          5. กำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนตามลักษณะเนื้อหาและองค์ประกอบของภารกิจ
          6. กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะทำให้การเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย
          7. เลือกทรัพยากรการเรียนการสอนต่างๆ (Instructional Resources) ที่จะช่วยให้กิจกรรม การเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
          8. บริการ สนับสนุนการพัฒนาระบบการเรียนการสอน และส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการ สอน ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้รวมไปถึงเรื่องการผลิตสื่อ และวัสดุการเรียนการสอนด้วย
          9. ประเมินการเรียน (Learning Evaluation) และผลที่ได้จากโปรแกรมการเรียนการสอน
          10. ทดสอบก่อนเรียน วางแผนการทดสอบก่อนเรียนในกรณีที่จำเป็นต้องทดสอบให้สอดคล้องกับหัวเรื่อง และภารกิจที่จะต้องศึกษา
การออกแบบระบบการเรียนการสอนอาจสรุปเป็นขั้นตอนได้ 5 ขั้น ที่เรียกว่า ADDIE คือ (ไชยยศ เรืองสุวรรณ . 2531)
1. การวิเคราะห์ (Analyze)
 2. การออกแบบ (Design)
3. การพัฒนา (Develop)
4. การนำไปใช้/ทดลองใช้ (Implement/Tryout)
5. การประเมินและแก้ไข (Evaluate/Revise)
          ในต่างประเทศ คำว่า การออกแบบระบบการสอน (Instructional Systems Design) เรียกกันไปต่างๆ กัน เช่น Instructional Design, Instructional Systems, Instructional Systems Development, Learning Systems Design, Competency-based Instruction, Criterion referenced Instruction, Performance Technology แต่คำเหล่านี้ต่างก็มีความหมายคล้ายคลึงกัน
หน่วยที่ 3ระบบการวางแผนการใช้สื่อการสอน
การออกแบบระบบการเรียนการสอนอาจสรุปเป็นขั้นตอนได้ 5 ขั้น ที่เรียกว่า ADDIE คือ (ไชยยศ เรืองสุวรรณ . 2531)
1. การวิเคราะห์ (Analyze)
 2. การออกแบบ (Design)
3. การพัฒนา (Develop)
4. การนำไปใช้/ทดลองใช้ (Implement/Tryout)
5. การประเมินและแก้ไข (Evaluate/Revise)
       ในต่างประเทศ คำว่า การออกแบบระบบการสอน (Instructional Systems Design) เรียกกันไปต่างๆ กัน เช่น Instructional Design, Instructional Systems, Instructional Systems Development, Learning Systems Design, Competency-based Instruction, Criterion referenced Instruction, Performance Technology แต่คำเหล่านี้ต่างก็มีความหมายคล้ายคลึงกัน
         การวางแผนการใช้สื่อการสอนอย่างมีระบบและสอดคล้องกับระบบการสอนที่ออกแบบไว้ โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบสำคัญ คือ
          1) การเลือก
          2) การเตรียม
          3) การนำเสนอ
          4) การติดตามผล
มีผู้ขยายความให้เห็นรายละเอียด จำแนกได้เป็น 6 ขั้น คือ
          1) การวิเคราะห์ผู้เรียน (Analyze Learners)
          2) การกำหนดจุดประสงค์ (State Objectives)
          3) การเลือกวิธีสอน สื่อและวัสดุ (Select Methods, Media, and Materials)
          4) การใช้สื่อและวัสดุ (Utilize Media and Materials)
          5) การกำหนดการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Require Learner Participation)
          6) การประเมิน และการแก้ไข (Evaluate and Revise )
1. การวิเคราะห์ผู้เรียน
          ขั้น แรกในระบบการวางแผนการใช้สื่อการสอนอย่างมีระบบคือ การวิเคราะห์ผู้เรียน ซึ่งจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับเนื้อหา และวิธีสอน และสำรวจความพร้อมของผู้เรียนว่า มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ มากน้อยเพียงใด
2. การกำหนดจุดประสงค์การเรียน
          การกำหนดจุดประสงค์การเรียน ต้องคำนึงถึงลักษณะของจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนที่ดี ซึ่งจะมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ 1) วิธีการปฏิบัติ (Performance) 2) เงื่อนไข (Condition) และ 3) เกณฑ์ (Criteria)
 ประเภทของจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. การเรียนรู้ทางพุทธิพิสัย (Cognitive Learning) เป็น จุดมุ่งหมายที่เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างทางปัญญาเพื่อรับความรู้ ข้อมูลและข่าวสาร ซึ่งเรียงลำดับตั้งแต่การจำสิ่งง่ายๆ การคิดคำนึงไปจนถึงการสร้างความสัมพันธ์กับความรู้ใหม่
2. การเรียนรู้ทางจิตพิสัย (Affective Learning) เป็น จุดมุ่งหมายที่เกี่ยวกับความรู้สึก และ อารมณ์ ซึ่งเรียงลำดับตั้งแต่การตื่นตัวกับคุณค่าหรือค่านิยมบางอย่าง ไปจนถึงการมีอารมณ์ความรู้สึกและการรวมเอารูปแบบของพฤติกรรมต่างๆ เข้าด้วยกัน ที่เรียกว่า คุณลักษณะ (Character)
3. การเรียนรู้ทางทักษะพิสัย (Psychomotor Learning) เป็น จุดมุ่งหมายที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ หรือการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งเรียงลำดับตั้งแต่การเคลื่อนไหวง่ายๆ ของร่างกายไปจนถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของอวัยวะต่างๆ
การจำแนกการเรียนรู้ การ ศึกษาเกี่ยวกับการจัดระดับต่างๆ ของการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่จะช่วยในการตัดสินใจว่า การกำหนดจุดมุ่งหมายครอบคลุมเนื้อหาหรือไม่ และการสอนเป็นไปตามลำดับขั้นตอนเพียงใด เพื่อให้การสอนเริ่มจากสิ่งที่ง่าย หรือระดับต่ำไปหาสิ่งที่ยากหรือระดับสูง ระดับการเรียนรู้ทางพุทธิพิสัย ระดับการเรียนรู้ประเภทนี้ เริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปยังสิ่งที่ยาก ดังนี้
          1. ความรู้ (Knowledge) ได้แก่ การระลึกได้ การจดจำคำนิยาม การสังเกตและการคิดทบทวน
          2. ความเข้าใจ (Comprehension) ได้แก่ การแปลความหมาย การตีความการเรียบเรียง การสรุป การพยากรณ์จากข้อมูลที่มีอยู่
          3. การนำไปใช้ (Application) ได้แก่ การใช้ความคิดและความรู้ต่างๆ
          4. การสร้างสรรค์ (Creation) ได้แก่ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และการประเมินข้อมูลที่ได้รับมา จนเกิดความคิดสร้างสรรค์
ระดับการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย การ เรียนรู้ด้านนี้ แบ่งตามความเปลี่ยนแปลงความรู้สึกภายใน เช่น เจตคติ ค่านิยมและอื่นๆ ของแต่ละบุคคล การเรียนรู้ด้านจิตพิสัยแบ่งออกได้ดังนี้
          1. การรับ เป็นการตื่นตัวและยินดี ตลอดจนมีความสนใจต่อสิ่งเร้าต่างๆ
          2. การตอบสนอง หมายถึง การมีส่วนร่วมและตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น
          3. การเห็นคุณค่า เป็นการแสดงออกถึงเจตคติและความสนใจด้วยตนเอง
          4. การบอกคุณลักษณะ (Characterization) เป็นการแสดงออก ถึงวิถีการดำรงชีวิตอันขึ้นอยู่กับค่านิยมและระบบค่านิยมของสังคม
            ระดับการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย การเรียนรู้ด้านทักษะนี้ พิจารณาจากความสัมพันธ์ในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งแบ่งออกได้ ดังนี้ 1) การเลียนแบบ 2) การกระทำด้วยตนเอง 4) ความถูกต้อง การกระทำที่ถูกต้อง และ 5) การแสดงออกเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติจากการรวมทักษะหลายๆ ด้านอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การเลือกวิธีสอน สื่อ และวัสดุ
          การ พิจารณาเลือกวิธีสอน หรือวิธีการจัดการเรียนการสอน จะทำให้สามารถจัดหาสื่อมาเพื่อใช้ประกอบการสอนได้เหมาะสม ด้วยการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการ คือ 1) เลือกใช้สื่อที่มีอยู่แล้ว 2) ดัดแปลงจากวัสดุที่มีอยู่แล้ว และ 3) ออกแบบผลิตสื่อใหม่
4. การใช้สื่อและวัสดุ
          การใช้หรือนำเสนอสื่อ มีสิ่งที่ต้องพิจารณาอยู่ 4 ประการ
1) การเตรียมสื่อและการทดลองใช้
2) การเตรียมสภาพแวดล้อม
3) การเตรียมผู้เรียน และ
4) การนำเสนอสื่อการสอน
5. การกำหนดการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
          ปัจจุบัน สื่อการสอนประเภทสื่อประสม เช่น ชุดการเรียน บทเรียนคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสอนอื่นๆ ได้มีการออกแบบโดยรวมกิจกรรมการเรียนที่เน้นการตอบสนอง การสร้างแรงจูงใจ ความสนใจ และการเสริมแรงเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมาย จึงต้องมีการกำหนดการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
6. การประเมินและการแก้ไข
          การประเมิน จะพิจารณา 3 ด้าน คือ การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การประเมินสื่อและวิธีใช้ และการประเมินกระบวนการเรียนการสอน การประเมินไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเรียนการสอน หากแต่เป็นจุดเริ่มต้นที่ต่อเนื่องกันไปตลอดกระบวนการ ในการใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีระบบ ด้วยการปรับปรุงแก้ไขให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
สรุป
          ในหน่วยการเรียนที่ 1 นี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีพื้นฐานสำคัญที่เกี่ยวกับสื่อ ในระบบการเรียนการสอน ตลอดจนนิยามคำศัพท์สำคัญที่นิสิตต้องพบเห็นอยู่บ่อยๆ ในระบบการศึกษา และการเรียนการสอน ซึ่งในหน่วยนี้ประกอบด้วยเนื้อหาสาระ 3 หัวข้อย่อย ได้แก่ 1) สื่อกับการเรียนการสอน 2) ระบบการสอน และ 3) การวางแผนระบบการใช้สื่อการสอน
1. สื่อกับการเรียนการสอน ในหัวข้อแรกกล่าวถึง การเรียนรู้กับการสอน สื่อ สารและวิธีการ การสื่อสารการสอนความต่อเนื่องระหว่างรูปธรรมนามธรรม พื้นฐานทางจิตวิทยาของการเรียนรู้ สื่อการสอนกับปรัชญาการศึกษา บทบาทของสื่อในการสอน มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
          1.1 การ เรียนรู้เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยทั่วไปมักเน้นที่ผลอันเกิดจากการกระทำ การสอน เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
          1.2 สื่อเป็นช่องทางของการสื่อสาร (Communication) รากศัพท์แปลว่า ระหว่าง (Between) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศ (Information) ระหว่าง ผู้สื่อกับผู้รับเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ ผู้สอนและอื่นๆ
                    สาร ได้แก่ เนื้อหาสาระในการสื่อสารการสอน ซึ่งสารดังกล่าว อาจจะเป็นเนื้อหาวิชา แนวทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คำถามเกี่ยวเรื่องที่ศึกษา คำตอบหรือคำอธิบายรวมทั้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
                    วิธีสอน (Instructional Methods) โดยทั่วไป มักอธิบายในลักษณะของการนำเสนอแบบต่างๆ (Presentation Forms)
          1.3 การ สื่อสารการสอน การเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเฉพาะลึกซึ้งกว่าการสื่อสาร การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการให้ข่าวสารความรู้ แต่การเรียนการสอนเป็นการสื่อสารเฉพาะที่มีการออกแบบวางแผน (Designed) ให้ เพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอน การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการพื้นฐานในการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้
          1.4 ความต่อเนื่อง ระหว่างรูปธรรมนามธรรม การสอนโดยทั่วไปควรเริ่มจากประสบ การณ์ตรง ผ่านไปยังประสบการณ์จำลอง ( เช่น รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิและภาพยนตร์ ) ไปสู่สัญลักษณ์ ซึ่งการเรียนจากสื่อต่างๆ ทั้งหลายจะมีผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การสอนควรควบคู่ไปกับการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจำแนก - บูรณาการ ดังนั้น ประสบการณ์รูปธรรมและ / หรือกึ่งรูปธรรม จะช่วยเกื้อหนุนการเรียนรู้และจดจำ ได้นาน ตลอดจนช่วยให้เข้าใจสัญลักษณ์หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ดีขึ้น
          1.5 พื้นฐานทางจิตวิทยาของการเรียนรู้
                    1.5.1 การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist Perspective) เชื่อ ว่ามนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์ ประสบการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม จุดเริ่มของการเรียนรู้จะอยู่ที่การรู้จักจำแนก (Differentiation) สิ่งต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันออกจากกัน และสามารถจัดไว้เป็นกลุ่มหรือพวก ประสบการณ์ในการจำแนกจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิด (Concepts) ในเรื่องนั้นๆ กระบวนการขั้นต่อมาก็คือ การนำแนวคิดเหล่านั้นมาบูรณาการ (Integration) เข้าด้วยกัน เกิดการเรียนรู้ขึ้นเป็นหลักการ และทฤษฎีต่างๆ
                              Schemata (Schema)
                              Assimilation
                              Accommodation
                    1.5.2 การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist Perspective) เชื่อว่าการเรียนรู้คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1) แรงขับ (Drive) 2) สิ่งเร้า (Stimulu s) 3) การตอบสนอง (Response) และ 4) การเสริมแรง (Reinforcement)
                    1.5.3 การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ ( Constructivist Perspective )
                    1.5.4 การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มจิตวิทยาสังคม ( Social-Psychological Perspective )
          1.6 สื่อการเรียนการสอนกับปรัชญาการศึกษา
          1.7 เทคโนโลยีเพื่อการเรียน
          1.8 บทบาทของสื่อในการสอน
2. ระบบการสอน
          1. ระบบ
          2. องค์ประกอบหลักในการออกแบบระบบการสอน
          3. การออกแบบระบบการสอน
3. การวางแผนระบบการใช้สื่อการสอน ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ผู้เรียน (Analyze Learner s ) 2) การกำหนดจุดประสงค์ (State Objectives) 3) การเลือกวิธีสอน สื่อและวัสดุ (Select Methods, Media, and Materials) 4) การใช้สื่อและวัสดุ (Utilize Media and Materials) 5) การกำหนดการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Require Learner Participation ) และ 6) การประเมินและการแก้ไข (Evaluate and Revise )หน่วยที่ 5 เทคโนโลยีการสอน
         ปัจจุบัน ได้มีการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดผลสูงสุดต่อผู้เรียน โดย อาศัยหลักการทางมนุษยศาสตร์ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีที่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยีการสอนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบอิงเกณฑ์ การศึกษาตามเอกัตภาพและวิธีเรียนอย่างรอบรู้ ต่างก็ได้อิงหลักการข้างต้นทั้งสิ้น
          1.2.1 พื้นฐานของเทคโนโลยีการสอนปัจจุบัน
          ปัจจุบัน เทคโนโลยีการสอนมีหลายรูปแบบและต่างก็มีรากฐานมาจากทฤษฎีเก่าแก่ ที่มีมาเป็นเวลาหลายร้อยหลายพันปีมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีของโสเครติส เปสตาลอซซี่ และแฮร์บาร์ดก็ตาม ต่างก็ถูกนำมาดัดแปลงและประยุกต์กับวิธีสอนร่วมสมัย เทคโนโลยีการสอนหลายต่อหลายวิธี ก็ดัดแปลงทฤษฎีต่างๆ ข้าด้วยกัน และเกิดเป็นแบบแผนของตัวเอง
       1.2.2 แนวคิดพื้นฐานของทฤษฏีการเสริมแรง
          ทฤษฎี ของสกินเนอร์เกี่ยวข้องกับเรื่องของเงื่อนไขการกระทำ ซึ่งค่อนข้างแตกต่างไปจากทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์อื่นๆ สกินเนอร์ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ความคิดเรื่องการตอบสนองของมนุษย์ในระยะแรกๆ มักจะเป็นการอธิบายเพียงการตอบสนองของอวัยวะบางอย่างของร่างกายเท่านั้น แต่สกินเนอร์สนใจในการตอบสนองของมนุษย์ที่เป็นแรงผลักดันให้กระทำสิ่งต่างๆ มากกว่า
         เบื้อง หลังทฤษฎีการเสริมแรงของสกินเนอร์คือ แนวคิดเกี่ยวกับการเสริมแรงที่เขาเชื่อว่า ผล ของพฤติกรรมที่ตอบสนองนั้น เกิดจากความพอใจไม่ใช่เกิดจากการเรียนรู้และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นก็มาจากความ พอใจ ซึ่งจะเป็นวัฏจักรให้เกิดการตอบสนองต่อไปอีก ผลแห่งความพอใจ ก็คือสิ่งที่เรียกว่า การเสริมแรง
         ตัว เสริมแรงคือ เหตุการณ์หรือสิ่งของใดๆ ที่เป็นตัวเร่งเร้าให้เกิดพฤติกรรมก่อนหน้านั้นซ้ำอีกหรือทำให้เกิดการเรียน รู้ ดังนั้น สิ่งของใดๆ ก็ตามอาจจะเป็นตัวเสริมแรงได้ ถ้าสิ่งนั้นอยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะสม สิ่งของสิ่งหนึ่งอาจเป็นตัวเสริมแรงให้แก่บุคคลผู้หนึ่งในสถานการณ์หนึ่งแต่ อาจไม่เป็นสิ่งที่น่าสนใจเลยกับบุคคลอื่นหรือบุคคลคนเดิมภายใต้สถานการณ์อีก อย่างหนึ่ง                                                 พฤติกรรม ทุกอย่างในเวลาใดๆ ก็ตามถ้ามีการจัดกระบวนการเสริมแรงให้อย่างทันทีทันใดพฤติกรรมนั้นก็จะปรากฏ การกระทำซ้ำได้อีก และเราสามารถนำพฤติทาง (Prompt) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งเร้าให้ผู้เรียน ตอบสนอง (Response) และ เมื่อผู้เรียนตอบสนองแล้วก็จะได้รับ การเสริมแรง (Reinforcement)
         บท เรียนโปรแกรม เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาการเรียนการสอนที่ผู้เรียนไม่ค่อยได้มีส่วน ร่วม และบทเรียนโปรแกรมสามารถปรับปรุงใช้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน และผู้เรียนได้เรียนโดยมีส่วนร่วมอย่างกระฉับกระเฉง รู้คำตอบที่ถูก ได้รับการเสริมแรง
การสอนแบบโปรแกรม
         ตามความหมายเดิม การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) หมายถึง รูปแบบการเสนอเนื้อหาต่อผู้เรียนในลักษณะสิ่งพิมพ์
         บทเรียนโปรแกรม (Programmed Lesson) จัดเป็นเทคโนโลยีการสอน ที่ได้พัฒนาโดยนำเอาหลักการของศาสตร์แห่งการเรียนรู้มาใช้ ลักษณะสำคัญของบทเรียนโปรแกรม ได้แก่
          1. เป็นการเสนอเรียงลำดับของสิ่งเร้า
          2. ผู้เรียนจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยวิธีการเฉพาะ
          3. การตอบสนองของผู้เรียนจะได้รับการเสริมแรงทันที
          4. ผู้เรียนจะได้ศึกษาต่อเนื่องไปทีละน้อย
          5. ผู้เรียนจะตอบผิดเพียงเล็กน้อย แต่จะได้รับการฝึกฝนที่ถูกต้องมากๆ
          6. ผู้ เรียนจะได้เรียนในสิ่งที่คาดหวัง และเตรียมการเอาไว้ อย่างไรก็ตามการทดลองบางอย่างพบว่า การให้เนื้อหามากๆ แทนการให้เนื้อหาทีละน้อย ทำให้ผู้เรียนเรียนได้ดีในบางกรณี การไม่ให้ข้อมูลย้อนกลับทันที แต่รอเอาไว้ก่อนซึ่งก็ไม่นานเกินไปได้ผลดีกว่า และการเสนอเนื้อหาโดยไม่เรียงลำดับตามขั้นตอน ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี ส่วนการใช้รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาทีละน้อยตามลำดับ อาจทำให้นักเรียนบางคนเกิดความเบื่อหน่ายต่อ
การสอนแบบทบทวน
            การสอนแบบทบทวน (Programmed Tutoring) หมาย ถึง วิธีการสอนตัวต่อตัวที่ผู้ให้การทบทวนเป็นผู้ตัดสินใจกำหนดโปรแกรมล่วงหน้า โดยการใช้สื่อที่อยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ ผู้ทบทวนจะมีคู่มือพร้อมคำเฉลย ส่วนผู้เรียนจะมีแบบฝึกหัดแต่จะไม่มีคำเฉลย ผู้ทบทวนจะเลือกขั้นตอนการทบทวน โดยพิจารณาจากการตอบสนองแต่ละครั้งของผู้เรียน
การเรียนรายบุคคล
              การ เรียนรายบุคคล เป็นเทคโนโลยีการสอนชนิดหนึ่ง ที่นำเอาทฤษฎีการเสริมแรงมาใช้โดยผู้เรียนเรียนด้วยตนเองจากสื่อการเรียน ต่างๆ เช่น หนังสือแบบเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ฟิล์มลูป ฟิล์มสตริปและบทเรียนโปรแกรม เป็นต้น สื่อการเรียนแบบนี้จะจัดไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนไปเป็นขั้นตอน และต้องแสดงให้เห็นว่าสามารถเรียนได้ดี ก่อนที่จะย้ายไปเรียนขั้นตอนต่อไปโดยมีการทดสอบไปเรื่อยๆ มีผู้ช่วยสอนหรือผู้เรียนที่เก่งช่วยแนะนำและจัดการเรื่องการทดสอบ หลังการทดสอบ ผู้ช่วยสอนหรือผู้เรียนเก่งจะช่วยทบทวนอีกครั้ง ถ้าผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จะต้องทดสอบด้วยข้อสอบใหม่เรื่อยๆ นักเรียนสามารถทดสอบใหม่ได้ถึง 4 ครั้ง การเรียนลักษณะนี้ ส่วนใหญ่จะเรียนเป็นรายบุคคลโดยครูเป็นผู้วางแผน จัดการและมีผู้ช่วยหรือนักเรียนที่เก่งเป็นผู้คอยแนะนำ
          หลักการของการเรียนรายบุคคล ประกอบด้วย
         1) เสนอเนื้อหาข้อมูลที่เหมาะสมกับผู้เรียน
          2) ผู้เรียนตอบสนองต่อเนื้อหาข้อมูลนั้น ๆ
          3) ได้รับข้อมูลย้อนกลับในทันทีทันใด้
การเรียนรายบุคคล
         การ เรียนรายบุคคล เป็นเทคโนโลยีการสอนชนิดหนึ่ง ที่นำเอาทฤษฎีการเสริมแรงมาใช้โดยผู้เรียนเรียนด้วยตนเองจากสื่อการเรียน ต่างๆ เช่น หนังสือแบบเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ฟิล์มลูป ฟิล์มสตริปและบทเรียนโปรแกรม เป็นต้น สื่อการเรียนแบบนี้จะจัดไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนไปเป็นขั้นตอน และต้องแสดงให้เห็นว่าสามารถเรียนได้ดี ก่อนที่จะย้ายไปเรียนขั้นตอนต่อไปโดยมีการทดสอบไปเรื่อยๆ มีผู้ช่วยสอนหรือผู้เรียนที่เก่งช่วยแนะนำและจัดการเรื่องการทดสอบ หลังการทดสอบ ผู้ช่วยสอนหรือผู้เรียนเก่งจะช่วยทบทวนอีกครั้ง ถ้าผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จะต้องทดสอบด้วยข้อสอบใหม่เรื่อยๆ นักเรียนสามารถทดสอบใหม่ได้ถึง 4 ครั้ง การเรียนลักษณะนี้ ส่วนใหญ่จะเรียนเป็นรายบุคคลโดยครูเป็นผู้วางแผน จัดการและมีผู้ช่วยหรือนักเรียนที่เก่งเป็นผู้คอยแนะนำ
หลักการของการเรียนรายบุคคล ประกอบด้วย
          1) เสนอเนื้อหาข้อมูลที่เหมาะสมกับผู้เรียน
          2) ผู้เรียนตอบสนองต่อเนื้อหาข้อมูลนั้น ๆ
  ระบบการสอนทบทวนด้วยเทปเสียง
             ระบบการทบทวนด้วยเทปเสียง (Audio-Tutorial Systems) เป็น การให้ความรู้หลากหลายแก่ผู้เรียน โดยผ่านทางสื่อเทปเสียง ไม่ใช้วิธีการบรรยายเนื้อหาแต่เป็นการทบทวนพูดคุยระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยยึดหลักการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และมีครูผู้สอนในชั้นเรียนคอยให้ความช่วยเหลือแนะนำอย่างใกล้ชิด ผู้เรียนจะเรียนได้ช้าหรือเร็วตามความสามารถของตนเองในการเรียนด้วยวิธีการ นี้ อาจใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบการเรียนได้ เช่น เครื่องมือการทดลองวิทยาศาสตร์ ฟิล์มสตริป สี กระดาษ เป็นต้น โดยทั่วไปจะสามารถแยกกระบวน
    การเรียนวิธีนี้มี 2 ขั้นตอน คือ
          1. ขั้นการเรียนเป็นกลุ่มใหญ่โดยไม่มีรูปแบบที่แน่นอน
 2. ขั้นการเรียนเป็นรายบุคคล อาจเป็นกลุ่มเล็ก 6-10 คน ก็ได้ ภายหลังจากที่มีการพบกันในกลุ่มใหญ่แล้ว จุดมุ่งหมายของขั้นนี้ เพื่อการสำรวจดูว่าผู้เรียนแต่ละคนได้เข้าใจหลักการทฤษฎีต่างๆ มากน้อยเพียงใด
เทคโนโลยีการสอนประเภทนี้ ยึดหลักการและทฤษฎีของศาสตร์การเรียนรู้ของมนุษย์ ดังนี้
          1. การสนทนาด้วยเทปเสียง ยึดหลักการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
          2. เน้นสื่อที่เป็นรูปภาพ เช่น สไลด์ ภาพยนตร์ ของจริง ที่จะช่วยให้เกิดความรู้โดยให้ได้รับข่าวสารข้อมูลที่มีความหมาย
          3. ยึดหลักความสามารถและความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน ตลอดจนรูปแบบการเรียนและอัตราการเรียนที่แตกต่างกัน
          4. ยึด จิตวิทยาเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์โดยส่วนรวม เหตุผลที่กล่าวว่า การเรียน ลักษณะนี้ เป็นเทคโนโลยีการสอนชนิดหนึ่งก็เพราะ ยึดหลักการสอนเป็นหน่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน มีข้อมูลย้อนกลับให้ได้ที่
3) ได้รับข้อมูลย้อนกลับในทันทีทัน
หน่วยการสอนย่อย
          หน่วยการสอนย่อย (Modules) อาจ เรียกชื่อได้หลายอย่าง เช่น ชุดการเรียนด้วยตนเองชุดกิจกรรม หน่วยการสอนย่อยโดยปกติออกแบบไว้สำหรับการเรียนด้วยตนเอง แต่ก็มีบ้างที่ใช้ในการเรียนแบบกลุ่ม เช่น เกม สถานการณ์จำลอง หรือประสบการณ์ภาคสนาม เทคโนโลยีที่นำหน่วยการสอนย่อยไปใช้คือ การเรียนด้วยตนเอง (PSI) และการทบทวนด้วยเทปเสียง (A-T) อย่างไรก็ตามหน่วยการสอนย่อยนี้มิใช่เทคโนโลยีการสอนโดยตัวของมันเองแต่จะเป็นส่วนที่ประกอบอยู่กับเทคโนโลยีชนิดต่าง ๆ
คุณลักษณะของหน่วยการสอนย่อย
          1. หลักการเหตุผล โดยชี้ให้เห็นว่าทำไมผู้เรียนจึงควรเรียนเนื้อหานี้
          2. จุดประสงค์ หมายถึง สิ่งที่ผู้เรียนคาดว่าจะได้รับจากการเรียนเนื้อหานี้
          3. การทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดทักษะความสามารถของผู้เรียนก่อนการเรียนเนื้อหา
          4. กิจกรรมการเรียน บอกแหล่งสื่อและข้อมูลที่จะเรียน ซึ่งตัวเนื้อหาที่เรียนนี้ จะไม่ถูกบรรจุลงในหน่วยการเรียนโดยตรง
          5. การทดสอบย่อย เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของตนเอง
          6. การทดสอบหลังการเรียน เพื่อประเมินครั้งสุดท้ายว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
เทคโนโลยีการสอนในอนาคต
การพัฒนาด้านเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาและการฝึกอบรมจะไม่มีที่สิ้นสุดในที่นี้จะกล่าวถึงอนาคตของเทคโนโลยีการสอนใน 3 ลักษณะ คือ
          1. เทคโนโลยีเครื่องมือและวัสดุ (Hardware/Software Technology)
          2. เทคโนโลยีจิตวิทยา (Psychological Technology)
          3. เทคโนโลยีชีวภาพ (Biological Technology)
เทคโนโลยีเครื่องมือ และวัสดุ : คอมพิวเตอร์
       ในต้นทศวรรษที่ 1980 วิดีโอ เกมได้แพร่หลายมากในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการ ตั้งมุมเล่นวิดีโอเกมขึ้นในที่ต่างๆ ปัจจุบันความนิยมด้านนี้ก็ยังสูงอยู่และได้แพร่เข้ามาในประเทศไทย อย่างรวดเร็ว
          ผลของการใช้ไมโคร โปรเซสเซอร์ในเกมต่างๆ นั้นยังไม่ได้นำมาใช้ในงานด้านการเรียนการสอนมากนัก แต่นักการศึกษาก็ได้ตั้งคำถามกันว่า คุณลักษณะอะไรบ้างของการสื่อสารด้วยเกมเหล่านี้จะนำมาใช้ได้ในการเรียน
เทคโนโลยีจิตวิทยา
       จากการที่เราเข้าใจเทคโนโลยีที่เป็นผลิตผล (Technology as Product) ที่มีให้เห็นอยู่ทั่วไปแล้วยังมีเทคโนโลยีที่เป็นกระบวนการ (Technology as Process)
          การทำสมาธิ (Meditation) ซึ่ง เป็นการปฏิบัติธรรมของชาวเอเซียทั่วไปที่นับถือศาสนาพุทธมาเป็นเวลานานแล้ว นั้น ได้เป็นที่สนใจของชาวตะวันตกแถบอเมริกามาตั้งแต่ปี 1960 ทั้ง นี้เพราะได้เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า การทำสมาธินั้นมีผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจและผลเหล่านี้นำมาใช้เพื่อ ประโยชน์ในการเรียนการสอนได้ เช่น ได้มีการศึกษาพบว่า การทำสมาธิช่วยลดความตึงเครียดกระวนกระวาย (Anxiety) ได้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการผ่อนคลาย (Relax) และมีแนวคิดที่สดใส เป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนมากขึ้น
          การ ทำสมาธิและการปรับสภาพจิตสำนึก ได้ถูกนำเข้ามาใช้ในแนววิธีการเรียนการ สอนในแถบอเมริกาและแถบโลกตะวันตกมากยิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการที่ก้าวหน้าแบบหนึ่งเรียกว่า "ข้อเสนอแนะในการเพิ่มการเรียนรู้และการสอนให้เร็วขึ้น"ได้ถูกนำมาใช้ด้วย วิธีการแบบนี้ มาจากการทำวิจัยของ Georgi Lozanov ใน บุลกาเรีย ซึ่งพบว่า การแนะนำให้สภาพการผ่อนคลายสภาพจิตสำนึกก่อนการเรียนและใช้เทคนิคพิเศษมี เสียงดนตรีและบทละครในระหว่างบทเรียนจะทำให้ผู้เรียนเรียนภาษาได้รวดเร็วและ มีความจำดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังมีการค้นพบอื่นๆ อีกในลักษณะที่คล้ายคลึง
เทคโนโลยีชีวภาพ
      เมื่อ ไม่นานมานี้ ได้พบความเป็นไปได้ในการสร้างการแผ่กระจายอิเล็กทรอนิกส์ของสมองและระบบ ประสาทส่วนกลาง มีการนำเรื่องนี้เสนอออกมาในปี 1969 ในเรื่อง"BostonArm" ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้สัญญาณจากระบบประสาทควบคุมแขนขาเทียมและในปัจจุบันก็มี emgors เป็นจำนวนมากที่แพร่หลาย emgors คือเครื่องมือรับประสาทสัมผัสที่เรียกว่า electromyograms sensor เครื่องมือนี้ จะใช้การเต้นของสมองของคนนั้นผนวกเข้ากับ electromyograms เพื่อควบคุมเครื่องมือที่เรียกว่า electromecha-nical ในแขนขาเทียมให้เคลื่อนไหวได้
        การพัฒนาด้านร่างกาย (Bionic Development) จะเข้ามาสู่ความสนใจในด้านการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพัฒนาเครื่องมือกระตุ้นประสาทที่เรียกว่า" Brain Pacemakers" ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใส่ไว้ในตัวคนไข้ที่มีการทำงานด้านไฟฟ้าเคมี (Electrochemistry) ของร่างกายผิดปกติไป เครื่องมือนี้จะช่วยให้ทำงานเป็นปกติได้ซึ่งพบว่ามีการใช้ได้เป็นผลสำเร็จกับคนไข้ที่มีความหดหู่ของจิตใจ (Depression) เป็นอย่างมาก ที่เป็นได้ทั้งทางจิต (Psychoses) ประสาท (Neuroses) และความผิดปกติของสมอง (Cerebral Palsy)
           การพัฒนาสิ่งต่างๆ เหล่านี้ รวมไว้กับ "Biochip" ที่ กล่าวมาแล้ว ทำให้เกิดความเป็นไปได้ของการนำเอาเครื่องมือด้านอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการ ทำงานของสมองโดยจับคลื่นของสมองด้วยเครื่องมือภายนอก หรือบรรจุอิเล็กโตรดเข้าไปในร่างกาย ในเรื่องนี้เกลน คาร์ทไรท์ (Glenn F. Cartwrigth) ได้เสนอรายงานในปี 1983 ในเรื่องการประยุกต์สิ่งที่เป็นไปได้นี้ ในแนวเรื่อง "Symbionic Mind" ซึ่งมีดังนี้
           1. เพื่อความจำได้มากขึ้นด้วยวิธี "Add-On Brains" ทำให้ความสามารถในการบรรจุข้อมูลความจำในสมองมีมากขึ้น
           2. ควบ คุมการทำงานของเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยเพียงแต่คิดถึงมันเท่านั้นเครื่องมือนี้สามารถช่วยในการค้นหาระดับ แอลกอฮอล์ในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด องค์ประกอบของความเครียด และอาการแรกเริ่มของโรคหัวใจ
           3. เสียบปลั๊กเข้ากับเครือข่ายโทรศัพท์โดยไม่มีเครื่องโทรศัพท์ สามารถที่จะสนทนา เป็นระยะทางไกลได้ในรูปแบบ Telepathic ซึ่งได้มีรายงานจากกองทัพอากาศสหรัฐว่า ได้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้สามารถควบคุมคลื่น Alpha ของตนเอง เพื่อใช้ส่งสารด้วยรหัส Morse และรหัสนี้จะจับได้ด้วยเครื่องมือแบบ Scalpmonitoring และนำรหัสนี้ป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ 4. ความรู้สึกเทียมอาจนำเข้าไปใช้แทนประสาทรับสัมผัสที่ชำรุดเช่น หู หรือ ตา
ปัญหาและอุปสรรค
      ในปี 1983 มีรายงานของ NCED (National Commission on Excellence in Education) ได้ชี้ให้เห็นถึงความขาดแคลนในระบบการศึกษาในโรงเรียนของรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งความขาดแคลนนี้ ได้แก่
                    - เนื้อหาทางวิชาการไม่เพียงพอ
                    - มาตรฐานและเป้าประสงค์ต่ำ
                    - เวลาที่ใช้ในการเรียนนั้นไม่เพียงพอ
                    - การสอนมีคุณภาพไม่ดี
                    - ขาดความเป็นผู้นำ
          การสัง เกตุที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ควรได้กระทำในระดับอุดมศึกษา ด้วยมีบุคคลจำนวนมากที่มีความรู้สึกว่า การขาดแคลนนี้เป็นสัญลักษณ์ของปัญหาที่เกิดขั้นพื้นฐานมากกว่า เช่น รูป แบบของสถาบันการศึกษาทั่วไปของรัฐบาล           ชาร์ลส์ ไรกีรุท (Charles Reigeluth. 1983) ได้ให้ข้อคิดว่า ระบบโรงเรียนอาจเหมาะสำหรับสังคมเกษตรกรรมแต่อาจไม่เหมาะสำหรับสังคมอุตสาหกรรมซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นสังคมยุคสารสนเทศ (Information Society) โดย เฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างขั้นพื้นฐานของระบบการศึกษานั้นจะกลายเป็นปัญหาไป ตัวอย่างเช่น การแบ่งเป็นระดับชั้น การใช้เวลามากเกินไปในกระบวนการเรียนการสอน การให้เกรด และอื่นๆอีก ในปัจจุบันเรามีไมโครคอมพิวเตอร์ใช้กัน ทำให้เพิ่มการใช้ทรัพยากร ที่ไม่ต้องพึ่งบุคลากรมีมากขึ้น แต่ระบบการศึกษาไม่สามารถจะติดตามการใช้เครื่องมือที่มีพลังสูงนี้ได้
แรงผลักดันที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
       ใน การที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการศึกษาทั้งในระดับของห้องเรียนและในระดับ ขององค์กรที่สูงสุดนั้น ต้องกระทำกันเพื่อจะทำให้สื่อและเทคโนโลยีได้มีการส่งต่อไปสู่ผู้เรียนที่ เป็นมวลชนส่วนใหญ่ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่กระบวนการนี้ คงต้องทำกันเป็นระยะเวลายาวนาน และไม่มีใครแน่ใจในผลสำเร็จ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันก็ได้มีแรงผลักดันที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหลายด้าน
การรับผิดชอบในการให้การศึกษาและการสอน
      ใน สหรัฐอเมริกา มีแรงผลักดันต่อวงการศึกษาอย่างมากจากผู้ปกครองและผู้เสียภาษี ซึ่งเงินภาษีส่วนหนึ่งนำมาบำรุงการศึกษา ทำให้โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาต่าง ๆถูกแรงกดดันและถูกควบคุมจากผู้เสียภาษีให้รับผิดชอบในการเรียนการสอน ให้เป็นไปตามที่ต้องการหรือที่ได้กำหนดจากข้อตกลงกันไว้ ได้มีนักการศึกษาจำนวนหนึ่งที่โต้แย้งการต้องรับผิดชอบการศึกษาในลักษณะนี้ เพราะผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการศึกษาในบางสิ่งก็ไม่สามารถวัดออกมาให้เห็นชัด ได้ตามความต้องการของผู้เสียภาษี วงการศึกษาของไทยยังไม่มีปัญหานี้เกิดขึ้น แรงผลักดันที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจึงมาจากนโยบายของรัฐ หรือมาจากผู้เชี่ยวชาญการศึกษา ความต้องการแรงงานในตลาด การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมเศรษฐกิจมากกว่าที่จะมาจากแรงผลักดันของผู้ปกครอง และผู้เสียภาษีแต่อย่างใด้
อาชีพในวงการเทคโนโลยีการศึกษา
     เทคโนโลยี การสอนมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ ทำให้มีงานสำหรับผู้มีความรู้ด้านนี้มากขึ้น เกือบทุกระดับของการศึกษาจะมีความต้องการผู้เชี่ยวชาญสื่อการสอน เพื่อไปผลิตสื่อใช้ในการเรียนการสอนหรือแม้แต่การฝึกอบรมทั่วไป ก็จำเป็นต้องพึ่งผู้มีความชำนาญด้านสื่อการสอนเพื่อช่วยในการประเมิน ประสิทธิภาพของโปรแกรมเท่าๆ กับช่วยเลือกใช้สื่อ และนอกจากนั้นในระดับการศึกษาต่างๆ
จึงเป็นที่ต้องการของตลาดจำนวนมากยังต้องการผู้ชำนาญด้านการจัดการ การจัดหมวดหมู่ การจัดเก็บการแจกจ่ายและการรวบรวมสื่อด้วย           ใน การออกแบบสื่อการสอนเพื่อให้ได้สื่อที่เชื่อถือได้และใช้ประโยชน์ได้จริง นั้น จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้านสื่อการสอนมากพอสมควร ผู้ผลิตและสำเนาสื่อการสอนทั้งที่เป็นธุรกิจเอกชน สถาบันโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยจะต้องมีความถนัดและได้รับการอบรมมาอย่างเชี่ยวชาญจนมีทักษะ ในการออกแบบสื่อนั้น และวิทยาการก้าวหน้าใหม่ๆเช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction) ระบบวิดีโอปฏิสัมพันธ์ (Interactive Video) และ รูปแบบอื่นๆ ของการสอนรายบุคคลก็กำลังเจริญก้าวหน้าอย่างมากในแวดวงของการออกแบบสื่อการ สอนนอกจากในวงการศึกษาแล้ว วงการอื่นเช่น การสาธารณสุข การแพทย์ การธนาคาร การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การธุรกิจ อุตสาหกรรม การค้า การตลาดและอื่นๆ อีกมาก ก็ต้องการการพัฒนาในด้านการเผยแพร่ การสอน การอบรม ในโปรแกรมต่างๆ ด้วย ที่เห็นได้ชัดคือ ในวงการอุตสาหกรรมซึ่งต้องการผู้มีทักษะในงานอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ก็จำเป็นต้องพัฒนาสื่อเพื่อสอนให้พนักงาน คนงานมีทักษะทันต่อความก้าวหน้าในเทคโนโลยีด้านนี้
        นอก จากหน่วยงานหรือสถาบันต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญสื่อการสอน องค์การที่ทำหน้าที่ผลิตสื่อการสอนโดยตรงก็ต้องการผู้เชี่ยวชาญสื่อด้วยหรือ ผู้ที่ทำการฝึกอบรมที่มีความเชี่ยวชาญด้านสื่อมากกว่าต้องการครูผู้สอน ประเภทอื่น ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้
ระบบการสื่อสารและการเรียนการสอน
โดย วรพจน์ นวลสกุล
**********************************************
ระบบการศึกษาเป็นระบบย่อยระบบหนึ่งของสังคม ประกอบด้วยระบบต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยม ประถมศึกษา ฯลฯ ระบบเหล่านี้จะมีส่วนประกอบย่อยๆ ที่สัมพันธ์กัน เช่น ระบบหลักสูตร ระบบบริหาร ระบบการเรียนการสอน ระบบการวัดและประเมินผล เป็นต้น  ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม ผลลัพท์ของระบบจะต้องได้รับการตรวจสอบและปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบใหญ่
โครงสร้างของระบบ
ทรัพยากร   ขบวนการ   ผลที่ได้รับ
(In put)    (Process)    (Out put)

ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องมีความสัมพันธ์กัน จึงจะทำให้ผลที่ได้รับมีประสิทธิภาพ และการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบ จะต้องอาศัยข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ที่ได้จากการประเมินผล เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่องทั้งสามส่วน
ระบบการสื่อสาร (Communication System)
 การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือมนุษย์กับเครื่องจักร มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกัน การสื่อสารเป็นขบวนการวัฏจักร
 จุดมุ่งหมาย

ผู้ส่ง  เนื้อหาข้อมูล  สื่อ/วิธีการต่างๆ  ผู้รับ

การตอบสนอง

การสื่อสารกับการเรียนการสอน
 พัฒนาการการเรียนการสอนในปัจจุบัน มุ่งยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) ตาม พ.ร.บ.การศึกษา 2540 ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความรอบรู้มากกว่า เนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอน และต้องมีความสนใจเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่ละคนมากขึ้น ทั้งพฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียน ตลอดจนความสนใจ ความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้สอนจะต้องนำความรู้ความเข้าใจต่างๆเหล่านี้ มารวบรวมวิเคราะห์และประยุกต์เพื่อใช้ประกอบการสอน การสร้างหลักสูตร การพัฒนาบทเรียน สื่อการสอน อุปกรณ์การศึกษา และการปรับปรุงการสอน ขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน  เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1. กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย (GOALS) การจัดการเรียนการสอนที่ดีจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย ของการเรียนที่ชัดเจน แล้วจึงนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เป็นเป้าหมายย่อย หรือวัตถุประสงค์ย่อย
2. การทดสอบก่อนการเรียน  (Pre Test) เพื่อให้ทราบถึงพื้นฐานความรู้หรือพฤติกรรมเดิมของผู้เรียน ผู้สอนจะทราบว่าผู้เรียนมีความรู้ในระดับใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงและวางแผนการสอนได้
3. ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน (Activities) โดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก เวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุทธศาสตร์การสอน มุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้ได้รับผลสำเร็จ
4. การทดสอบหลังการเรียน  (Post Test) มุ่งหวังเพื่อวัดและประเมินผล
4.1 วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
4.2 วัดความสำเร็จของหลักสูตรหรือระบบการเรียนการสอน
    วิธีสอนและกิจกรรม
เนื้อหา
   ระยะเวลา
  ทดสอบก่อนเรียน
ผู้เรียน
ทดสอบหลังเรียน
จุดมุ่งหมาย
 สถานที่/สภาพแวดล้อม

   สื่อการเรียนการสอน

แผนผังระบบการเรียนการสอน

แผนผังแสดงการออกแบบการสอน
  จุดมุ่งหมายการสอน


  วิเคราะห์เนื้อหาบทเรียน


  ออกแบบกลยุทธ์
  การเรียนการสอน โดยคำนึงถึงกิจกรรม
  วิธีสอน จำนวนผู้เรียน
  เวลาเรียน สภาพแวดล้อม
  ฯลฯ

  
ทรัพยากรท้องถิ่น
การออกแบบสื่อการสอน
จิตวิทยาการเรียนรู้
  
  การผลิตสื่อโสตทัศน์

เอกสารเพิ่มเติม รูปแบบการออกแบบระบบการเรียนการชนิดต่างๆ ของนักการศึกษา  Instruction Design Model
การศึกษาอย่างไร ?การสื่อสาร  คือ  กระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัสอีกความหมายหนึ่ง  การสื่อสาร (Communication) หมาย ถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
          องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
            1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
            2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
            3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
            4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
            5. ความเข้าใจและการตอบสนองเมื่อกล่าวถึงคำว่า  การศึกษา  เราหมายความถึงทั้ง การเรียน  การสอน  ทักษะเฉพาะ และสิ่งที่แม้จะจับต้องไม่ได้แต่เป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง กล่าวคือ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะการตัดสินที่ดี และภูมิปัญญา เป้าหมายพื้นฐานอีกประการหนึ่งของการศึกษา คือ การถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นไปสู่รุ่น (ดู การขัดเกลาทางสังคม (socialization)) อีกความหมายหนึ่งของ การศึกษา คือ การพัฒนาคน ซึ่ง การพัฒนา หมายถึง การแก้ไขข้อบกพร่องให้ดีขึ้น / การเสริมข้อดีให้คงสภาพหรือดียิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าการศึกษานั้นเป็นขบวนการที่ใช้เวลาทั้งชีวิต มีการวิจัยในเด็กที่อยู่ในท้องแม่  พบว่าเด็กนั้นมีการเรียนรู้ในครรภ์แม่แต่ก่อนแรกเกิดดังนั้น  การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างชัดเจน เพราะว่า  การ เรียนการสอน เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง มีทั้งผู้ส่งสารอันได้แก่ครูผู้สอน มีสาร คือความรู้หรือประสบการณ์ที่จัดขึ้น ผู้รับสารคือผู้เรียน มีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยเครื่องมือ สื่อการเรียนการสอนต่างๆภายใต้สถานการณ์ที่จัดขึ้นในห้องเรียน หรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นในสถานที่อื่น และมีจุดหมายของหลักสูตรเป็นเครื่องนำทางจุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอน  คือ  การ พยายามสร้างความเข้าใจทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนความสำเร็จของการเรียนการสอน พิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ แต่ต้นตามลักษณะการเรียนรู้นั้นๆ ปัญหาสำคัญของการสื่อสารในการเรียนการสอนคือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนได้อย่างถูกต้อง ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการสื่อสาร และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับครูคือการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ อย่างเหมาะสม นอกเหนือการใช้คำพูดของครูแต่เพียงอย่างเดียวทั้งนี้เพราะสื่อหรือโสต ทัศนูปกรณ์ มีคุณลักษณะพิเศษบางประการที่ไม่มีในตัวบุคคลคือ1. จับ ยึดประสบการณ์ เหตุการณ์ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นสามารถใช้สื่อต่างๆ บันทึกไว้เพื่อนำมาศึกษาได้อย่างกว้างขวาง เช่น การบันทึกภาพบันทึกเสียง การพิมพ์ ฯลฯ2. ดัด แปลงปรุงแต่ง เพื่อทำสิ่งที่เข้าใจยาก ให้อยู่ในลักษณะที่ศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้นเช่น การย่อส่วน ขยายส่วน ทำให้ช้าลง ทำให้เร็วขึ้น จากไกลทำให้ดูใกล้ จากสิ่งที่มีความซับซ้อนสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น3. ขยาย จ่ายแจก ทำสำเนา หรือเผยแพร่ได้จำนวนมาก เช่น รายการวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพถ่าย จึงช่วยให้ความรู้ต่างๆเข้าถึงผู้รับได้เป็นจำนวนมากพร้อมกันนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งนะครับ  แต่คงจะมีมากกว่านี้อีก  ยังไงก็ขอให้ท่านที่สนใจ  ไปศึกษาเพิ่มเติมได้นะครับ จากอินเตอร์เน็ต  ห้องสมุด  หรือหนังสือต่างๆ  ได้....วัสสลาม
ความหมายและขอบข่ายของการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ตลอดชีวิต คำจำกัดความที่นักจิตวิทยา มักจะกล่าวอ้างอยู่เสมอ แต่ยังไม่ถึงกับเป็นที่ ยอมรับ กันอย่างสากล คือ คำจำกัดความของ คิมเบิล (Gregory A Kimble)
คิมเบิล กล่าวว่า "การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพแห่งพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกหรือการปฏิบัติที่ได้รับ การเสริมแรง (Learning as a relatively permanent change in behavioral potentiality that occurs as a result of reinforced practice) "
จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นแยกกล่าวเป็นประเด็นสำคัญได้ ๕ ประการ คือ
๑ การที่กำหนดว่า การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็แสดงว่าผลที่เกิดจากการเรียนรู้ จะต้องอยู่ใน รูปของพฤติกรรม ที่สังเกตได้ หลังจากเกิดการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนสามารถทำสิ่งหรือเรื่องที่ไม่เคยทำมาก่อนการเรียนรู้นั้น
๒ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวร นั่นก็คือ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้น จะไม่เป็นพฤติกรรมในช่วงสั้น หรือเพียงชั่วครู่ และในขณะเดียวกันก็ ไม่ใช่พฤติกรรมที่คงที่ที่ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป
๓ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปอย่างทันทีทันใด แต่มันอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงศักยภาพ (Potential) ที่จะกระทำ สิ่งต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต การเปลี่ยนแปลง ศักยภาพนี้อาจแฝงอยู่ในตัวผู้เรียน ซึ่งอาจจะยังไม่ได้แสดงออกมา เป็นพฤติกรรมอย่าง ทันทีทันใดก็ได้
๔ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพในตัวผู้เรียนนั้นจะเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการ ฝึกเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือศักยภาพอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นไม่ถือเป็นการเรียนรู้
๕ ประสบการณ์หรือการฝึกต้องเป็นการฝึกหรือปฏิบัติที่ได้รับการเสริมแรง (Reinforced practice) หมายความว่า เพียงแต่ผู้เรียนได้ รับรางวัลหลังจากที่ตอบสนอง ก็จะให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในแง่นี้คำว่า "รางวัล" กับ "ตัวเสริมแรง" (Reinforce) จะให้ความหมายเดียวกัน ต่างก็คือหมายถึงอะไรบางอย่างที่อินทรีย์ (บุคคล) ต้องการ
ปัจจัยสำคัญในสภาพการเรียนรู้
ในสภาพการเรียนรู้ต่างๆ ย่อมประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญ ๓ ประการ ด้วยกัน คือ
๑. ตัวผู้เรียน (Learner)
๒. เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เป็นตัวเร้า (Stimulus Situation)
๓ การกระทำหรือการตอบสนอง Action หรือ Response
บทที่ 1 ความหมาย ประเภทและประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
............สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
......ประเภทของสื่อการเรียนการสอน.........
....สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
........1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
........2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
.......3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ การฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
......4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)
..........สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามประสบการณ์ ........
.......1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือ ความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง
....... 2. ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตราย ไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า
.......3. ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น
.......4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้ อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดย ตลอด
.......5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียน ได้เรียนจากของจริง
.......6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง
.......7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟัง อย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์
.......8. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย
.......9. ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้า ใจได้รวดเร็วขึ้น
.......10.วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตาม เราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา
.........สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติ..........
.......Wilbure Young ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้
1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ
2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ
3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายสไลด์
5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯ
สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามรูปแบบ
(Form)Louis Shores ได้แบ่งประเภทสื่อการสอนตามแบบไว้ ดังนี้
1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ
2 วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ ( Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ
3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ
4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง
.......สื่อการเรียนการสอนตามลักษณะและการใช้........
1. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware)
2. วัสดุ (Software)
3. เทคนิคหรือวิธีการ (Techinques or Methods)
..........คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน.........
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
....1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ
....1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
....1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
....1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
....1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
....2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
....2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
....2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
....2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
....2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
....2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
....2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
....2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
....2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
....2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
....2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
.........คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน.........
1.สื่อ การเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้ง เดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่าง กันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน 2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม 4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม
การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้
การบรรยายเรื่อง
การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา "การสร้างสรรค์ศึกษา"
กรณีของประเทศไทย
ณ โรงแรม เลอ รอยัล เมอริเดียน
วันพุธที่ 16 มกราคม 2545

ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นแผนแม่บทด้านการศึกษาของประเทศ และในมาตรา 4 ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ดังนี้
การศึกษา หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้นั้นเกิดกับบุคคล และสังคม ถ้าเราถือว่าคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้น การเรียนรู้ ก็คือการเรียนรู้ของคนในสังคมนั่นเอง
การเรียนรู้ทำได้หลายวิธี มีได้หลายรูปแบบ การเรียนรู้คือการสร้างสรรค์ที่จรรโลงความก้าวหน้า คือครีเอทีฟ เพื่อความก้าวหน้า และการเรียนรู้คือการสร้างองค์ความรู้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ใหม่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นั้นต้องการการเรียนรู้ที่เน้นและให้ความสำคัญ กับการสร้างสรรค์มาก หมายความว่า การเรียนรู้นั้น เราสามารถสร้างองค์ความรู้ได้จากทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นจึงเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่างประเทศไทยกับสหราชอาณาจักรในครั้งนี้
ถ้าเรามองว่าการศึกษาคือการสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์เป็นสิ่งยิ่งใหญ่ จากรายงานจะพบว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร และเศรษฐกิจของโลกขึ้นอยู่กับผลงานสร้างสรรค์ หลายหมื่นล้านปอนด์ นั่นหมายความว่าราคาของความสร้างสรรค์มีมูลค่าสูงมาก ถ้านับรวมทั้งโลกจะสูงถึงล้าน ล้าน ล้านทีเดียว เพราะฉะนั้นโลกปัจจุบันจึงเป็นโลกของการเรียนรู้โดยการสร้างสรรค์ ที่เรามาพูดกันในวันนี้
เมื่อได้ความหมายของการศึกษา ว่าหมายถึงการศึกษาเชิงสร้างสรรค์แล้ว ในมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้บอกจุดประสงค์ของการเรียนรู้ไว้อย่างชัดเจนว่า กระบวนการเรียนรู้นั้นเน้นการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา จนถึงภูมิปัญญา และวิทยาศาสตร์
วันนี้เรามีโอกาสได้ฟังผู้เชี่ยวชาญมานำเสนอให้เราเห็นว่า การศึกษาในเชิงสร้างสรรค์ จะนำไปใช้ในสาขาต่างๆ ได้อย่างไร ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ จะสร้างสรรค์ได้อย่างไร สร้างความรู้ได้อย่างไร สาขาศิลปะ ที่ต้องมีความคิดเชิงสร้างสรรคเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นดนตรี หรือการเขียน ที่ต้องมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการเรียงร้อยสิ่งต่างๆ ในการนำเสนอ เห็นได้ชัดว่า มาตรา 4 และมาตรา 7 จะช่วยให้การศึกษาไม่แห้งแล้ง แต่จะเป้นการเรียนรู้ที่มีความสุข และสนุกสนาน และท้ายที่สุดสิ่งที่เราสร้างสรรค์อย่างมีความสุขนั้น จะกลายมาเป็นทรัพย์สมบัติ สิทธิสมบัติของเราอย่างชัดเจน
ดังนั้น การเรียนอย่างสร้างสรรค์ และการทำงานเป็นเรื่องเดียวกัน ในประเทศไทยอาจไม่ค่อยมี แต่ในต่างประเทศ เราพบเสมอๆ ว่าเด็กมีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงาน และทำงานตั้งแต่อายุน้อยๆ หากเราสามารถพัฒนาการเรียนแบบสร้างสรรค์ได้ การเรียนกับการทำงานจะเป็นการบูรณาการในเรื่องเดียวกัน
การศึกษาระบบใหม่เป็นระบบที่เหมาะ และยืดหยุ่นให้กับการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก เพราะการศึกษาไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในห้องเท่านั้น นอกจากนี้ มาตรา 12 ยังเปิดโอกาสให้คนที่เข้ามาจัดการศึกษานั้นมีมากมาย หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ครอบครัว หรือสถาบันศาสนา และสิ่งสำคัญคือการศึกษาใหม่ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นั้นมีถึง 3 ระบบคือ การศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non-Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) และกฎหมายได้กำหนดให้ระบบการศึกษาทั้ง 3 ระบบสามารเทียบโอนการศึกษากันได้ นี่คือความยืดหยุ่น เป็นการลดความแข็งของระบบการศึกษา เพื่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ความคิดริเริ่ม" และ "สร้างสรรค์"
นอกจากนี้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ยังมีสิ่งที่โดดเด่นมากคือในมาตรา 22 ที่เปลี่ยนความเชื่อและหลักการเกี่ยวกับผู้เรียนค่อนข้างมาก โดยเชื่อว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ ซึ่งหมายความว่าเราเชื่อในพลังแห่งการเรียนรู้ของผู้เรียน เชื่อในพลังแห่งการสร้างสรรค์ของแต่ละคน ซึ่งนับว่าเป็นความเชื่อที่ยิ่งใหญ่มาก ประการต่อมาเราเชื่อว่าผู้เรียนแต่ละคนสามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพของตัวเอง ได้ การศึกษาเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน
ถ้าเรามองว่าการศึกษาเชิงสร้างสรรค์เป็นรูปแบบและวิธีการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ในมาตรา 4 และมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เราสามารถบูรณาการเข้ากับเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ได้อย่างไร วันนี้จะมีตัวอย่างการบูรณาการในวิชาวิทยาศาสตร์ และศิลปะ
มาตรา 24 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กล่าวถึงเนื้อหาวิชาไว้อย่างสมบูรณ์ และชัดเจน และในมาตรา 24(5) กำหนดวิธีการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย เพื่อพัฒนาพลังแห่งการสร้างสรรค์ให้เป็นระบบ เพราะการวิจัยเป็นการทำงานโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ นอกจากนี้ในมาตรา 25 กล่าวถึง แหล่งเรียนรู้ ว่ามิได้จำกัดตายตัวอยู่แต่เพียงในห้องเรียน สถานที่ต่างๆ เช่น ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ ก็ถือเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญเช่นกัน
แต่เดิมเราเคยมีปัญหาเกี่ยวกับข้อกำหนดของหลักสูตร แต่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้หลักสูตรมี 2 ระบบ คือ หลักสูตรกลาง หรือหลักสูตรชาติ และหลักสูตรของโรงเรียนที่พัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและศักยภาพของผู้ เรียน และชุมชน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้การปฏิรูปการศึกษา เป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ ทำอย่างไรจึงมีการเรียนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างพลังศักยภาพของสังคมของคนไทย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ในฐานะของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของชาติ จึงสนใจและทำการศึกษาเรื่อง "การศึกษาเชิงสร้างสรรค์" นี้ เพื่อให้นโยบายด้านการศึกษาของชาติ สามารถพัฒนาเป็นแผนโดยการบูรณาการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์นี้ให้เข้ากับราย วิชาต่างๆ ได้อย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ที่มา
:ดร.รุ่ง แก้วแดง
:http://library.uru.ac.th/webdb/images/Create_Edu.htm



 การ ศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากความจำเป็น ด้านที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษาจึงเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต เป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุก ๆ ด้านของชีวิตและเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตในโลกที่มีกระแสความ เปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง รวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถีดำรงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันการ ศึกษายิ่งมีบทบาทและความจำเป็นมากขึ้นด้วย
ที่มาและข้อมูลเพิ่มเติม
http://gotoknow.org/blog/panom/101128
ความหมายของการศึกษา
ยัง ยัคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษาคือ การปรับปรุงคนให้เหมาะกับ โอกาสและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษาคือการนำความสามารถในตัวบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ความหมายของการศึกษา
โจฮัน เฟรดเดอริค แฮร์บาร์ต (John Friedich Herbart) ให้ความหมายของการศึกษาว่า
การศึกษาคือ การทำพลเมืองให้มีความประพฤติดี และมีอุปนิสัยที่ดีงาม

เฟรด ดเอริค เฟรอเบล (Friedrich Froebel) การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กเพื่อให้เด็กพัฒนาตนเอง

จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้หลายความหมาย คือ
1. การศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่เตรียมตัวเพื่อชีวิต
2. การศึกษาคือความเจริญงอกงาม
3. การศึกษาคือกระบวนการทางสังคม
4. การศึกษาคือการสร้างประสบการณ์แก่ชีวิต

คาร์เตอร์ วี. กู๊ด (Carter V. Good) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ 3 ความหมาย คือ
1. การศึกษาหมายถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่บุคคลนำมาใช้ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ เจตคติ ความประพฤติที่ดีมีคุณค่า และมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม
2. การศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคมที่ทำให้บุคคลได้รับความรู้ความสามารถจากสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนจัดขึ้น
3. การศึกษาหมายถึงการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษา

ม.ล.ปิ่น มาลากุล การศึกษาเป็นเครื่องหมายที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามในตัวบุคคล

ดร. สาโช บัวศรี การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคคลและสังคมที่ทำให้คนได้มีการเรียนรู้ และพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
สรุป การศึกษา เป็นกระบวนการให้ส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาจนเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณธรรมสูง
ที่มา
:http://www.suphet.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=110827&Ntype=2

การเรียนรู้ (Learning)
1. หมายถึง กระบวนการที่ประสบการณ์ตรงและประสบการณ์ทางอ้อมกระทำให้อินทรีย์ เกิดการเลี่ยนแปลง
2. หมายถึง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อันเนื่องมาจากได้รับประสบการณ์ (Experience)
ประสบการณ์ (Experience) คือ การที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสปะทะ (Interaction) กับสิ่งแวดล้อม (Environment) ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางสังคม (มนุษย์ด้วยกัน) และสิ่งแวดล้อมทางขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ที่บุคคลปะทะแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขึ้น
ปกติสภาพแวดล้อมมีทั้งดีและไม่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดีจะเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดี ในทางตรงข้ามถ้าสิ่งแวดล้อมไม่ดีก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางไม่ดี ทั้งนี้เมื่อพันธุกรรมเป็นตังคงที่ ดังนั้นถ้าต้องการให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางดี (การศึกษา – เจริญงอกงาม) จึงไม่อาจปล่อยให้บุคคลไปปะทะกับสิ่งแวดล้อมโดยอิสระ จำเป็นต้องจัดสถานการณ์เฉพาะให้บุคคลปะทะถึงสิ่งแวดล้อมที่ดี และนี่คือที่มาของ การจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษา จุดมุ่งหมายสำคัญก็เพื่อให้มี การสอน ที่ถูกต้องชัดเจน

ความหมายของการสอน
- การสอน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้
- การสอน หมายถึง การจัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
- การสอน หมายถึง การฝึกให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาต่าง ๆ
- การสอน หมายถึง การแนะแนวทางแก่ผู้เรียนเพื่อให้ศึกษาหาความรู้
- การสอน หมายถึง การสร้างหรือการจัดสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
- การสอน หมายถึง กระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความคิดที่จะนำความรู้ไปใช้เกิดทักษะหรือความชำนาญที่จะแก้ปัญหาได้ อย่างเหมาะสม
- การสอน หมายถึง การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้นักเรียนได้ปะทะเพื่อที่จะให้เกิดการเรียนรู้ หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น การสอนจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ก่อให้เกิดการเจริญงอกงาม
ความหมายของการเรียนรู้
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
• คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
• ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตาม สัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ "
• คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
• พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
• ประดินันท์ อุปรมัย (2540, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 15, หน้า 121) การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับ ประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจาก เดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรง และประสบการณ์ทางอ้อม
ประสบการณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์ที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง เช่น เด็กเล็กๆ ที่ยังไม่เคยรู้จักหรือเรียนรู้คำว่า “ร้อน” เวลาที่คลานเข้าไปใกล้กาน้ำร้อน แล้วผู้ใหญ่บอกว่าร้อน และห้ามคลานเข้าไปหา เด็กย่อมไม่เข้าใจและคงคลานเข้าไปหาอยู่อีก จนกว่าจะได้ใช้มือหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปสัมผัสกาน้ำร้อน จึงจะรู้ว่ากาน้ำที่ว่าร้อนนั้นเป็นอย่างไร ต่อไป เมื่อเขาเห็นกาน้ำอีกแล้วผู้ใหญ่บอกว่ากาน้ำนั้นร้อนเขาจะไม่คลานเข้าไปจับ กาน้ำนั้น เพราะเกิดการเรียนรู้คำว่าร้อนที่ผู้ใหญ่บอกแล้ว เช่นนี้กล่าวได้ว่า ประสบการณ์ ตรงมีผลทำให้เกิดการเรียนรู้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เผชิญกับ สถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ในการมีประสบการณ์ตรงบางอย่างอาจทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ ได้แก่
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤทธิ์ยา หรือสิ่งเสพติดบางอย่าง
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ
3. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย
4. พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนต่างๆ
ประสบการณ์ทางอ้อม คือ ประสบการณ์ที่ผู้เรียนมิได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเองโดยตรง แต่อาจได้รับประสบการณ์ทางอ้อมจาก การอบรมสั่งสอนหรือการบอกเล่า การอ่านหนังสือต่างๆ และการรับรู้จากสื่อมวลชนต่างๆ
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินผล
2. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain ) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว การกระทำ การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1. แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
2. สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู กิจกรรมการสอน และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ที่ครูนำมาใช้
3. การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง คำพูด การคิด การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก เป็นต้น
4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อม โยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
เป้าหมายและแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล
การปฏิรูปการศึกษา หมายถึงการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาหรือกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ และให้มีความเป็นธรรมอย่างก้าวกระโดด นั่นก็คือ ผู้นำต้องกล้าผ่าตัดเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการ เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริง การเปลี่ยนแปลงเฉพาะรูปแบบโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระสำคัญ และการมองเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเป็นแค่การมีโครงการเพิ่มเติมจากการจัดการ ศึกษาปกติ ทำให้ประเทศไทยไม่ได้เข้าใจและไม่ได้ปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผลอย่างแท้จริง
แม้ว่านโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง จะสรุปประสบการณ์และพยายามเขียนโครงการให้ครอบคลุม มีการใช้งบประมาณมากขึ้น แก้ปัญหาเรื่องการเพิ่มครู อาจารย์ และการให้เรียนฟรี 6 ปี การเพิ่มเงินกู้เพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังเป็นการคิดแบบเพิ่มโครงการเป็นส่วนๆมากกว่าจะปฏิรูปเชิงโครงสร้าง อย่างเป็นระบบองค์รวม
การจะปฏิรูปการศึกษาให้เกิดผลได้อย่างแท้จริงจะต้องพยายามทำให้ผู้มีส่วนร่วมได้เสีย (STAKFHOLDERS) ทำความเข้าใจเป้าหมายให้ชัดเจนและปฏิรูปที่เนื้อหาสาระสำคัญอย่างถึงราก แม้การศึกษาจะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพอสมควร แต่หลายประเทศที่มีผู้นำที่วิสัยทัศน์ที่ดี เอาจริงกับการศึกษาอย่าง โปแลนด์ ชิลีฯลฯ สามารถทำให้การศึกษามีคุณภาพดีขึ้นได้ภายในช่วง 6-7 ปี วัดได้จากการประเมินผลโดยโครงการ PISA ของกลุ่มประเทศ OECD16[1] ดังนั้นหากเข้าศึกษาทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง ลงมือปฏิรูปอย่างจริงจังอย่างที่ต่างประเทศเขาทำกันสามารถทำให้เกิดผลเร็ว ขึ้นได้ โดยไม่ต้องรออีก 10-20 ปี อย่างที่ผู้นำไทยบางคนกล่าวไว้
6.1 เป้าหมายของการศึกษาที่ดีควรจะเป็นอย่างไร
การปฏิรูปการศึกษาเป็นเพียงวิธีการ เป้าหมายคือ การจัดการศึกษาที่ดี ให้ผู้รับการศึกษาได้พัฒนาทักษะทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นคนมีทั้งมีความรู้ที่ใช้งานได้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง มีความสามารถในการนำความรู้ที่ได้เรียนมาแก้ไขปัญหาและพัฒนาทั้งชีวิตตนเอง ชุมชน และสังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่าง เสมอภาค สร้างสรรค์ เป็นพลเมืองที่มีความฉลาดรอบด้านและมีวินัยความรับผิดชอบ รู้จักการใช้ชีวิตและทำงานร่วมกันกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในสังคม มีความสุข มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ระดับสูง สามารถพัฒนาอุปนิสัยใจคอ ความคิดความอ่าน พฤติกรรมไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เพิ่มขึ้น
การศึกษามีภาระหน้าที่สำคัญในการสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพเพิ่ม ขึ้น ดังนั้นเป้าหมายของการศึกษาที่ดี ไม่ใช่แค่เรียนเพื่อสอบที่เน้นความจำและทักษะทางวิชาการและวิชาชีพเท่านั้น แต่จะต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดทั้ง 3 ด้านใหญ่ ๆ ประกอบด้วย

1. ฉลาดทางปัญญา - เป็นคนที่รู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล สนใจหาหลักฐาน ข้อมูลยืนยัน มากกว่าจะเชื่อด้วยอารมณ์ ความรู้สึกศรัทธาแบบงมงาย มีความรู้ทักษะที่ตนถนัดหรือชอบทำได้ดีพอที่จะสามารถทำงานหาเลี้ยงชีพได้ อย่างมีความพอใจ และรู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง อย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักการแก้ปัญหา การทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เข้าใจปัญหาต่าง ๆ อย่างเชื่อมโยงเป็นระบบองค์รวม
2. ฉลาดทางอารมณ์ - เป็นคนที่รู้จักดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ เช่นการออกกำลังกาย การกินอาหารที่มีคุณค่า การใช้เวลาทำงานและพักผ่อนอย่างไม่เครียด รู้เรื่องเพศศึกษา เรื่องจิตวิทยา ความฉลาดทางอารมณ์ของตัวเองและคนอื่น เช่นรู้จักแก้ปัญหาความขี้อาย และปรับปรุงความเชื่อมั่น ความภูมิใจในตัวเอง การเข้าใจ ควบคุมและสื่อสารเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของตนได้อย่างฉลาด/มีประสิทธิภาพ รู้จักมองโลกในทางบวกอย่างสมจริง รู้จักการควบคุมความเครียดและจัดการกับปัญหาในชีวิต รู้จักหาความสุขความพอใจที่พอเพียงและยั่งยืน รู้จักความอดกลั้น อดทน ปรับตัวให้อึดฮึดสู้ได้แม้ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก รู้จักคบหาสมาคมและการผูกมิตรกับคนอื่น รู้จักการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งกับเพื่อน คู่ครอง ครอบครัว ที่ทำงาน และคนอื่น ๆ
3. ฉลาดทางจิตสำนึกเพื่อสังคม - เป็นคนที่ตระหนักในสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบของพลเมือง เคารพในตนเองและเคารพคนอื่น เคารพต่อกฎระเบียบประเพณี ศีลธรรมเพื่อส่วนรวม พัฒนาโลกทัศน์ที่ฉลาดในทางสังคม มีความซื่อสัตย์ มีหลักยึดทางจริยธรรมที่มีเหตุผล มีทัศนคติที่ดี มีความเมตตา กรุณาและความหวังดีต่อเพื่อนมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ปฏิบัติต่อบุคคลอื่นอย่างเป็นธรรม เน้นการสามัคคีเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เข้าใจว่าการร่วมมือกัน แบ่งปันกันอย่างเป็นธรรม ช่วยเหลือกันและกันคือสิ่งที่จำเป็นและสำคัญในการที่จะช่วยให้สมาชิกทุกคน ได้ในชุมชนได้ประโยชน์ร่วมกันในระยะยาว ได้มากกว่าการเน้นพัฒนาตนเองเพื่อการแข่งขันกับคนอื่นแบบตัวใครตัวมัน รวมทั้งมีจิตสำนึกตระหนักเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชนและปัญหาสภาพแวดล้อมทั้งใน ชุมชน ประเทศและในโลก
6.2 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้นได้อย่างแท้จริง
ผู้วิจัยขอเสนอแนวทางการปฏิรูปเชิงแนวคิดนโยบาย โครงสร้าง วิธีบริหารจัดการ และการปฏิรูป      6 แนวทางย่อยในเรื่องที่เป็นการลงมือแก้ปัญหาที่จำเป็นระดับต้นๆ ที่จะช่วยสนับสนุนการปฏิรูปตาม แนวทางใหญ่ 5 แนวทางที่ผู้วิจัยเห็นว่าสำคัญที่สุด
• การปฏิรูปแนวทางใหญ่ 5 แนวทาง คือ
1. ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการการศึกษาให้เป็นประชาธิปไตยและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการการศึกษาให้มีการกระจายอำนาจความ รับผิดชอบไปสู่เขตการศึกษาและสถานศึกษาโดยตรงเพิ่มขึ้น กระทรวงศึกษาธิการไม่ต้องเป็นผู้บริหารสั่งการถึงโรงเรียนโดยตรงแบบเก่า ให้มีสถานศึกษาหลายรูปแบบ เช่น เป็นนิติบุคคลที่มีอิสระแบบโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ สถานศึกษาแบบมูลนิธิองค์กรเอกชนที่รัฐให้เงินสนับสนุนแต่คณะกรรมการสถาน ศึกษาสามารถบริหารได้อย่างเป็นอิสระ สถานศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองท้องถิ่น องค์กรศาสนาและงานการกุศล ฯลฯ

ทั้งนี้ต้องปฏิรูประบบการทำงานคณะกรรมการของเขตการศึกษาและสถานศึกษา ให้มีผู้ทรงคุณวุฒิและตัวแทนผู้ปกครองและชุมชน เช่นผู้นำชุมชน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ข้าราชการบำนาญ ข้าราชการกระทรวงอื่น นักธุรกิจฯลฯ ที่มีความรู้และทักษะในการบริหารจัดการเข้ามาร่วมทำงานเพิ่มขึ้น คณะกรรมการสถานศึกษาสามารถพิจารณาแต่งตั้งและถอดถอนให้ความดีความชอบผู้ อำนวยการและครูใหญ่ได้ ไม่ใช่มีแค่รูปแบบการตั้งคณะกรรมการ แต่เนื้อหาของการดำเนินงานยังคงขึ้นอยู่กับตัวระบบข้าราชการตามสายบังคับ บัญชาแบบรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลางอย่างที่เป็นอยู่

ส่งเสริมให้พระสงฆ์ที่มีความรู้ ผู้นำชุมชน ข้าราชการบำนาญ ข้าราชการกระทรวงอื่น ผู้ประกอบอาชีพอิสระต่าง ๆ  และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนั้น แต่อาจไม่ได้อยู่ที่ตำบลนั้นอำเภอนั้นโดยตรงให้เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการ สถานศึกษาได้ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชนบางแห่ง สมัยนี้การสื่อสารและการเดินทางสะดวกขึ้น คณะกรรมการที่มีที่พำนักอยู่ที่ตัวอำเภอเมืองสามารถเดินทางไปเข้าร่วมประชุม ที่โรงเรียนในต่างอำเภอ, ตำบลได้เดือนละ 1-2 ครั้งไม่ยาก ข้อสำคัญคือการจัดตั้งคณะกรรมการเขตการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาควรจะต้องเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบดูแลฝ่ายบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งได้อย่างมีประสิทธิภาพจริง   ดังนั้นควรยกเว้นไม่แต่งตั้งผู้มีตำแหน่งทางการเมืองในทุกระดับรวมทั้ง องค์กรปกครองท้องถิ่นให้เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อหลีกเลี่ยงการแทรกแซง และเล่นพรรคเล่นพวกทางการเมือง ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาควรเป็นคนนอกสถานการศึกษาที่มากำกับดูแลผู้อำนวย การหรือครูใหญ่ได้ ไม่ควรให้ผู้อำนวยการ/ครูใหญ่เป็นประธานเสียเอง

ปฏิรูป คัดเลือก ฝึกฝนพัฒนา ตรวจสอบและให้ผลตอบแทนผู้บริหารและครูอาจารย์สูงในระดับเดียวหรือใกล้เคียง กับแพทย์ ผู้บริหารจัดการภาคเอกชนและนักวิชาชีพชั้นสูงอื่นๆ เพื่อสร้างครูใหญ่และครูอาจารย์ที่เป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถ มีภาวะผู้นำเพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง เช่นคัดนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้คะแนนสูงมีแรงจูงใจอยากเป็นครูให้มา เรียนต่อวิชาครูซึ่งต้องพัฒนาให้มีคุณภาพขึ้น มีการปรับเงินเดือนครูขั้นต้นให้สูงขึ้น เปลี่ยนระบบบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็นประชาธิปไตย ที่ครูมีอิสระ รับผิดชอบเพิ่มขึ้น มีความก้าวหน้าอย่างคล่องตัว ยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น เพื่อให้เป็นงานที่ท้าทายคนฉลาดคนเก่งให้สนใจทำอาชีพนี้เพิ่มขึ้น

การคัดเลือกและพัฒนาครูใหญ่/ผู้อำนวยการต้องคัดเลือกคน ที่มีศักยภาพในการเป็นผู้บริหารจัดการที่รู้จักคิด วางแผน ใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักเลือกลำดับความสำคัญว่าอะไรสำคัญก่อนหลัง เพราะครูใหญ่เป็นบุคคลที่มีบทบาทในการช่วยปฏิรูปสถานศึกษาให้มีคุณภาพได้มาก ในประเทศ สิงคโปร์ และอื่นๆมีระบบการประเมินและคัดเลือกครูหนุ่มสาวที่มีศักยภาพจะเป็นครูใหญ่ ที่ดีต่อไปเพื่อรับการศึกษาอบรมเป็นครูใหญ่ต่อไปโดยเฉพาะ เมื่อได้วุฒิการศึกษาแล้วต้องไปสมัครเข้ารับการประเมินคัดเลือกเป็นครูใหญ่ อีกครั้งแตกต่างจากไทยที่ใช้วิธีการคัดเลือกครูใหญ่/ผู้อำนวยการตามระบบ อาวุโส, การสอบและการวิ่งเต้นเส้นสาย ทั้งยังติดในกรอบการบริหารแบบราชการรวมศูนย์ที่ขาดประสิทธิภาพ ที่ควรต้องยกเลิกปรับรื้อใหม่ทั้งระบบ โดยศึกษาจากระบบการบริหารจัดการแบบธุรกิจเอกชน ที่เน้นประสิทธิภาพการทำงาน เน้นผลงานของผู้บริหารจัดการ มากกว่าเน้นความอาวุโสและเน้นแค่ทำตามระเบียบไปวันๆ
2.  ส่งเสริมการพัฒนาครูให้มีคุณภาพและเพิ่มแรงจูงใจให้คนเรียน เก่งมาเป็นครู ด้วยการให้ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนเก่ง ๆ ที่สนใจจะเรียนเพื่อเป็นครูและรับประกันการมีงานทำ เพิ่มเงินเดือนขั้นต้นให้ครู แต่ต้องจำกัดจำนวน และคัดเลือกคนเก่งและคนที่มีอุปนิสัยและความตั้งใจที่จะเป็นครูแค่จำนวน หนึ่งที่รัฐบาลรับประกันการมีงานทำให้และปฏิรูปการศึกษาวิชาครูให้มีคุณภาพ เพิ่มขึ้น รวมทั้งเปิดกว้างรับสมัครผู้มีความรู้สาขาต่างๆไม่ว่าจะ อายุเท่าไหร่มาเป็นครูโดยการเข้ารับการอบรมฝึกฝนวิชาครูเพิ่มเติมระยะสั้น และจ่ายเงินเดือนค่าตอบแทนแบบบวกประสบการณ์ให้ได้ แบบเดียวกับภาคธุรกิจเอกชน
จัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมครูไปเข้าฝึกอบรม เรียนต่อ จัดประชุมสัมมนา ให้ทุนวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง การจะเพิ่มงบประมาณหรือรายได้เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ครูและสถานศึกษาพยายาม ปรับปรุงตัวเอง ควรประเมินที่ผลการทำงาน ไม่ใช่วิธีการทำเอกสารวิชาการเพื่อขอผลงานผู้ชำนาญการซึ่งมีการจ้างกันทำได้ และไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพ/คุณภาพการสอนเลย แต่ทั้งนี้ต้องมีระบบประเมินใหม่ที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม เน้นให้ครูแข่งขันกันทำงานและวัดประสิทธิภาพประสิทธิผลจากนักเรียนใน โรงเรียนนั้นๆ เปรียบเทียบปีต่อปี ครูที่ทำให้นักเรียนเรียนได้ดีขึ้นจากเดิมก็ให้ค่าตอบแทนเพิ่ม งบประมาณเพิ่มขึ้น โดยวัดจากพื้นฐานการทำงานที่มีเดิมของแต่ละโรงเรียน ไม่ใช่ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนนั้นโรงเรียนแบบเปรียบเทียบ กันทั้งประเทศ เพราะการประเมินแบบนี้จะทำให้โรงเรียนนักเรียนที่เก่งนิยมไปเข้า, มีครูเก่ง มีงบประมาณมากอยู่แล้ว ยิ่งได้เปรียบ ทำให้โรงเรียนมีคุณภาพต่างกันมากขึ้น ครูก็จะอยากไปอยู่โรงเรียนที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว
การพัฒนาการสอนให้มีประสิทธิภาพที่หลายประเทศนำมาใช้อย่างได้ผลคือ การประเมินและปรับปรุงการสอนของครูด้วยการให้เพื่อนครูไปสังเกตการสอนหรือ ถ่ายวีดีโอการสอนไว้ แล้วจัดประชุมกันให้ผู้สอนได้ร่วมพิจารณากับทีมงานว่าควรจะปรับปรุงวิธีการ สอนให้น่าสนใจให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดีขึ้นได้อย่างไร โดยอาจจะใช้ศึกษานิเทศก์หรือครูผู้สอนที่เก่งไปช่วยแนะนำ แต่ทั้งนี้ครูต้องใจกว้างรับฟัง ตั้งใจปรับปรุงตนเพื่อผู้เรียนด้วย วิธีการนี้จึงจะได้ผล
การสร้างแรงจูงใจให้คนเก่งเลือกมาเรียนครูและคงอยู่ในอาชีพครู คือ เพิ่มเงินเดือนครูขั้นเริ่มต้น โดยเฉพาะสาขาขาดแคลนและให้เงินเพิ่มพิเศษสำหรับครูที่ไปสอนในชนบทรอบนอก ขณะ เดียวกันต้องคัดเลือกฝึกอบรม, พัฒนาครูให้มีคุณภาพมีวุฒิภาวะและจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมสูง ให้การยกย่องและให้อิสระและความรับผิดชอบครูเพิ่มขึ้น(เช่นให้ครูกำหนดหลัก สูตร การสอนตำรา การสอนเองได้) รวมทั้งพิจารณาขึ้นเงินเดือนตามผลงานของครูแต่ละคนอย่างยืดหยุ่นคล่องตัวแบบ การบริหารในภาคธุรกิจเอกชน
เปลี่ยนแปลงปรับปรุงระบบการบริหารจัดการครูให้คล่องตัวเพื่อกระจายครูไป ช่วยปฏิรูปโรงเรียนที่มีคุณภาพต่ำได้เพิ่มขึ้น เช่นการส่งครูใหญ่ ครูเก่งๆ ไปแก้ปัญหาพัฒนาโรงเรียนที่อ่อน โดยที่คงได้ตำแหน่งเงินเดือนไม่ต่างจากโรงเรียนใหญ่หรือให้แรงจูงใจเพิ่ม ขึ้น ระบบบริหารแบบราชการที่กำหนดว่าผู้บริหารต้องย้ายอยู่โรงเรียนใหญ่จึงจะได้ เงินเดือนและความก้าวหน้าสูงตามขนาดของโรงเรียน เป็นระบบเพื่อผลประโยชน์ของข้าราชการครู ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของนักเรียนและประเทศชาติ เราต้องเปลี่ยนแปลงระบบบริหารเสียใหม่ โดยเน้นเป้าหมายผลงานในการทำให้นักเรียนเรียนได้ดีขึ้นเพื่อประโยชน์ของนักเรียนและเพื่อส่วนรวม เราจึงจะปฏิรูปโรงเรียนที่มีคุณภาพต่ำให้มีคุณภาพสูงขึ้นได้ ไม่ใช่เน้นประโยชน์ส่วนตัวของผู้บริหาร ครู อาจารย์
3. ปฏิรูปหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับการทำงานของสมองของเด็กวัยต่าง ๆอย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปใช้งานรวมทั้งรู้วิธีใฝ่รู้ รักการอ่านการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ต่อไปได้ เช่น การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (WHOLE LANGUAGE) ใช้สื่อหลายชนิด การสอนแบบเชื่อมโยงความหมายเรื่องที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงและความรู้เดิมของ นักเรียน การทดลองและฝึกภาคปฏิบัติเพิ่มขึ้น ฝึกการจำแบบเชื่อมโยง (ไม่ใช่จำเป็นส่วนๆ แบบนกแก้วนกขุนทอง) เรียนรู้คิดวิเคราะห์ปัญหาต่างๆสังคมมากขึ้น เรียนรู้จักธรรมชาติของตนเอง เรื่องชุมชน สังคม รวมทั้งธรรมชาติสิ่งแวดล้อม หลักสูตรควรจัดให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละขั้นตอน และเน้นให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดรวบยอดที่สำคัญ ไม่ใช่ครอบคลุมวิชาจำนวนมากและมีแค่ข้อมูลรายละเอียดที่นักเรียนต้องเรียน แบบท่องจำเพื่อไปสอบ    โดยไม่ค่อยเข้าใจวิชาเนื้อหาที่เรียนว่าคืออะไร เรียนไปเพื่อใช้ประโยชน์อะไร
ระดับปฐมวัย ควรเตรียมความพร้อมเรื่องความฉลาดในทุกด้าน โดยเน้นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเล่นกิจกรรมดนตรี ศิลปะ กีฬา การเรียนภาษาแบบธรรมชาติฯลฯ ระดับประถมต้น ควรเน้นภาษาไทยให้ใช้งานได้ โดยเฉพาะการอ่านแบบเอาเรื่องหรือการอ่านแบบจับใจความได้ เพราะนี่คือพื้นฐานสำคัญที่จะไปเข้าใจแนวคิดรวบยอดของคำต่างๆ และเรียนวิชาต่างๆ ต่อไปได้ดี การเรียนภาษาไทยควรสอนให้นักเรียนเรียนรู้จักการอ่านนิทานนิยายได้อย่าง เพลิดเพลิน และฝึกทักษะการจับใจความ ไม่ใช่การสอนท่องจำกฎไวยากรณ์ที่น่าเบื่อ ต้องฝึกครูภาษาไทยใหม่ให้รู้จักวิธีการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้น
ปฏิรูปการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้ เข้าใจง่าย สนุกและให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยการพัฒนาครูและกระบวนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์อย่างขนานใหญ่ มีวิธีการสอน สื่อการสอน การเล่นเกมให้เด็กเรียนรู้ไปทีละขั้นตอน และเข้าใจแนวคิดรวบยอดของกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (เช่น บวก ลบ คูณ หาร) เรื่องธรรมชาติและสภาพแวดล้อม เพื่อที่ผู้เขียนจะได้เรียนรู้แบบเชื่อมโยงกับเรื่องจริงในชีวิตประจำวันและ พัฒนาต่อไปได้
ทั้งครูอาจารย์ พ่อแม่ และผู้ปกครอง ควรตระหนักว่าความอยากเรียนรู้ ความตั้งใจเรียนรู้ของผู้เรียนเป็น ปัจจัยที่สำคัญในกระบวนการเรียนรู้ เด็กก่อนวัยเรียนทุกคนมีธรรมชาติที่อยากรู้อยากเห็น ชอบซักถาม แต่ถ้าถูกพ่อแม่ ครูตัดบทหรือดุว่าพูดมาก เด็กจะเลิกถามและเลิกอยากรู้อยากเห็น นี่คือปัญหาสำคัญของการเลี้ยง ดูและการสอนแบบเก่า ที่เน้นการใช้อำนาจ คำสั่งและระเบียบวินัยมากเกินไปจนไปทำลายปัจจัยสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ พ่อแม่และครูจะต้องส่งเสริมให้นักเรียนช่างสังเกต ช่างซักถาม อยากเรียน รู้อยากอ่าน อยากฟัง อยากดู อยากทำโน่นดูนี่ จึงจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กรักการเรียนและเรียนได้ดี การสอนอย่างมีประสิทธิภาพที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง การสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร ใจกว้าง ไม่เข้มงวดแบบชอบดุมากเกินไป
การสอนให้เด็กมีวินัยอย่างได้ผล คือการสอนให้เด็กเข้าใจความจำเป็นของวินัยและเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบด้วยตัว เอง ซึ่งอาจมีการดุ การวิจารณ์ การลงโทษตามแต่ละกรณีอย่างมีเหตุผลที่อธิบายให้เด็กเข้าใจได้ แต่การดุแบบเพื่อทำให้เด็กกลัวหรือเครียดตลอดเวลาหรือส่วนใหญ่ไม่ใช่การสอน วินัยอย่างมีประสิทธิภาพ อาจจะสอนไม่ได้ผลเลยด้วยซ้ำ เพราะเด็กอาจแสร้งทำเป็นวินัย เช่น นั่งเงียบเพื่อเอาตัวรอด แต่ไม่ได้เข้าใจว่าวินัยในเรื่องนี้คืออะไร มีประโยชน์ต่อตัวเขาอย่างไร
ในเรื่องจิตวิทยาการเรียนรู้ สิ่งสำคัญมากคือการทำให้เด็กมีความภูมิใจมั่นใจในตัวเอง ว่าเขาเรียนรู้ได้ จะทำให้เขาอยากเรียนรู้เพิ่มขึ้นและเรียนรู้ได้ดีขึ้น พ่อแม่และครูที่รู้จักชมเด็กที่มีพัฒนาการดีขึ้น จะช่วยส่งเสริมให้เด็กอยากเรียนรู้และได้ดีขึ้น ขณะที่การดุด่าว่ากล่าวตำหนิ โดยเฉพาะถ้าทำเสมอๆ  ทำเป็นกรณีทั่วไปมากกว่าเวลามีปัญหาหนึ่งปัญหาใดที่ชัดเจน จะเป็นผลลบต่อเด็ก เพราะจะทำให้เขาไม่ภูมิใจไม่มั่นใจในตัวเอง คิดว่าตัวเองโง่กว่าเพื่อนเรียน ไม่ได้ ไม่อยากเรียน เด็กทุกคนมีโอกาสเรียนรู้พัฒนาตัวเองได้ดีขึ้น
ปัญหาที่เด็กไทยหลุดออกจากระบบการศึกษาเรียนไม่จบชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6หรือแม้แต่มัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นจำนวนมาก นอกจากจะมาจากปัญหาความยากจนและปัญหาสังคมอื่นๆ แล้ว ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาเด็ก ถูกครูที่ไม่เข้าใจจิตวิทยาเด็ก ทำลายความภูมิใจความตั้งใจจนเด็กเรียนไม่ค่อยได้ผล และไม่อยากเรียนต่อ
4. ปฏิรูปการประเมินผลเพื่อเลื่อนชั้นและการคัดเลือกคนเข้าสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยเฉพาะการสอบเข้าเป็นแนวใหม่ โดยเน้นเป้าหมายเพื่อช่วยพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละคนมากกว่าการเน้นเรื่อง ใครแพ้ถูกคัดออก การประเมินผลที่ดีควรยืดหยุ่นหลากหลายกว่าการสอบแบบมาตรฐานที่ทุกคนต้อง มาสอบเหมือนกัน และคิดเป็นคะแนนสูงต่ำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อคัดคนส่วนน้อยไปเรียนต่อ วิธีการสอบแบบแข่งขัน แม้จะจำเป็นในการคัดเลือกคนที่เหมาะสมให้ได้ไปเรียนสูงขึ้น แต่เป็นผลเสียทางจิตวิทยาสำหรับเด็กที่ได้คะแนนต่ำ ซึ่งเป็นเด็กส่วนใหญ่ ทำให้พวกเขาขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง และยิ่งเรียนรู้พัฒนาตัวเองได้น้อยลงไปอีก เป็นผลเสียต่อการพัฒนาประชาชนส่วนใหญ่ ตัวอย่างของประเทศฟินแลนด์ที่นักเรียนมีผลการเรียนรู้สูง ครูและผู้อำนวยการแต่ละโรงเรียนจะเป็นผู้ร่วมกันประเมินนักเรียนเอง ตามพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคน จะมีการสอบมาตรฐานระดับชาติเฉพาะตอนนักเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเท่า นั้น
การจะเปลี่ยนวิธีการประเมินผลแบบใหม่ได้ ต้องเปลี่ยนนโยบายการจัดการศึกษาแบบมุ่งเพื่อส่งเสริมให้คนให้มุ่งเข้าเรียน มหาวิทยาลัย ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ใช่เรื่องจำเป็นสำหรับคนส่วนใหญ่ เพราะสิ้นเปลืองทรัพยากรมาก และการที่มหาวิทยาลัยขยายเพิ่มปริมาณมาก โดยที่ทั้งครู อาจารย์และผู้เรียนมีคุณภาพไม่สูงพอก็ทำให้มีคนจบปริญญาตรีมากแต่มีคุณภาพ ต่ำและว่างงานสูง เราควรจัดการศึกษาแบบเพื่อคนทั้งหมด ส่งเสริมศักยภาพที่มีความหลากหลายของคนทั้งหมดอย่างกว้างขวางยืดหยุ่น เช่น พัฒนาการศึกษาด้านอาชีวศึกษา เทคโนโลยี ศิลปะ ดนตรี การสร้างสรรค์ต่างๆ ให้มีคุณภาพ เด็กเยาวชน ประชาชนเข้าถึงการศึกษาประเภทต่างๆ ได้สะดวกขึ้น ใครอยากเรียนอะไรที่ถนัดหรือสนใจก็มีช่องทางที่จะเลือกเรียนได้อย่างกว้าง ขวางและมีคุณภาพ
สำหรับการประเมินผลระดับชาติของประเทศไทยในระดับประถม 6 มัธยม 3 มัธยม 6 น่าจะศึกษาจากการทดสอบนักเรียนระหว่างชาติในโครงการ PISA ขององค์กร OECD ซึ่งออกแบบการวัดผลแบบเน้นความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาในชีวิตจริงของนักเรียนมากกว่าวัดการท่องจำตามตำรา
การปฏิรูประบบประเมินผลที่ทันสมัยกว่านี้จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการ เปลี่ยนแปลงวิธีคิดวิธีการสอนของครู ต้องทำครูอาจารย์เข้าใจใหม่ว่า การศึกษาเป็นเรื่องกระบวนการเรียนรู้เพื่อตีความข้อมูล คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ไขปัญหา ไม่ใช่การท่องจำข้อมูล เราจึงจะปฏิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพใช้งานได้ และสร้างพลเมืองที่ฉลาดรับผิดชอบไปแก้ไขปัญหาและแข่งขันและร่วมมือกับประเทศ อื่นๆ ได้อย่างแท้จริง
5. ปฏิรูปศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กำกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง (SELF DIRECTED LEARNING)
การจะปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผลขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเองอย่างมากด้วย ผู้ใหญ่ควรช่วยกันทำให้เด็ก ได้เรียนรู้อย่างมีความสุขทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน โดยถือเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุด เพราะจะช่วยทำให้เป้าหมายการเรียนเก่งและการเป็นคนดีเป็นไปได้มากขึ้น การวิจัยพบว่า เด็ก ที่มีความสุขจะเรียนและสอบได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ค่อยมีความสุข พวกเขาจะกระตือรือร้นมากกว่า มีความมานะอดทนมากกว่า มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่า มีสมาธิมากกว่า และเข้ากับทั้งเพื่อนและครูได้ดีกว่า
คนที่มีความสุขจะมองโลกในแง่ดี คิดสร้างสรรค์และอยากช่วยให้คนอื่นๆ มีความสุข ทำให้ได้รับการพัฒนาเป็นคนดีไปด้วย นี่ควรเป็นเป้าหมายใหม่ในการปฏิรูปการศึกษา เพราะการศึกษาที่เน้นการสร้างคนเก่งแบบแพ้คัดออกไปทำงานเพื่อทำเงินให้ได้ มากที่สุดนั้น นอกจากมีข้อจำกัดแล้วยังสร้างปัญหาทางสังคมเพิ่มขึ้นด้วย
ปัจจัยที่จะทำให้คนมีความสุข (อย่างแท้จริง) ประกอบด้วย ความ สามารถทางสังคมและทางอารมณ์ การไม่ติดกับการวิตกกังวลมากเกินไป การมีทักษะในการสื่อสารที่ดี การปรับตัวกลับคืนสภาพเดิมได้เร็ว การมีกรอบคิดที่มองออกไปในอนาคต และการมองโลกในแง่ดีอย่างสมจริงและสร้างสรรค์ โดยทั่วไปแล้ว คือปัจจัยชุดเดียวกันที่ทำให้คนเราประสบความสำเร็จในการเรียนและการทำงาน ด้วยเหตุนี้นักเรียนที่มีความสุขจึงมีแนวโน้มจะเรียนและสอบได้ดีกว่านัก เรียนที่ไม่มีความสุข
เด็กที่มีความสุขจะสนใจอยากเรียนรู้และจะเรียนได้ดีกว่าเด็กที่ ไม่มีความสุข เด็กที่รักการอ่าน อ่านหนังสือเป็นจะสนุกกับการอ่านโดยไม่รู้สึกว่า นี่คือการทำงานภาคบังคับที่น่าเบื่อ

เรื่องนี้นักวิจัยด้านการทำงานของสมองยืนยันว่า หากบรรยากาศในห้องเรียนเป็นมิตร ทำให้ผู้เรียนมีอารมณ์ดี ไม่กลัว ไม่กังวล รู้สึกท้าทายหน่อยๆ แต่ไม่ถึงกับเครียดผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีกว่าในบรรยากาศที่ครูสอนแบบเข้ม งวด หรือชอบว่าชอบกระแหนะกระแหนเด็ก
การเน้นเป้าหมายที่จะทำให้เด็กได้เรียนอย่างสนุกมีความสุข ไม่ได้ขัดแย้งกับเป้าหมายที่จะทำให้เด็กเรียนเก่ง การเน้นทำให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขจะมีทำให้เด็กมีโอกาสเรียนเก่ง ได้มากกว่าการที่ครูพยายามจะป้อนข้อมูลทำให้เด็กท่องจำโดยเด็กไม่เข้าใจ อย่างแท้จริง และโดยที่ครูไม่สนใจว่าพวกเขาจะเรียนได้อย่างมีความสุขหรือไม่
การศึกษาที่ยึดถือเป้าหมายทำให้ผู้เรียนได้กำกับการเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้น มีความสนุกในการเรียนและรักการเรียนด้วยตนเอง ควรจะมีแนวทางดังต่อไปนี้
1. ส่งเสริมความรักในการเรียนรู้ (รวมความรักในการอ่าน) ตลอดชีวิต โดยไม่ต้องไปเน้นจุดมุ่งหมายอื่นใด นอกจากเพื่อความรักในการเรียนรู้โดยตัวของมันเอง
2. เปลี่ยนแปลงวิธีของการวัดผลโดยไม่เน้นการจัดลำดับในห้องเรียนการวัดผลที่ดี ควรวัดพัฒนาการในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนเน้นการแข่งกับตัวเอง มากกว่าเน้นการแข่งขันกับคนอื่น และให้ผู้เรียนตระหนัก วัดผล ด้วยตัวของตัวเองได้ด้วย
3. เน้นการพัฒนาความสามารถทางด้านสังคมและอารมณ์ของผู้เรียนเพิ่มขึ้น
4. เปิดกว้างให้เด็กมีโอกาสเล่นและทำกิจกรรมที่เขาพอใจ โดยการแบ่งเวลาให้เหมาะสม
5. เลิกการสนับสนุนให้เด็กต้องเรียนเสริมเพื่อมุ่งแข่งขันให้เรียนเก่งกว่าคน อื่นได้เร็วกว่าเด็กอื่นตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะถึงเด็กจะมีความฉลาดทางปัญญาที่จะทำได้ แต่ถ้าพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของเขายังไม่พร้อมหรือเรียนหนักไปเครียดไป อย่างไม่สมดุลกับความต้องการของชีวิตที่ต้องการพัฒนาด้านอื่นๆ ด้วยจะทำให้เขาไม่มีความสุข ถึงเขาจะเรียนเก่งได้ แต่ก็อาจมีปัญหาภายหลังได้
6.3 แนวทางปฏิรูปแนวทางย่อยหรือการลงมือทำอย่างเป็นรูปธรรมเรื่องที่สำคัญเร่งด่วน
การปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้ได้ผลอาจใช้แนวทางย่อยหรือการลงมือทำอย่างเป็นรูปธรรมใน 6 เรื่องคือ
1) ทุ่มเทพัฒนาการศึกษาปฐมวัย (3-5 ขวบ) แบบเตรียมความพร้อมที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองเด็กวัยนี้ เพราะระดับปฐมวัยนั้นเป็นวัยที่เรียกว่าเป็นโอกาสทอง ที่สมองเด็กกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว อยากรู้อยากเห็น พร้อมที่จะเรียนรู้มากที่สุด ในช่วงชีวิตของคนเรา จัดการฝึกอบรมและจ้างครูอนุบาลที่เข้าใจจิตวิทยาเด็กเล็กและรู้จักวิธีการ สอนแบบกึ่งเล่นกึ่งเรียน มีอุปกรณ์สื่อต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาสมอง เด็กวัยนี้จะเรียนรู้ได้เร็วมาก และจะเป็นการเตรียมพร้อมสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่จะทำให้เขาเรียนชั้นประถมได้ดีขึ้น เด็กที่ฉลาดกล้าพูด กล้าซักถามจะไปช่วยทำให้ครูต้องสนใจอ่านหนังสือศึกษาเพิ่มเติมด้วยจะเป็นแนว ทางการปฏิรูปการศึกษาจากล่างขึ้นบนที่สำคัญ
ขณะนี้มีเด็กไทยระดับปฐมวัยนี้อยู่ทั่วประเทศราว 3 ล้านคน กลุ่มที่ได้เข้าเรียนมีราวร้อยละ 60 ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในศูนย์เลี้ยงเด็กหรือรร.อนุบาลที่มีคุณภาพปานกลางถึงต่ำ การจะสร้างเพิ่มเติมและปรับปรุงโรงเรียนอนุบาล การคัดเลือกฝึกอบรมและจ้างครูอนุบาลก็เพิ่มเติมน่าจะใช้งบประมาณไม่มากและทำ ได้ไม่ยากจนเกินไป โดยควรเน้นการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลที่มีมาตรฐานต่ำและเพื่อการขยายโอกาสให้ เด็กที่ยังไม่ได้เรียนให้ได้เรียนฟรี มีรถรับส่ง มีอาหารกลางวันและการดูแลสุขภาพอย่างพร้อมมูล โดยอาจใช้งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นช่วย เพียงแต่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเด็กปฐมวัยเข้าไปดูแลช่วยเหลือฝึก อบรมครูและพัฒนาด้านคุณภาพเพิ่มขึ้นอย่างจริงจัง
2) ปฏิรูปโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลางที่ ปัจจุบันมีคุณภาพต่ำ เพราะขาดแคลนครูที่เก่ง, ขาดงบประมาณ โดยการเพิ่มงบประมาณและส่งเสริมคนเก่งไปทำงานเป็นครูใหญ่ในโรงเรียนเล็ก โดยคงได้เงินเดือนสูงตามความสามารถของบุคคล ไม่ใช่ให้เงินเดือนครูใหญ่ตาม ขนาดของโรงเรียน และควรให้เบี้ยกันดารแก่ครูที่สอนในชนบทห่างไกลด้วย โดยควรมีทีมศึกษานิเทศก์และผู้เชี่ยวชาญไปช่วยเหลือชี้แนะ เพราะการเพิ่มเงินอย่างเดียวอาจไม่ทำให้คุณภาพเพิ่มขึ้นเสมอไป ต้องกล้าทำแบบในสหรัฐฯ และประเทศอื่น คือถ้าให้การอุดหนุนแต่โรงเรียนที่มีคุณภาพต่ำเพิ่มแล้ว ผลงานทำงานของครูใหญ่และทีมงานยังไม่ดีขึ้นต้องเปลี่ยนครูใหญ่ เปลี่ยนครูที่มีคุณภาพต่ำ หรือเปลี่ยนรูปแบบการบริหารไปให้เอกชนหรือกลุ่มผู้ปกครอง, มูลนิธิบริหารแทนฯลฯ
การพัฒนาโรงเรียนขนาดกลางขนาดเล็กในต่างจังหวัดและในชุมชนแออัดในเมือง ใหญ่ที่มีคุณภาพต่ำ ควรทำหลายวิธีให้ครบวงจรอย่างเป็นระบบองค์รวม เช่นเพิ่มงบประมาณเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน เพิ่มครูที่มีคุณภาพโดยให้แรงจูงใจเช่นเบี้ยกันดารหรือจัดระบบครูอาสาสมัคร หมุนเวียนไปสอนโรงเรียนชนบทและชุมชนแออัดคนละ 2 ปี และให้ครูผู้นั้นได้ประกาศนียบัตรและมีสิทธิขอสมัครไปทำงานที่อื่นหลังจาก ผ่าน 2 ปีไปแล้วได้แบบในสหรัฐฯ อังกฤษ ทำให้มีบัณฑิตที่จบใหม่ที่มีไฟแรงสมัครไปช่วยพัฒนาโรงเรียนเหล่านี้มากขึ้น เมื่อได้ทำไปแล้ว 2 ปี คนติดใจขออยู่ต่อ คนที่ไม่อยู่ต่อก็มักหางานได้ดีขึ้น เพราะมีประสบการณ์ผ่านงานยากลำบากมาแล้ว ข้อสำคัญคือจะทำให้เกิดมีระบบหมุนเวียนครูที่มีคุณภาพเข้าไปอยู่เสมอ เพื่อพัฒนาโรงเรียนในชนบทให้มีคุณภาพใกล้เคียงกันกับโรงเรียนในเมือง
3) แก้ปัญหานักเรียนหลุดออกจากระบบการศึกษาหรือออกกลางคันอย่างเป็นระบบครบวงจร
การจะแก้ปัญหาเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาเรียนไม่จบม.3 หรือม.6 เป็นสัดส่วนสูงราวครึ่งหนึ่งของคนที่ได้เข้าเรียนชั้นประถมปีที่1 นั้น ต้องแก้ไขอย่างเป็นระบบครบวงจร เพราะเป็นปัญหาที่มาจากสาเหตุหลายอย่างประกอบกัน วิธีการแก้ปัญหาด้วยนโยบายเรียนฟรี 15 ปีหรือแจกของฟรี 5 รายการ เป็นการแก้ปัญหาแบบมองเฉพาะเรื่องค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายบางอย่างเท่า นั้น แต่ความจริงแล้วการศึกษามีค่าใช้จ่ายสูงกว่านั้น เช่น ค่าใช้จ่ายการเดินทาง ค่ากินอยู่ ค่าเสียโอกาสในการให้ลูกไปช่วยทำงาน ซึ่งสำหรับคนจนแล้ว เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงจนเขาอาจไม่อยากให้ลูกเรียนต่อ เด็กนักเรียนเองจำนวนมากมีปัญหาเรียนไม่ได้ดี ไม่ชอบโรงเรียนเพราะการสอนและการสอบแบบมาตรฐานเดียว ใครเรียนได้ก็เรียนไป ใครเรียนไม่ได้ก็ออกไป ปัญหานักเรียนถูกสิ่งเย้ายวนใจภายนอกดึงให้อยากออกจากโรงเรียนฯลฯ ปัญหาทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไขด้วย ปรับปรุงกระบวนการสอน การเรียน การแนะแนวดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด
ทางองค์กรปกครองท้องถิ่นควรร่วมมือกับทางโรงเรียนติดตามและช่วยเหลือให้ผู้ปกครองต้องส่งเด็กวัยเรียนทุกคนมาเรียนภาคบังคับ 9 ปี และช่วยพัฒนาเด็กที่มีปัญหาให้เรียนได้ตลอดรอดฝั่งถึง 9 ปี (จบมัธยมปีที่ 3) เช่นการให้ทุนเป็นค่าใช้จ่ายที่ครอบคลุมการเดินทางและการกินอยู่ ให้เงินพิเศษครูช่วยสอนเด็กอ่อนเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อย พัฒนาครูและเพิ่มนักจิตวิทยา, นักแนะแนว, นักสังคมสงเคราะห์ให้ทำหน้าที่ออกไปตามดูแลเด็กที่ขาดเรียนและมีปัญหาด้านต่างๆ, พัฒนา ระบบการแนะแนว, การติดตามป้องกัน/แก้ไขปัญหาเด็กที่มีปัญหาเรียนตามเพื่อนไม่ทัน หรือมีปัญหาอุปสรรคอื่นๆ ที่ทำให้เด็กในวัยเรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาหรือต้องออกกลางคันอย่างมี ประสิทธิภาพ
เรื่องที่สำคัญที่ต้องทำควบคู่กันไป คือต้องเพิ่มงบประมาณกำลังคน พัฒนาโรงเรียนขนาดกลาง และขนาดเล็กในอำเภอรอบนอกและชุมชนแออัดให้มีครูที่คุณภาพและเอาใจใส่ดูแลนัก เรียนได้อย่างทั่วถึงเพิ่มขึ้น
นโยบายเรียนฟรี 15 ปีที่ให้บริการแก่นักเรียนทุกคนรวมทั้งลูกคนรวยคนชั้นกลาง ไม่ใช่สิ่งจำเป็นหรือมีประโยชน์สูงสุด คนรวยคนชั้นกลางไม่ได้ต้องการของฟรีมากเท่ากับการให้ลูกได้รับการศึกษาที่มี คุณภาพสูงขึ้น โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดี ลูกหลานเขาปลอดภัยจากการถูกนักเรียนเกเรรังแก การพนัน ยาเสพติด ปัญหาเพศสัมพันธ์ก่อนวัย และปัญหาอื่นๆ มากกว่า ดังนั้นรัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณให้การศึกษาฟรีเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ซึ่งควรจะเพิ่มทุนค่าเดินทาง ค่ากินอยู่ให้พวกเขาด้วย และจัดสรรงบประมาณอีกส่วนหนึ่งไปแก้ปัญหาสภาพแวดล้อม ปัญหาต่างๆ ที่เด็กต้องเผชิญ และปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนการดูแลพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้นักเรียนทุกคนรวมทั้งลูกคนรวย คนชั้นกลางได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง
4) ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้/ทักษะที่ใช้งานได้จริงเพิ่มขึ้น การ ศึกษาขั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา คือ การจัดการศึกษาที่สำคัญที่สุด สำหรับพลเมืองส่วนใหญ่ เพราะเป็นการปูพื้นฐานความรู้ อุปนิสัย ค่านิยม ความฉลาดประชาชนส่วนใหญ่ทั้งที่จะได้เรียนต่อหรือออกไปทำงาน ขณะที่การศึกษาสูงกว่าระดับนี้จะมีคนได้น้อยลงและถ้าการศึกษาพื้นฐานมี คุณภาพต่ำ การศึกษาในระดับสูงขึ้นไป ก็จะมีคุณภาพต่ำตามไปด้วย ดังนั้นควรให้ผู้เรียนได้ความรู้ทักษะขั้นพื้นฐานที่ใช้งานได้ แม้ว่าเขาจะต้องออกไปทำงานโดยไม่ได้เรียนต่อในขั้นสูงขึ้น ก็ควรจะมีความรู้ติดตัวที่เป็นประโยชน์ เช่นเป็นเกษตรกร เป็นคนงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อยที่มีประสิทธิภาพขึ้น รู้วิธีที่จะอ่านหนังสือเรียนรู้ต่อด้วยตนเองต่อไปได้
การรู้ภาษาไทยที่ใช้งานได้ดี เป็นพื้นฐานที่จะไปเรียนรู้วิชาอื่นต่อได้อย่างสำคัญ ความรู้เรื่อง สิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบของพลเมือง การเรียนรู้เรื่องอาชีพการงาน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสภาพแวดล้อมที่เชื่อมโยงกับชีวิตและสังคมก็เป็นความรู้พื้นฐานที่ สำคัญ การศึกษาระดับมัธยมในประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมหลายประเทศไม่ได้แยกเป็นสายสามัญ สายอาชีวศึกษา สายวิทยาศาสตร์ สายศิลปศาสตร์แบบตายตัว แต่ใช้หลักสูตรที่ยืดหยุ่นเปิดให้นักเรียนที่เลือกเรียนวิชาที่ตนสนใจแบบ ข้ามสายได้ ทำให้นักเรียนมีโอกาสได้สัมผัสและเข้าใจถึงความสำคัญของสาขาวิชาต่างๆ อย่างรอบด้านเพิ่มขึ้น
ควรเพิ่มการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีวศึกษาในระดับมัธยมปลายและอนุปริญญา และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในระดับอุดมศึกษา โดยต้องทำให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น และจำกัดการขยายตัวเชิงปริมาณของมัธยมสายสามัญและอุดมศึกษาสายสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ ซึ่งควรพัฒนาด้านเพิ่มคุณภาพด้วยเช่นกัน ควรมีทุนสนับสนุนให้นักเรียนที่รายได้ต่ำและเรียนดีพอสมควรได้เรียน อาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น แก้ไขปัญหานักเรียนอาชีวะบางส่วนเกเรและสร้างภาพพจน์ที่ไม่ดีอย่างเป็นระบบ ครบวงจร เร่งรัดเรื่องการจัดตั้งและการดำเนินงานของสถาบันวัดระดับฝีมือแรงงาน การฝึกอบรมยกระดับฝีมือและการผลักดันให้มีการจ่ายค่าตอบแทนแรงงานฝีมือที่ สูงขึ้นแบบประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อทำให้คนที่เรียนจบสายอาชีพที่เก่งมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง และก้าวหน้าในการงานได้ไม่ต่างไปจากคนจบสายสามัญศึกษา
การจะขยายการศึกษาการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีในระดับอุดมศึกษาให้ได้ผล ต้องไปช่วยพัฒนาการศึกษาด้านคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ในระดับประถมมัธยมให้น่า สนใจมีคุณภาพ/ประสิทธิภาพขึ้นด้วย การส่งเสริมให้นักเรียนตั้งแต่ ชั้นอนุบาล ประถมศึกษาได้สนใจเรียนรู้เรื่องธรรมชาติ สภาพแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีได้เรียนรู้แบบคิดวิเคราะห์เป็นเหตุเป็นผล ฝึกการทดลองทางวิทยาศาสตร์, การทำโครงการ, การศึกษาจากสภาพความเป็นจริงฯลฯ และ เพิ่มครูอาจารย์ที่เรียนมาทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยการให้เงินเดือนที่สูงขึ้น รับคนที่จบสายคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์มาเป็นครูโดยให้เข้ารับการฝึกอบรมจิตวิทยาและเทคนิคการสอน 6 เดือน รวมทั้งใช้สื่อการสอนทางด้านอิเล็คโทรนิกส์ การสร้างพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์, พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาและสาขาความรู้ต่างๆ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กเยาวชนประชาชนมีความสนใจความรู้ด้านวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคและจังหวัดขนาดใหญ่
การจัดการศึกษาที่จะช่วยให้นักเรียนนักศึกษามีความรู้และทักษะที่นำไปใช้ งานได้ในชีวิตจริง นอกจากจะเรียนรู้เรื่องวิชาพื้นฐานที่สำคัญแล้ว นักเรียนควรได้เรียนรู้วิธีที่จะอ่านค้นคว้า เรียนรู้ต่อด้วยตนเอง การมีไหวพริบปฏิภาณในการแก้ปัญหา การคิดอย่างสร้างสรรค์ ความรู้เรื่องการเป็นผู้ประกอบการและผู้นำ การมีวินัย ความกระตือรือร้นในการทำงาน มีความรู้ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ การสื่อสารที่ใช้งานได้ ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานและการดำรงชีวิตในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่มีการแข่งขันและการร่วมมือกันสูง
5) การปฏิรูปการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง
การศึกษาไม่ใช่สำคัญเฉพาะเด็กและเยาวชนในระบบโรงเรียนเท่านั้น แต่สำคัญสำหรับคนที่ทำงานแล้วด้วยไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เพราะโลกยุคปัจจุบันเป็นโลกที่เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วและสลับซับซ้อน ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่เรียกกันว่าเป็นระบบเศรษฐกิจยุคหลัง อุตสาหกรรม หรือระบบเศรษฐกิจที่ใช้ความรู้เป็นฐาน ต้องการแรงงานที่มีความฉลาดด้านการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างสร้างสรรค์ แก้ปัญหาได้ดี ปรับตัวได้ดี ติดต่อสื่อสารสัมพันธ์กับคนอื่นได้ดี มีความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคม มากกว่าแรงงานที่มีทักษะฝีมือแบบใดแบบหนึ่งเหมือนในยุคพัฒนาอุตสาหกรรมยุคแรกๆ
ดังนั้น ความสามารถของประชาชนที่จะรักการเรียนรู้และรู้จักวิธี ที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่นรู้จักหาแหล่งความรู้ อ่านหนังสือแตก เข้าใจจับประเด็นสำคัญได้ คิดวิเคราะห์ต่อประยุกต์ใช้เป็น เรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่มากสำหรับคนทำงานทุกคนในโลกยุคใหม่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่เป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้มีบทบาทรับผิดชอบการเลี้ยงดูที่ต้องมีความรู้ในการให้การศึกษาที่ดีแก่ เด็กและเยาวชน ดังนั้นการให้การศึกษาแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ในเรื่องการทำนุบำรุงเด็ก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์และช่วงวัยเด็กเล็กจะช่วยพัฒนาเด็กไทยได้พัฒนาสมองและ เรียนรู้ได้ดีขึ้น

การศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่องสำคัญมากยิ่งขึ้นในโลกปัจจุบันและ อนาคต เพราะเทคโนโลยีและเศรษฐกิจของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และงานต้องเรียนรู้อะไรใหม่เพิ่มเติมจึงจะสามารถรักษางานของตนหรือหางานใหม่ ได้ ทั้งการให้การศึกษาแก่พ่อแม่ผู้ปกครองให้พวกเขาเป็นคนสนใจการอ่าน การเรียนรู้ มีความรู้เพิ่มขึ้น พ่อแม่ ผู้ปกครองจะช่วยให้ลูกหลานของพวกเขาเรียนรู้ได้ดีขึ้นด้วย ผู้ใหญ่เองก็จะได้รับการพัฒนาให้เป็นพลเมืองที่มีความรู้และรับผิดชอบในการพัฒนาชุมชนและพัฒนาประเทศได้มากขึ้น
การศึกษาต่อเนื่องควรมีทั้งพัฒนาความรู้พื้นฐานและทักษะอาชีพที่เน้นใช้ การได้ เช่นการรู้จักดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ ความรู้เรื่องการเลี้ยงดูและสอนเด็กอย่างเข้าใจจิตวิทยาเด็ก ความรู้เรื่องสิทธิและหน้าที่พลเมือง การรู้วิธีจะที่เรียนรู้ด้วยตนเองต่อไป ความรู้เรื่องเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและสภาพแวดล้อม การสอนให้ลูกหลานเกษตรกรรู้จักทำการเกษตร วางแผนจัดการฟาร์ม ทำบัญชี การค้า ทำระบบสหกรณ์เป็น สอนลูกหลานคนงานและผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อยในเมืองในด้านวิชาชีพและความ รู้ความสามารถที่จะไปพัฒนาอาชีพของตนเองได้ เช่นการฝึกเป็นผู้ประกอบการ ฝึกให้ผู้เรียนคิดได้อย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาฯลฯ
ทั้งรัฐบาล ภาคธุรกิจเอกชน ภาคสังคมประชาหรือองค์กรประชาชนต่างๆ ควรที่จะช่วยกันส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่าน การใฝ่เรียนรู้ การค้นคว้าจากห้องสมุด อินเตอร์เน็ทและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ อย่าง เป็นอุปนิสัยอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่าย ต้นทุนต่ำ สำหรับประเทศไทยที่คนยังชอบการเรียนเพื่อได้วุฒิบัตรอยู่ อาจใช้วิธีสร้างแรงจูงใจให้คนไทยสนใจการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาวิทยาลัยและมหา วิทยาลัยออนไลน์ที่สอนวิชาต่าง ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ทและให้วุฒิบัตรแก่ผู้ที่สอบผ่านการประเมินผล วิทยาลัย มหาวิทยาลัย รวมทั้งโรงเรียนมัธยมปลาย โรงเรียนอาชีวศึกษา ควรจัดการศึกษาผู้ใหญ่, การศึกษาต่อเนื่องได้ด้วย ไม่ควรแบ่งงานตามกรมกองให้เฉพาะหน้าการศึกษานอกโรงเรียนหรือตามอัธยาศัยเป็น ผู้ผูกขาดทำเรื่องนี้เท่านั้น
คนที่รักการอ่านและเรียนรู้อยู่เสมอจะสนใจและรู้จักดูแลสุขภาพทั้งสุขภาพ กายและสุขภาพใจของตัวเองได้ดีกว่า การรักการเรียนรู้ จะช่วยให้คนไม่ล้าสมัย ไม่ตกงานและมีโอกาสจะทำงานได้ดีขึ้น และได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น และช่วยพัฒนาปัจจัยที่ช่วยทำให้คนเรามีชีวิตความสุข เช่นการสัมพันธ์เชื่อมโยงกันกับคนอื่นๆ ทักษะในการสื่อสาร การรู้สึกว่าตนเองมีปัญญาที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ควบคุมวิถีชีวิตของตนเองได้ดีขึ้น จะเป็นคนที่มีโอกาสจะมีสุขภาพดี ที่มีชีวิตที่มีความสุข และประสบความสำเร็จมากกว่า คนที่พอเรียนจบจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้อ่านหนังสือหรือเรียนรู้ ต่ออีกเลย
การวิจัยพบว่า คนสูงอายุที่ยังสนใจอ่านหนังสือ ติดตามข่าวสารความรู้ต่างๆ ฝึกใช้ความคิด สนใจเรียนรู้อะไรใหม่ สมองจะเสื่อมช้ากว่า สุขภาพทั้งกายและใจดีกว่าและชราภาพทางจิตใจช้าลงกว่า คนที่ไม่สนใจจะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เลย
6) ปฏิรูปอุดมศึกษาและการวิจัยพัฒนา
ควรมุ่งผลิตคนที่รักการอ่าน การค้นคว้า คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ได้ คิดอย่างมีเหตุผล มีข้อมูลและวิชาการเชิงประจักษ์ทดลอง พิสูจน์ได้ รู้วิธีเรียนรู้ต่อ วิธีการค้นคว้า วิจัยด้วยตนเอง เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาของไทยในปัจจุบันเติบโตเชิงปริมาณ มากกว่าคุณภาพ เป็นสถาบันที่สอนความรู้ทั่วไปและทักษะวิชาชีพจากตำรา เพื่อท่องจำและไปสอบ หรือฝึกทักษะภาคปฏิบัติบ้าง มากกว่าผลิตบัณฑิตที่เป็น ปัญญาชนที่มีทั้งความรู้ทักษะใช้งานได้และเข้าใจภาพใหญ่ความสัมพันธ์ของทุก สาขาวิชาในสังคม รวมทั้งมีจิตสำนึกเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบเพื่อส่วนรวม
ในแง่สาขาวิชา ควรเน้นการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปะสร้างสรรค์ สภาพแวดล้อมศึกษามากขึ้น ทั้งในแง่การวิจัยและการสอน เพราะปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาของไทยขยายตัวเชิงปริมาณด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ มากเกินไปและมีคุณภาพค่อนข้างต่ำ การวิจัยและการสอนด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก็สำคัญเช่นเดียวกัน แต่ต้องปฏิรูปให้มีคุณภาพแบบวิเคราะห์เจาะลึก มีมุมมองแบบพหุวิทยาการเข้าใจปัญหาความเชื่อมโยงของเรื่องทุกเรื่องใน สังคมอย่างเป็นระบบองค์รวม มากกว่าการเรียนรู้แบบแยกส่วน ที่เน้นการท่องจำจากตำราหรือ การฝึกทักษะสำหรับค้นคว้าวิจัย ควรเน้นเรื่องเศรษฐกิจการเมือง สังคมวัฒนธรรมไทยมากขึ้น โดยการเรียนรู้ทั้งจากภูมิปัญญาท้องถิ่น,          ภูมิปัญญาตะวันตกและประเทศอื่นๆมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสังคมไทย
6.4 สรุป
การปฏิรูปการจัดการศึกษาของรัฐบาลแบบเพิ่มโครงการต่างๆเป็นการมองและแก้ ปัญหาแบบแยกส่วนซึ่งจะช่วยพัฒนาคนบางกลุ่มได้บางจุดบางประเด็นเท่านั้น การปฏิรูปการศึกษาตามแนวนี้ยังติดอยู่ในกรอบความคิดของการมุ่งการคัดเลือก พัฒนาคนเก่งส่วนน้อยไปแข่งขันทางเศรษฐกิจในตลาดโลกด้านเดียว การปฏิรูปการศึกษาที่ถูกทางต้องจัดการศึกษาที่ดีเพื่อประชาชนทุกคน ให้ได้พัฒนาศักยภาพของแต่ละคนได้อย่างเต็มที่และสนองกับความต้องการที่แท้ จริงของประชาชนกลุ่มต่างๆ ได้ เช่น สอนให้ลูกหลานเกษตรกรรู้จักทำการเกษตร วางแผนจัดการฟาร์ม ทำบัญชี การค้า ทำระบบสหกรณ์เป็นการส่งเสริมคนที่เป็นพ่อแม่มีช่องทางทำมาหากินในท้องถิ่น ของตน โดยไม่ต้องอพยพไปหางานทำในเมือง เพื่อช่วยพัฒนาสถาบันครอบครัวและชุมชนให้เข้มแข็ง  มีการให้ความรู้และสอนลูกหลานคนงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อยในเมืองด้านฝึกอาชีพและพัฒนาอาชีพของตนเองได้ อย่างแท้จริง รวมทั้งการฝึกเป็นผู้ประกอบการ ฝึกคิดอย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหามากกว่าเน้นการเรียนวิชาสามัญแบบท่องจำอย่างที่ผ่านๆ มา ซึ่งคนที่เรียนจบไปแล้วคิดและทำอะไรไม่เป็น แถมยังมีทัศนคติแบบอยากทำงานสบายมากกว่างานที่ต้องทุ่มเทด้วย ส่วนการจัดการศึกษาให้คนเก่งได้พัฒนาศักยภาพสูงสุดในการศึกษาระดับสูงและใน การวิจัยและพัฒนา ก็ควรทำควบคู่กันไป
ประเด็นที่สำคัญ คือการมุ่งทำให้ประชาชนเข้าใจและตื่นตัวว่าการ จัดการศึกษาในประเทศไทยมีปัญหาถึงขั้นวิกฤติที่เป็นสาเหตุทำให้การพัฒนาทาง เศรษฐกิจสังคมของประเทศก้าวไปไม่ได้ ดังนั้นการปฏิรูปเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองครั้งใหญ่ให้มี ความเป็นประชาธิปไตยทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมแบบประชาชนมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น จึงเป็นทางออกถ้าไม่ต้องการให้การพัฒนาของประเทศตกต่ำมากไปกว่านี้ การ ปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงจะเกิดได้ต่อเมือเราช่วยกันทำให้ประชาชนและชุมชน ตื่นตัวเข้ามาช่วยกันเรียกร้องรณรงค์เรื่องการปฏิรูปการศึกษา จึงจะเกิดพลังมากพอที่จะผลักดันให้ผู้บริหารประเทศต้องดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้เกิดผลอย่างแท้จริง
ปัญหาอุปสรรคของการบริหารและการจัดการศึกษา
บท นี้กล่าวถึงปัญหาและอุปสรรคของการจัดการศึกษา โดยอาศัยการสรุปและสังเคราะห์จากรายงานการประเมินผลใน 5 ด้าน คือด้านการบังคับใช้กฎหมายปฏิรูปการศึกษา ด้านการปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งโดยภาพรวมและเขตพื้นที่การ ศึกษา ด้านการปฏิรูปการเรียนรู้และการประเมินคุณลักษณะของผู้เรียน รายงานประเมินผลเหล่านี้ จัดทำโดยทีมนักวิชาการชุดต่างๆภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานเลขาธิการสภาการ ศึกษา ผู้เขียนได้เลือกประเด็นข้อสรุปด้านปัญหาและอุปสรรคซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็น เรื่องสำคัญที่เราต้องตระหนักและพยายามปฏิรูปการศึกษาให้ดีขึ้น มาใช้เป็นแนวทางในการนำเสนอและขยายความสำหรับบทที่ 4 ดังต่อไปนี้คือ
4.1 การประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายปฏิรูปการศึกษา
สำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา สำนักเลขาธิการการศึกษาได้ทำรายงานผลการประเมินการบังคับใช้กฎหมายการศึกษาในรอบปี 254829 โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการจัดประชุมสัมมนา ได้ประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนเห็นว่ายังใช้อธิบายสภาวะการจัดการศึกษาในช่วงปี 2549 – 2550 ได้อยู่ เนื่องจากระบบการศึกษาไทยขึ้นอยู่กับระบบราชการที่ใหญ่โตเทอะทะการเปลี่ยน แปลงในทางที่ดีขึ้นนั้นได้ช้ามาก
1.การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
การ จัดการศึกษาที่กฎหมายระบุว่ารัฐต้องจัดให้เปล่าอย่างมีคุณภาพ 12 ปีอย่างทั่วถึง กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 78.9 เห็นว่ายังดำเนินการไม่ทั่วถึง ผลการดำเนินงานมีคุณภาพร้อยละ 70.5 และในเรื่องอัตรากำลังครูอาจารย์ที่ได้รับการจัดสรรจากส่วนกลาง ตลอดจนคุณวุฒิครู พบว่าร้อยละ 92.62 เห็นว่าอัตรากำลังครูที่ได้รับการจัดสรรจากส่วนกลางนั้นยังไม่สอดคล้องกับ ปริมาณงาน จำนวนนักเรียนและชั้นเรียนที่ต้องรับผิดชอบ
ด้าน การจัดบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายพบว่า ร้อยละ 36.8 ของกลุ่มตัวอย่างไม่พบการเก็บค่าใช้จ่าย และร้อยละ 63.2 พบว่ามีการเก็บค่าใช้จ่าย โดยเก็บเป็นค่าเรียนคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ ค่าไฟฟ้าสำหรับห้องคอมพิวเตอร์ และห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ ค่าจ้างครูสอนพิเศษในวิชานอกเหนือจากหลักสูตรอื่นๆ ค่ากิจกรรมการเรียนการสอนพิเศษ ค่าอุปกรณ์กีฬา และค่าบำรุง
2.สิทธิและโอกาสในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่มีความสามารถพิเศษ
นโยบาย การจัดการศึกษาให้แก่ผู้พิการได้ทั่วถึง พบว่าการดำเนินงานสามารถจัดได้อย่างทั่วถึงร้อยละ 65.8 ยังไม่ทั่วถึง 34.2 โรงเรียนส่วนใหญ่จัดการศึกษาให้ผู้พิการเฉพาะในระบบโรงเรียน ส่วนการจัดการศึกษาเพื่อให้เอื้อกับผู้เรียนที่ด้อยโอกาสเป็นพิเศษ ยังมีการดำเนินการน้อยมาก
3.การศึกษาภาคบังคับ
การ แจ้งให้ผู้ปกครองให้ได้ทราบล่วงหน้าก่อนเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 1 ปี พบว่ามีการดำเนินการแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของเด็กทราบก่อนเข้าเรียนใน สถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ร้อยละ 75.4 และไม่ได้แจ้ง 24.6 สาเหตุเนื่องจากการกำหนดเขตพื้นที่ความรับผิดชอบระหว่างสำนักงานพื้นที่การ ศึกษากับองค์กรปกครองท้องถิ่นเฉพาะโรงเรียนใหญ่ๆ ในพื้นที่เขตเมืองยังไม่ชัดเจน และเห็นว่าการแจ้งและไม่แจ้งมีผลไม่ต่างกัน การแจ้งเป็นภาระของเขตพื้นที่การศึกษา
4.การเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
กลุ่ม ตัวอย่างที่ตอบว่าสถานศึกษามีการจัดการการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็น สำคัญที่สุดมีร้อยละ 61.3 และร้อยละ 40.17 มีความเห็นว่าสถานศึกษาบางแห่งเท่านั้น ที่ยึดผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
โดย สรุปผลการดำเนินงานในหมวดซึ่งกำหนดให้มีการเรียนการสอนต้องยึดผู้เรียนมี ความสำคัญที่สุด ทั้งทางด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การส่งเสริม สนับสนุนสื่อเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้เต็มศักยภาพ ตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุนและกำกับในเขตพื้นที่การศึกษา ยังดำเนินการอยู่ในระดับร้อยละ 50-60 เท่านั้น
5.บทบาทอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพื้นที่การศึกษา
มี ผู้เห็นว่าหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาที่กำหนดใน กฎกระทรวงนี้เหมาะสมดีแล้ว ร้อยละ 70.5 และยังไม่เหมาะสมร้อยละ 29.5 อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่เห็นว่าควรสรรหาให้ได้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและกลุ่ม วิชาชีพอย่างแท้จริง และการเลือกประธานกรรมการ ควรให้กรรมการเลือกกันเอง
คณะ กรรมการพื้นที่การศึกษาที่ได้มักไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ บทบาทในการพัฒนาการศึกษา และมักสรรหาได้จากกลุ่มข้าราชการด้วยกันเอง ผู้แทนกลุ่มต่างๆ มักมีลักษณะกระจุกไม่กระจาย ควรให้มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาได้ปฏิบัติ หน้าที่ของตนได้ชัดเจน ขั้นตอนและวิธีการสรรหาควรโปร่งใส บริสุทธิ์ยุติธรรม ปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก
6.บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา
ร้อยละ 66.3 เห็นว่าหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการสถานศึกษาเหมาะสมดีแล้ว อย่างไรก็ตามการสรรหากรรมการสถานศึกษามักจะได้กรรมการที่ขาดความรู้ความเข้า ใจด้านการศึกษา และไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา หลายโรงเรียนสรรหาคณะกรรมการโดยการเชิญบุคคลมาสมัครเนื่องจากผู้แทนตาม กฎหมายนั้นหายาก กรรมการบางโรงเรียนมีภารกิจส่วนตัวมากไม่มีเวลาให้กับการพัฒนาการศึกษาของ โรงเรียน การกำหนดคุณสมบัติกรรมการแบบเฉพาะเจาะจงเกินไปทำให้สรรหาได้ยาก
เสนอ ให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาโดยให้โรงเรียนมีส่วนร่วม และควรให้มีการฝึกอบรมกรรมการสถานศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยว กับบทบาทหน้าที่ ให้เห็นความสำคัญและสามารถสละเวลามาปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มที่ ควรจัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครู/อาจารย์ในสถานศึกษา นอกจากนี้ กรรมการสถานศึกษา ควรได้รับการสนับสนุนค่าตอบแทนตามสมควร
7.การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว
การดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ
8.การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยสถานประกอบการ
การ ดำเนินงานในเรื่องสิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยสถานประกอบการ เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการได้ระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ กล่าวคือ มีความพร้อมในด้านการอำนวยความสะดวกในระดับ 66.9 มีการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยสถานประกอบการอยู่ในระดับร้อยละ 60.4
ใน ขณะที่พนักงาน/ลูกจ้าง ของสถานประกอบการมีความต้องการให้สถานประกอบการการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ในระดับร้อยละ47.60 และเห็นว่าสถานประกอบการมีความพร้อมในการจัดการศึกษาอยู่ในระดับร้อยละ 23.80 เท่านั้น
4.2การประเมินด้านการบริหารการจัดการศึกษา30
ปัญหาที่ยังคงอยู่คือ
1) ยังไม่มีการตระหนักถึงความสำคัญการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กเล็กอย่างมี คุณภาพ ทั้งที่การศึกษาวัยนี้สำคัญที่สุด เพราะสมองของเด็กเล็กพัฒนามากที่สุด และเป็นการวางรากฐานที่จะช่วยให้เด็กในช่วงอายุต่อๆไปเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาในช่วงปี 2549-2550 แม้จะสามารถจัดได้เป็นสัดส่วนต่อประชากรในวัยเดียวกันสูงขึ้นกว่าปี 2547 – 2548 แต่ก็มีปัญหาเรื่องครู/พี่เลี้ยงที่สอนระดับปฐมวัยส่วนใหญ่มักใช้ครูอัตรา จ้างที่มีคุณวุฒิต่ำ ไม่ได้จบการศึกษาและหรือได้รับการฝึกอบรมเรื่องการจัดการเรียนการสอนระดับ ปฐมวัยมา รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษามักไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาก่อนประถม ศึกษาเท่าที่ควร ดังจะเห็นได้ว่าหลายแห่ง จัดครูที่มีคุณภาพต่ำสุดเท่าที่มีอยู่ เช่น สุขภาพไม่ดี สูงอายุ เบี่ยงเบนทางเพศ ครูอัตราจ้าง มาสอนเด็กอนุบาล เพราะครูประจำการไม่ชอบสอน เนื่องจากงานดูแลเด็กเล็กเป็นงานที่ต้องใช้เวลาและความเอาใจใส่มาก และเพราะผู้บริหารครูส่วนหนึ่งคิดเอาง่ายๆว่าเด็กเล็กยังโง่อยู่ ให้ใครมาสอนก็ได้ ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด และการใช้ครูที่มีความรู้และวุฒิภาวะทางอารมณ์ต่ำ จะมีผลกระทบต่อการวางรากฐานไปตลอดชีวิต
2) เด็กในวัยเรียนอายุ 6-14 ปี ยังไม่สามารถเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับได้ครบทุกคน ซึ่งสาเหตุแรกเนื่องจากผู้ปกครองบางคนละเลยไม่ส่งบุตรหลานเข้าเรียน และไม่มีการติดตามว่าเป็นเรื่องที่ทำผิดกฎหมายที่ว่าพ่อแม่ต้องส่งเด็กทุกคน ให้เรียนการศึกษาภาคบังคับในฐานะพลเมืองของรัฐ สาเหตุต่อมาคือเกิดจากการออกกลางคันของเด็ก เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ การย้ายตามครอบครัวไปประกอบอาชีพอื่นๆแล้วไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนได้ ระบบการส่งต่อเด็กระหว่างโรงเรียนยังไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีระเบียบการรับนักเรียนที่ยุ่งยาก นอกจากนี้ยังมีสาเหตุเนื่องจากการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนยังไม่ตอบ สนองความต้องการของเด็กด้อยโอกาสและยากจน มีปัญหาเด็กเร่ร่อนที่ไม่ได้เข้าเรียน ฯลฯ
นอก จากกลุ่มเด็กวัยที่ควรได้เรียนภาคบังคับจะไม่ได้เรียนจำนวนมากพอสมควรแล้ว เด็กอายุ 15-17 ปี ที่ไม่ได้เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือออกกลางคันก็ยังมีสัดส่วนสูง ด้วยเช่นกัน
3) ผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลายยังนิยมเรียนประเภทสามัญศึกษามากกว่าสาย อาชีวศึกษาส่งผลให้สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาเพิ่มได้ไม่มาก ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง จะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานระดับกลางเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
4) ปัญหาสถานศึกษาอาชีวะส่วนใหญ่อยู่ในเมือง ไม่กระจายตัวไปในชนบท ทำให้เด็กในชนบทไม่สามารถเรียนได้ เนื่องจากการเดินทางเข้ามาเรียนในตัวเมืองทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง รวมทั้งสถานศึกษาอาชีวะเองก็ยังมีปัญหาภาพพจน์ว่า เด็กเกเร ชอบตีกัน ไม่ค่อยมีคุณภาพทำให้ผู้ปกครองที่มีค่านิยมอยากให้ลูกทำงานนั่งโต๊ะมากกว่า งานช่างหรืองานแรงงานอยู่แล้วไม่นิยมส่งลูกเข้าเรียนในอาชีวศึกษา ทั้งหมดนี้ทำจำนวนและสัดส่วนของผู้เรียนอาชีวะเพิ่มได้น้อย
5) การส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทั้งเด็กมีปัญหา เด็กปัญญาเลิศ ยังดำเนินการได้ไม่มากเท่าที่ควร ถึงแม้ว่ารัฐจะเขียนไว้ในนโยบายว่าให้ความสำคัญมากขึ้นก็ตาม เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบที่มีองค์ความรู้และงบประมาณพอเพียง ไม่มีการสำรวจจำนวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างแท้จริง ขาดองค์ความรู้ในการจัดการ ขาดเครื่องมือในการคัดกรอง ขาดบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรการสอน และการประสานเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงาน
6) การจัดทำกฎหมายเพื่อให้บุคคลและสถาบันทางสังคมต่างๆมีส่วนร่วมในการจัดการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ ยังดำเนินการล่าช้า ไม่มีการรณรงค์เรื่องความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาให้คนภายนอกสนใจ ทำให้การมีส่วนร่วมของบุคคลและสถาบันเหล่านี้ยังมีน้อย ทั้งเมื่อมีบุคคลภายนอกมาขออนุญาตจัดตั้งศูนย์การเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับหลักการการจัดการศึกษาและ การจัดทำแผนการจัดการศึกษาโดยบุคคลภายนอก ทำให้การดำเนินการล่าช้า
7) การขยายการรับนักเรียนนักศึกษาระดับและสาขาต่างๆเป็นไปตามความประสงค์และ ความพร้อมของสถานศึกษาต่างๆ เช่น โรงเรียนประถมศึกษาอยากขยายโอกาสในการรับนักเรียนชั้นประถมปลายเข้าเรียนต่อ ชั้นมัธยมต้น สถาบันอาชีวะอยากขยายเป็นปวส.และปริญญาตรีสถาบันอุดมศึกษามีครูอาจารย์ด้าน ไหนมากหรือคิดว่าสาขาไหนมีคนนิยมเรียนมาก ก็จะขยายสาขานั้นๆ ไม่ได้มีการประชุมวางแผนร่วมกันเพื่อที่สถาบันแต่ละแห่งจะผลิตด้านที่ตน ชำนาญให้มีคุณภาพมากกว่าจะเน้นปริมาณ สถาบันการศึกษาของรัฐไม่ควรขยายตัวทางปริมาณมากไป น่าจะเปิดทางให้สถาบันเอกชนบ้าง รวมทั้งควรมีการพิจารณาในระดับประเทศว่าควรขยายการรับนักเรียนนักศึกษาด้าน ที่ยังขาดแคลนด้านไหนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
8) ยังขาดความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษา สถานศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน ในทุกระดับการศึกษา
9) ยังขาดการปรับระบบการบริหารจัดการอาชีวะศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
10) การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ขาดการจัดระบบและจัดหมวดหมู่แหล่งเรียนรู้ และหน่วยงานที่ดำเนินการมีลักษณะต่างหน่วยงานต่างทำ ห้องสมุดในสถานศึกษาในระบบและสถาบันต่างๆยังไม่เปิดกว้างให้ประชาชนทั่วไป เข้ารับการบริการอย่างกว้างขวาง
11) สถานศึกษาในระบบยังไม่ได้รับการสนับสนุนและแรงจูงใจที่เพียงพอจากรัฐในการ จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้บริหารและครูคิดอยู่ในกรอบการทำงานตามภาระหน้าที่ขั้นต่ำในระบบ มากกว่าจะคิดถึงเป้าหมายในวงกว้างว่าสถานศึกษาที่ดีอยู่แล้วอาจช่วยให้ บริการประชาชนมีการศึกษาเพิ่มมากขึ้นได้ เหตุผลหนึ่งคือภาระงานการศึกษาในระบบก็มีมากอยู่แล้ว แต่เหตุผลใหญ่คือผู้บริหารและครูคิดในกรอบข้าราชการมากกว่าคิดในแง่นัก พัฒนา/นักปฏิรูปการศึกษาเพื่อคนทั้งหมด
12) การกำหนดกฎเกณฑ์ การดำเนินงานเทียบผลการศึกษาให้ผู้เรียนที่มีประสบการณ์เรียนนอกระบบ ตามอัธยาศัย หรือย้ายมาจากที่อื่น เป็นไปค่อนข้างล่าช้า เพราะเป็นเรื่องใหม่และนักบริหารครูอาจารย์คิดอยู่ในกรอบเก่ามากเกินไป สถาบันบางแห่งรวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาไม่ประสงค์จะรับเทียบโอนให้ผู้เรียนที่ มีประสบการณ์หรือย้ายมาจากที่อื่น เพราะต้องการให้ตั้งต้นลงทะเบียนเรียนใหม่ที่สถาบันของตนเอง ทำให้การจัดการศึกษาไม่คล่องตัวยืดหยุ่นในการส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นศูนย์ กลางอย่างแท้จริง
4.3 ปัญหาด้านการบริหารจัดการของเขตพื้นที่การศึกษา
แนว คิดในการปฏิรูปการศึกษาด้านบริหารจัดการแนวคิดหนึ่งที่ได้นำไปใช้แล้วคือ เปลี่ยนจากการบริหารแบบกระจายงานไปสู่สำนักงานประจำจังหวัดและอำเภอ (โดยแยกเป็นหน่วยที่ดูแลประถมและหน่วยที่ดูแลมัธยม) เป็นเขตการศึกษา 175 เขตที่ดูแลทั้งประถมมัธยมและการศึกษาอื่นๆแทน การเปลี่ยนแปลงแนวทางการบริหารดังกล่าว มีผลดีผลเสียอย่างไร น่าจะพิจารณาได้จาก การติดตามประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ที่มี 175 แห่งทั่วประเทศเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2548 ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้ทำไว้ ดังต่อไปนี้ 31
สำนัก งาน สพท. ที่มีความพร้อมในการบริหารจัดการและช่วยเหลือให้บริการสถานศึกษาได้ในระดับ ที่พึงพอใจมี 81 เขต มีความพร้อมพอสมควร 64 เขต ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 28 เขต และต้องมีการเปลี่ยนแปลง 2 เขต
ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารแบบเขตพื้นที่การศึกษาที่สำคัญคือ

1. จำนวนบุคลากร ในแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) มีความแตกต่างกันมาก ทั้งที่ภารกิจเหมือนกัน บุคลากรจะนิยมไปอยู่ที่ สพท.เขต 1 ในตัวจังหวัด ทำให้เขต 1 มักมีบุคลากรเกินกรอบอัตราที่กำหนด ส่วนเขตอื่นๆจะมีจำนวนบุคลากรน้อย ไม่เพียงพอในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแคลนศึกษานิเทศก์ที่สามารถนิเทศโรงเรียนมัธยมศึกษา ได้ ทำให้สพท.เขตอื่นๆ นอกจากเขต 1 ดำเนินงานตามภารกิจได้ไม่สมบูรณ์
2. ข้าราชการ กพ. ใน สพท. ขาดโอกาสในทุกเรื่อง และไม่ได้รับการพัฒนา ทำให้ขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน
3. สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (สพท.) 175 แห่ง มีบริบทที่ต่างกัน บางเขตมีโรงเรียนที่ต้องดูแลมาก ทำให้ดูแลได้ไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลจากสำนักงานเขต ทำให้การประสานงานและการติดต่อสื่อสารล่าช้า ผู้บริหารและครูต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายมาก (ปัญหานี้ได้มีผู้เสนอให้เพิ่มเขตพื้นที่การศึกษาเป็น 295 เขต)
4. การแบ่งบทบาท อำนาจหน้าที่ระหว่างสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งหน่วยงาน ส่วนกลางยังขาดความชัดเจน โดยยังคงมีการบังคับบัญชาจากส่วนกลาง มีการสั่งการมาก ซึ่งขัดกับหลักการกระจายอำนาจ และหนังสือสั่งการส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือด่วนที่สุดจากส่วนกลางให้สพท.ส่งต่อ ไปให้โรงเรียน โดยที่ทั้งสพท.และโรงเรียนไม่มีโอกาสบริหารจัดการเอง
5. การยุบเลิก หน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ ในระดับจังหวัดและอำเภอและจัดตั้งเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การเชื่อมโยงประสานงานกับหน่วยงานอื่นในระดับจังหวัดและอำเภอในการนำ นโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติค่อนข้างมีปัญหา
6. สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาที่ไม่ใช่เขต 1 ที่อยู่นอกตัวจังหวัดมักไม่มีความพร้อมทั้งในเรื่องอาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และบุคลากร โดย เฉพาะในจังหวัดที่มี 3 เขตขึ้นไป ทำให้สำนักงานเขตนอกตัวจังหวัดปฏิบัติงานได้ไม่เต็มที่ และไม่สามารถให้บริการแก่สถานศึกษาและครูในพื้นที่อย่างทั่วถึงและมี ประสิทธิภาพ
7. วัฒนธรรม องค์กรเดิมซึ่งบุคลากรส่วนหนึ่งที่เคยอยู่กับกรมสามัญศึกษาและส่วนหนึ่งเคย อยู่สำนักงานประถมศึกษายังผูกติดกับผู้บริหาร สพท. ทำให้วัฒนธรรมองค์กรของแต่ละ สพท. ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (เนื่องจากบุคลากรจากสำนักประถมมีมากกว่า จึงมักได้ตำแหน่งบริหารและทำให้บุลากรจากกรมสามัญศึกษาอึดอัดและเรียกร้อง ให้มีการเพิ่มเขตเพื่อดูและมัธยมศึกษาโดยตรง)
8. กรรมการเขต พื้นที่การศึกษาไม่มีบทบาท เนื่องจากมีการประชุมน้อยมาก ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ซึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการเป็นผู้กำหนดการประชุม บางแห่งประธานกรรมการเขตพื้นที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้อำนวยการเขต พื้นที่การศึกษา จึงเกิดปัญหาในทางปฏิบัติงาน คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษามีบทบาทเป็นเสมือนที่ ปรึกษาเท่านั้น การตัดสินใจอยู่ที่ผู้บริหาร คณะกรรมการบางท่านยังไม่เข้าในบทบาทของตนเอง ขาดความพร้อมและศักยภาพ
9. กฎหมายที่ เกี่ยวข้องต่างๆ ออกมาล่าช้า ระเบียบการปฏิบัติต่างๆ ก็ไม่ชัดเจน ทำให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินงานตามภารกิจได้ไม่สมบูรณ์ เช่น เรื่องการสนับสนุนส่งเสริมสถานศึกษารูปแบบต่างๆ
10. ผู้บริหารสถาน ศึกษามีความเห็นว่าการกระจายอำนาจให้สถานศึกษานั้นไม่ได้กระจายอำนาจอย่าง แท้จริง สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการเรื่องวิชาการและบริหารทั่วไปเท่านั้น ส่วนเรื่องงบประมาณและการบริหารงานบุคลากรสถานศึกษาไม่มีอำนาจในการบริหาร จัดการอย่างแท้จริง การสรรหา การคัดเลือก การพิจารณาความดีความชอบบุคลากร การลงโทษข้าราชการที่มีความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ยังขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่การศึกษา โดยสถานศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการเสนอความต้องการหรือความเห็นขึ้นไป ส่วนการโอนโยกย้ายบุคลากรภายในเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งอยู่ในส่วนกลาง ทำให้บ่อยครั้งโรงเรียนไม่ได้บุคลากรตรงกับความต้องการของโรงเรียน
• ด้าน งบประมาณ ถึงจะมีกฎหมายเปิดโอกาสให้สถานศึกษาในการแสวงหารายได้เพื่อนำมาใช้จัดการ ศึกษาได้เอง และสถานศึกษามีอำนาจในการปกครองดูแล บำรุงรักษาใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา แต่เนื่องจากสถานศึกษายังเป็นหน่วยงานราชการ จึงต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ คำสั่งของสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงการคลัง รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่นเดียวกับหน่วยงานทางราชการอื่นๆ ทำให้ไม่มีความคล่องตัวในทางปฏิบัติ รวมทั้งผู้อำนวยการรู้สึกยุ่งยากและเสี่ยงที่จะดำเนินการแบบใหม่ที่ต่างไป จากแบบเดิม

1. สถานศึกษา โดยเฉพาะสถานศึกษาขนาดเล็ก ขาดความพร้อมที่จะบริหารการเงินและบุคลากรได้ด้วยตนเอง เนื่องจากบุคลากรมีน้อย และมีความรู้ความเข้าใจยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับกฎระเบียบต่างๆทั้งด้านการเงิน การพัสดุ การบัญชี และการดำเนินการทางกฎหมาย รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษาเองถึงแม้จะได้รับการถ่ายทอดความรู้มาบ้าง แต่ก็มีอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ทราบว่ามีอำนาจบริหารจัดการในเรื่องต่างๆได้ มากน้อยเพียงใด
4.4 การประเมินด้านการปฏิรูปการเรียนรู้
การ ปฏิรูปการบริหารจัดการศึกษามีเป้าหมายจะให้ผู้บริหาร ครูอาจารย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้มีคุณภาพขึ้น ดังนั้นการประเมินด้านกระบวนการเรียนรู้และผลกระทบต่อผู้เรียน จึงเป็นเรื่องสำคัญ การติดตามประเมินผลด้านการปฏิรูปการเรียนรู้ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ32 ได้ข้อสรุปที่น่านำมาอธิบายขยายความต่อคือ
1.หลักสูตร
หลัก สูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 ที่ใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดการศึกษาและจัดทำหลักสูตรโดยสถานศึกษา มีปัญหาด้านครูไม่มั่นใจวิธีการการจัดทำหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ ครูไม่เคยดำเนินการมาก่อน ประกอบกับวิทยากรที่ไปให้ความรู้แก่ครูมีหลากหลายแนวคิด ทำให้ครูเกิดความสับสนในการดำเนินการ การจัดทำสื่อการสอน เนื้อหาในกลุ่มสาระที่มีมากเกินไป ควรมีการดำเนินการแก้ไขให้มีพี่เลี้ยงที่มีความชำนาญและมีความเข้าใจกับการ จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาในแต่ละท้องถิ่นอย่างแท้จริง เป็นผู้ให้คำแนะนำและช่วยเหลือเพื่อให้ครูสามารถดำเนินการได้ และอาจระดมกำลังเพื่อร่วมกันทำหลักสูตรท้องถิ่นกันในระดับจังหวัด และภูมิภาค ไม่ใช่ให้แต่ละสถานศึกษาทำหลักสูตรเอง ซึ่งมักใช้วิธีลอกเลียนกัน
2.การจัดการเรียนการสอน
ระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน มีปัญหาการขาดแคลนครู โรงเรียนมีครูไม่ครบชั้น ครูสอนไม่ตรงตามวุฒิ สาขาที่ขาดแคลนได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ หน่วยงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการเกลี่ยครูจากโรงเรียนที่มีครูเกินไปช่วย สอน และอนุมัติให้จ้างครูช่วยสอน หรือขอความช่วยเหลือจากสถาบันอุดมศึกษาให้นักศึกษามาช่วยสอน โดยมีการเทียบโอนหน่วยกิตการเรียนได้ ส่วนในระดับอุดมศึกษา และอาชีวศึกษา ยังขาดการเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ เป็นปัญหาในด้านความร่วมมือของสถานประกอบการ ซึ่งต้องเร่งขอความช่วยเหลือกันต่อไป
ควร มีโครงการที่มีการสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อส่งเสริมให้ให้มีการประสานความ ช่วยเหลือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก ในลักษณะของการส่งอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมาช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้ความช่วย เหลือด้านวิชาการแก่ครูในโรงเรียนอย่างทั่วถึง เนื่องจากโรงเรียนขนาดเล็กดำเนินงานปฏิรูปการเรียนรู้ได้น้อยกว่าโรงเรียน ขนาดกลางและขนาดใหญ่ อันเนื่องจากข้อจำกัดด้านอัตรากำลัง และสถานที่ตั้งห่างไกล
3.การวัดประเมินผลผู้เรียนและรับเข้าเรียนต่อ
ปัญหา ที่พบในทุกระดับและประเภทการศึกษา คือ การปรับเปลี่ยนวิธีการวัดประเมินผลผู้เรียนควรได้รับประเมินผลในหลายด้าน เช่น ความประพฤติ การทำกิจกรรม ควบคู่ไปกับการทดสอบความรู้ ซึ่งครูส่วนใหญ่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องการประเมินผลแบบใหม่ไปแล้ว แต่ยังมีปัญหาในการนำไปปฏิบัติ ดังนั้น คงต้องสนับสนุนส่งเสริมครูในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควรมีการติดตามผลการ ดำเนินงานเป็นระยะๆ นอกจากนี้ควรมีการทบทวนแบบฟอร์มต่างๆที่กำหนดให้สถานศึกษาจัดทำรายละเอียด เพื่อเป็นเอกสารแสดงผลการเรียนของนักเรียนซึ่งมีมากเกินไป การส่งเสริมการประเมินผลผู้เรียนแบบใหม่ต้องทำควบคู่ไปกับการการประเมินผล เพื่อรับผู้เรียนไปเรียนต่อในระดับสูงขึ้น โดยควรพิจารณาจากการประเมินผลหลายด้านมากกว่าการวัดโดยคะแนนการสอบ ให้สอดคล้องกันกับการประเมินผลแนวใหม่
4.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ICT เพื่อการเรียนรู้
นัก เรียนในระดับประถมศึกษายังได้รับการพัฒนาด้านการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี สารสนเทศน้อยกว่านักเรียนในระดับมัธยมและอุดมศึกษามาก จึงควรมีเร่งดำเนินการเพื่อให้นักเรียนประถมศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลได้รับโอกาสในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ การเรียนรู้เช่นเดียวกับนักเรียนในเมืองด้วย
5.การพัฒนาครูคณาจารย์ มีปัญหาทางด้านงบประมาณการสนับสนุนครู และการขาดการปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการผลิตครูทั้งในทางวิชาการและจิตวิทยา การสอน การขาดงบประมาณสำหรับส่งเสริมให้ครูได้ทำงานวิจัย และขาดการปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และช่วยให้ครูอาจารย์มีโอกาสขอตำแหน่งทางวิชาการเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ
ควร เร่งพัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้ เนื่องจากที่ผ่านมาแม้ว่าครูจะได้รับการอบรมบ่อยครั้ง แต่ครูจำนวนหนึ่งก็ยังปฏิบัติไม่ได้ และบางส่วนยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ ควรส่งเสริมและพัฒนาครูประจำการให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ รวมถึงวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ ควบคู่ไปกับการเร่งพัฒนาครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพทด แทนครูเก่า ซึ่งที่ผ่านมาถึงจะมีโครงการโดยเฉพาะก็ยังผลิตครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ได้น้อยมาก
6.การขาดแคลนครูอาจารย์ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีปัญหาการขาดแคลนครูค่อนข้างมากทั้งที่ขาดอยู่แล้วและมีผู้เกษียณโดยทาง ราชการตัดอัตราการให้บรรจุข้าราชการใหม่และลูกจ้างทำให้มีครูใหม่มาทดแทนไม่ เพียงพอ ส่วนในระดับอุดมศึกษา มีคณาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ รวมทั้งที่มีวุฒิปริญญาเอกเกษียณอายุเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ทุนการศึกษาต่อในระดับสูงมีค่อนข้างน้อย ดังนั้น จึงควรมีมาตรการทดแทนอัตรากำลังที่ขาดแคลนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น การจ้างครูอัตราจ้างในระยะสั้น ส่วนในระยะยาว ควรมีอัตรารองรับครูอาจารย์ในสาขาที่ขาดแคลน รวมทั้งมีการบรรจุครูอาจารย์ ทดแทนอัตราที่เกษียณหรือลาออกในแต่ละปีเป็นกรณีต่างหากจากระบบราชการโดยรวม ซึ่งปฏิบัติตามนโยบายมุ่งลดอัตรากำลังข้าราชการทั้งประเทศลง เพราะงานการศึกษาเป็นงานที่ต้องใช้บุคลากรโดยตรงและปัญหาครูอาจารย์ขาดแคลน เป็นปัญหาจริง ที่มีผลเสียหายร้ายแรงอย่างเห็นได้ชัดกว่างานราชการในกระทรวงอื่นๆที่อาจ ปรับตัวได้ดี
4.5 การประเมินคุณลักษณะของผู้เรียน
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ ได้ทำรายงานการประเมินการปฏิรูปการเรียนรู้ดับขั้นพื้นฐาน ผลลัพธ์ผู้เรียน 33ที่ผู้เขียนเห็นว่ามีประเด็นที่ว่าสนใจนำมาสรุปไว้ในที่นี้เพื่อประโยชน์ของการเรียนรู้ร่วมกันดังต่อไปนี้
1) ด้านความรู้ด้านวิชาการ 5 วิชา
จากการวัดความรู้ของผู้เรียนในด้านวิชาการ 5 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ พบว่า ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ความสามารถในวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษของผู้เรียนอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ30.51 และร้อยละ38.42 ตามลำดับ) วิชาภาษาไทย วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 47.09 และร้อยละ 47.53 ตามลำดับ) วิชาสังคมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ร้อยละ 58.23)
ส่วนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าความสามารถของผู้เรียนในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 30.17, 19.02และ 30.55 ตามลำดับ) วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 58.23)
2) การประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 4 ด้าน
จาก การวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ความรู้ วิชาการ ทักษะความคิด ทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะการทำงาน และคุณลักษณะการเป็นพลเมืองที่ดี พบว่าผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 คุณลักษณะเกือบทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 44.36 42.66 และ 49.67 ตามลำดับ) ยกเว้นด้านคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดี ที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ร้อยละ 58.75)
สำหรับผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้วิชาการอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 39.14) ด้านทักษะการคิดและด้านทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะการทำงานอยู่ในระดับ ปานกลาง (ร้อยละ 48.82 และ 47.66 ตามลำดับ) ในด้านลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดีค่อนข้างสูง (ร้อยละ 58.02)
3) ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามวิชาพบว่า ผู้เรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 44.66-66.10) มีคุณภาพพอใช้ทุกรายวิชา แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษมีผู้เรียนที่ต้องปรับปรุงเป็นจำนวนมาก (33.02, 38.30 และ 34.44 ตามลำดับ)
ผล การประเมินในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 (ร้อยละ 61.41-82.37) มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ทุกด้าน ส่วนผลการประเมินอยู่ในระดับดีมีเพียงเล็กน้อย (ร้อยละ5.28-26.47) โดยด้านลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดีมีมากที่สุด (ร้อยละ 26.47) อยู่ ในระดับต่ำที่สุดคือด้านทักษะความคิด (ร้อยละ 5.28) และพบว่าผู้เรียนที่คุณลักษณะที่พึงประสงค์ต้องปรับปรุงอย่างมาก (ร้อยละ 24.95) ในด้านทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะการทำงาน
สำหรับผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 44.58 -62.11) ในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ มีคุณภาพอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง ส่วนวิชาภาษาไทยและวิทยาศาสตร์ผู้เรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 72.68, 76.63) มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้
การประเมินในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่(ร้อยละ 51.30-69.85) มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ ทุกด้าน และอยู่ในระดับที่ดีมาก (ร้อยละ 46.02) ในด้านทักษะการคิด ส่วนด้านที่ต้องปรับปรุงที่มีสัดส่วนสูงคือด้านทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะการทำงาน (ร้อยละ 29.43)
ผล การประเมินงานวิจัยโดยรวม ผู้เรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงถึงร้อยละ 40-60 ระดับพอใช้ 20-40 และระดับดีร้อยละ 5-20 ส่วนการประเมินของกรมวิชาการ ผู้เรียนที่มีคุณภาพต้องปรับปรุงร้อยละ 10-40 ระดับพอใช้ร้อยละ 50-70 ระดับดีร้อยละ 10-20
4) การประเมินระดับโรงเรียน
จาก การประเมินคุณภาพระดับโรงเรียนพบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในด้านวิชาการความรู้ ทักษะการคิด ทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะการทำงาน โรงเรียนส่วนใหญ่คุณภาพอยู่ระดับที่ต้องปรับปรุงร้อยละ 90.00-98.13 ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และร้อยละ 91.94-99.19 ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3
มี เพียงด้านลักษณะความเป็นพลเมืองที่ดี ที่มีโรงเรียนอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงและระดับพอใช้ ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 43.75, 49.38 ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และร้อยละ 59.68, 36.29 ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3
กล่าว โดยสรุปก็คือ การปฏิรูปการศึกษายังประสบความสำเร็จในระดับจำกัด ไม่ว่าจะในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย การบริหารจัดการโดยรวม การบริหารจัดการของเขตพื้นที่การศึกษา การปฏิรูปการเรียนรู้และการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนและคุณลักษณะของผู้ เรียน เพราะการปฏิรูปการศึกษาต้องการการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพอย่างรอบด้านและ อย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพของผู้บริหาร ครูอาจารย์ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการปฏิรูประบบการเรียนรู้
ข้อมูลหมายถึง ความหมายของข้อมูล

9 months ago Eduzones PR News
Follow
ชม 36,620 ครั้ง


1.ข้อมูลหมายถึงอะไร
        ข้อมูล (Data)   หมายถึง   ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่
 ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล    ซึ่งข้อมูลอาจจะ
 ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะ
 ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น          
       สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ
 เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน  เป็นต้น  เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไป
 ห้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหตือตอบ
 ปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ใน
 รูปที่มีความหมาย  สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ข้อมูลที่เราพบเห็นทุกวันนี้ มีหลายรูปแบบ   เช่นเป็นตัวเลข    ข้อความ   รูปภาพ  เสียงต่าง ๆ  เราสามารถรับรู้ข้อมูลได้จากส่วนต่าง ๆ  ดังนี้
1.การรับรู้ข้อมูลทางตา    ได้แก่ การมองเห็น   เช่นข้อมูลภาพ     จากหนังสือ   โทรทัศน์   เป็นต้น
2.การรับรู้ทางหู    ได้แก่  การได้ยินเสียงผ่านเข้ามาทางหู   เช่น  ข้อมูลเสียงเพลง   เสียงพูด เสียงรถ เป็นต้น
3.การรับรู้ทางมือ  ได้แก่   การสัมผัสกับข้อมูล  เช่น  การจับเสื้อผ้าแล้วรู้สึกว่านุ่ม เป็นเนื้อผ้าเป็นต้น
4.การรับรู้ทางจมูก   ได้แก่  การได้กลิ่น   เช่น  หอมกลิ่นอาหาร  กลิ่นดอกไม้  กลิ่นขยะ เป็นต้น
5.การรับรู้ทางปาก   ได้แก่  การรู้สึกถึงรส  โดยการสัมผัสทางลิ้น  เช่น  เผ็ด  หวาน  ขม  เป็นต้น
ชนิดของข้อมูลแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้ 

1. ข้อมูลตัวเลข จะประกอบด้วยตัวเลขเท่านั้น  เช่น   145 ,  2468  เป็นต้น มักจะนำมาใช้ในการคำนวณ
2.  ข้อมูลอักขระ  ประกอบด้วย ตัวอักษร  ตัวเลข  และอักขระพิเศษหรือเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ เช่น บ้านเลขที่  13/2  เป็นต้น  ถ้ามีตัวเลขประกอบ จะมิได้นำมาคำนวณ
3. ข้อมูลภาพ  รับรู้จากการมองเห็น  เช่น ภาพดารา  ภาพสัตว์ต่าง ๆ
4. ข้อมูลเสียง  รับรู้จากทางหูหรือการได้ยิน  เช่นเสียงพูด เสียงเพลง เป็นต้น

ข้อมูลมีประโยชน์มากมายดังนี้
1.  ด้านการเรียน เช่น ข้อมูลที่ได้จาก โทรทัศน์   วิทยุ หนังสือพิมพ์  มาใช้ประโยชน์ในการเรียนได้  เป็นข้อมูลหรือความรู้เพิ่มเติม
2. ด้านการติดต่อสื่อสาร เช่น  ถ้าเรามีข้อมูล  เราสามารถที่จะสนทนาพูดคุย  หรือบอกเรื่องต่าง ๆ ให้กับผู้อื่นได้
3. ด้านการตัดสินใจ   เป็นการใช้ช่วยให้เราตัดสินใจต่าง ๆ ได้ดีขึ้น  เช่น  การเลือกซื้อของเล่น  ถ้าเราทราบราคาของเล่น  ในแต่ละร้าน  จะทำให้เราเลือกซื้อของเล่นที่เหมือนกันได้ในราคาที่ถูกที่สุด

ความหมายของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยี (Technology) คําว่าเทคโนโลยีโดยทั่วไปมักจะมี
ความหมายเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหรือทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ เช่น เทคโนโลยีหมาย
ถึงการประกอบวัตถุ เป็นอุตสาหกรรม วิชาช่างอุตสาหกรรม การนําเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทาง
ปฏิบัติ (สอเสถบุตร 2536: 148)

เทคโนโลยี (Technology) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คือ Texere หมายถึง
to weave หรือ construct ซึ่งไม่เกี่ยวกับเครื่องจักรกลอย่างที่คิดกันในปัจจุบัน แต่หมายถึง
practical art ที่ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ช่วย (ประหยัด จิระวรพงศ์ 2522: 8)
เทคโนโลยีหมายถึง การนําเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในวงการต่างๆ หรือ
มาใช้ในงานสาขาต่างๆ และเมื่อนํามาใช้แล้วทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบต่างๆด้วยกัน
(ก่อสวัสดิพาณิชย์ 2517:83)

คาร์เตอร์ วี กูด (Carter V. Good) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ 5 ความหมายดังนี้
(1)  ระบบทางวิทยาศาสตร์  ที่ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิค 
(2)  การนําเอาวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทางการปฏิบัติงาน
(3) การ จัดระบบของข้อเท็จจริง และหลักเกณฑ์ ให้เป็นที่ยอมรับเพื่อจุดประสงค์ในทางปฏิบัติ และรวมถึงหลักการต่างๆที่ทำให้เกิดผลทางการเรียน
(4) ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และวิธีระบบที่ใช้ในด้านอุตสาหกรรมศิลป์ เพื่อการนําไปประยุกต์ใช้ในโรงงานต่างๆ
(5) การนําความรู้ทางตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ทําให้เกิดการพัฒนาทางวัตถุ
(Carter V. Good 1973)
โดยสรุป เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เทคนิค วิธีการ เพื่อใช้ในการพัฒนา
งานให้บรรลุวัตถุประสงค์ อย่างมีประสิทธิภาพ

ความหมายของสื่อสาร การสื่อสารเป็นกระ บวนการที่เริ่มจาก ผู้ส่งสาร ส่งสาร
ผ่าน ช่องทางไปยังผู้รับสาร ในลักษณะที่เป็นปฏิสัมพันธ์ สื่อสาร เป็นกระบวนการส่งหรือถ่ายทอดเนื้อหาสาระเป็นเรื่องราว ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็นความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ ค่านิยม และทักษะความชํานาญ ต่างๆ จากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยอาศัยสื่อและช่องทางต่างๆเป็นทางผ่าน (ทิพย์เกสร บุญอําไพ 2537: 2)

สื่อสาร เป็นกระบวนการส่ง และถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ประสบการณ์ ความ
คิดเห็น ความรู้สึก อารมณ์ ความสนใจ ทัศนคติ ค่านิยม และทักษะความชํานาญ จากผู้ส่งไปยัง
ผู้รับ (เสน่ห์ จุ้ยโต 2536: 105)
สื่อสาร เป็นระบบการถ่ายทอด และแลกเปลี่ยน เนื้อหาสาระ ประสบการณ์
ความคิดเห็น ความรู้สึก อารมณ์ ความสนใจ ทัศนคติ ค่านิยม ตลอดทั้งทักษะและความชํานาญ
ระหว่างผู้ส่ง กับ ผู้รับ โดยมีวัตถุ ปรากฏการณ์ สถานการณ์ หรือสัญลักษณ์ เป็นสื่อกลางในการถ่าย
ทอดและแลกเปลี่ยน สารที่ต้องการจะสื่อ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร (นิคม ทาแดง 2531: 35)

จากความหมายของผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้ให้ไว้ข้างต้น สามารถประมวลแนวคิดได้
ดังนี้คือ สื่อสาร หมายถึง เป็นกระบวนการที่เริ่มจากการถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสาร จากผู้ส่ง ไปยังผู้รับโดยอาศัยสื่อหรือช่องทางต่างๆ ทําให้เกิดความเข้าใจและเป็นแบบปฏิสัมพันธ์
ความหมายของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หลายมหาวิทยาลัยยังคงใช้
คําว่าภาควิชาสื่อการศึกษา (Education Media) กันอยู่ สมาคมหลักทางเทคโนโลยีการศึกษาของ
สหรัฐอเมริกานําเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามาคู่กันเป็น "สมาคมสื่อสาร และเทคโนโลยีการศึกษา"(Association of Educational Communication and Technology AECT) อย่างไรก็ตามการใช้สื่อสารการศึกษานําหน้าเทคโนโลยีการศึกษา แสดงให้เห็นจุดเน้นของ AECT ว่ามุ่งเอาการศึกษาเป็นแกน แต่ในประเทศไทย ภาควิชาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีการศึกษานํา "สื่อสารการศึกษา" เพื่อแสดงให้เห็นจุดเน้นที่จะถือเอา "เทคโนโลยีการศึกษา" เป็นหลัก (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ 2527: 129)


เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการถ่ายทอดสาระ
ระหว่างผู้รับและผู้ส่ง (ปรีชา วิหคโต 2536: 11) เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หมายถึง การประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการแนวความคิด อุปกรณ์ และเครื่องมือใหม่ๆมาใช้เพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้านขยายงาน(Quantitative Measure) และด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน (Qualitative Measure) (วิจิตร ศรีสะอ้าน 2517: 98)

จากความหมายของผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้ให้ไว้ข้างต้น สามารถ วิเคราะห์ สังเคราะห์
ดัง นี้คือ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หมายถึง ระบบการถ่ายทอดสาระ ให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือมาใช้ในการแก้ปัญหาทางการศึกษา ดังนั้น ศูนย์บริการทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จึงหมายถึง องค์กรที่ทำหน้าที่ ผลิต และบริการสื่อการเรียนการสอนและการสื่อเพื่อใช้ในการเผยแพร่ โดย ใช้ระบบการถ่ายทอดสาระ ให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการประยุกต์เทคนิค วิธีการ แนวคิด อุปกรณ์และเครื่องมือมาใช้ในการพัฒนา และแก้ปัญหา
การ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และนักเรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น คำถามคือ ครูจะมีวิธีการหรือเทคนิคที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆ ได้อย่างไร ผู้เขียนเคยได้รับข้อมูลที่แสดงให้รู้ว่าครูทั่วไปยังเข้าใจคลาดเคลื่อน เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเข้าใจว่า การให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเอง คือ
การปล่อยให้ผู้เรียน เรียนรู้กันเองโดยที่ครูไม่ต้องมีบทบาทอะไร หรือใช้วิธีสั่งให้ผู้เรียนไปที่ห้องสมุด อ่านหนังสือกันเองแล้วเขียนรายงานมาส่งครู ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แม้ว่าการให้การเรียนรู้เกิดขึ้นที่ตัวผู้เรียน เป็นลักษณะที่ถูกต้องของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาได้เองนั้นเป็นเรื่องยาก ครูจึงต้องมีหน้าที่เตรียมจัดสถานการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ นำทางไปสู่การเรียนรู้ โดยไม่ใช้วิธีบอกความรู้โดยตรง หรือถ้าจะจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้โดยใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูล ครูจะต้องสำรวจให้รู้ก่อนว่า ภายในห้องสมุดมีข้อมูลอะไรอยู่บ้าง อยู่ที่ใด จะค้นหาอย่างไร แล้วจึงวางแผนสั่งการ ผู้เรียนต้องรู้เป้าหมายของการค้นหาจากคำสั่งที่ครูให้ รวมถึงการแนะแนวทางที่จะทำงานให้สำเร็จ และในขณะที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ ครูควรสังเกตการณ์อยู่ด้วย เพื่ออำนวยความสะดวก หรือเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการ หรือปัญหาการเรียนรู้ของ ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อนำข้อมูลนั้นมาปรับปรุง การจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อไป
          ปัญหาความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนดังกล่าว อาจเกิดมาจากครูยังไม่เข้าใจเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลที่เป็นความเข้าใจเบื้องต้น จึงขอกล่าวถึงเทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3 ประเด็นคือ
1. เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง
                    2. เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับคนอื่น และ
                    3. เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          ถ้าพิจารณาจากส่วนประกอบของโมเดล CIPPA แล้วจะพบว่ามิได้กล่าวถึง เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการและใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายในการเรียนรู้ไว้ด้วย เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวสามารถแทรกอยู่กับกิจกรรมทั้งสามส่วนที่จะกล่าวต่อไปนี้
สื่อการเรียนการสอน หมาย ถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพประเภทของสื่อการเรียนการสอนสื่อ การเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
.......1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
.......2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
.......3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ การฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
.......4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)
เขียนโดย ooh_lively ที่ 11:35 ไม่มีความคิดเห็น:
..............สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามประสบการณ์
 .......1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือ ความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง
....... 2. ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตราย ไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า
.......3. ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น
.......4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้ อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดย ตลอด
.......5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียน ได้เรียนจากของจริง
 .......6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง
.......7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟัง อย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์
.......8. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย
.......9. ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้า ใจได้รวดเร็วขึ้น

.......10. วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตาม เราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา
เขียนโดย ooh_lively ที่ 11:27 ไม่มีความคิดเห็น:
สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติ
.......Wilbure Young ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้

....1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ
....2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ
....3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
....4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายสไลด์
....5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯ


.......สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามรูปแบบ

(Form)Louis Shores ได้แบ่งประเภทสื่อการสอนตามแบบไว้ ดังนี้
....1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ
....2 วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ ( Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ
....3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ
....4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง

 ........สื่อการเรียนการสอนตามลักษณะและการใช้
....1. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware)
....2. วัสดุ (Software)
....3. เทคนิคหรือวิธีการ (Techinques or Methods)


เขียนโดย ooh_lively ที่ 11:16 ไม่มีความคิดเห็น:

คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน

.........1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
....1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ
....1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
....1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
....1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
....1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
เขียนโดย ooh_lively ที่ 11:10 ไม่มีความคิดเห็น:

............2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
....2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
....2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
....2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
....2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
....2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
....2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
....2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
....2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
....2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
....2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
....2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
เขียนโดย ooh_lively ที่ 11:07 ไม่มีความคิดเห็น:



 .
คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน
.......1. สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่าง กันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
....... 2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
.......3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
.......4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
.......5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
.......6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
.......7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
.......8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม เขียนโดย บุษบง เชียงล้ำ ที่ 7:39 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น
ทที่ 2 จิตวิทยาการรับรู้ การเรียนรู้และจิตวิทยาพัฒนาการ





การรับรู้ เป็นกระบวนการแปล ความหมายระหว่างประสาทสัมผัสกับระบบประสาทของมนุษย์ ที่ใช้อวัยวะ รับ สัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้ส่วนของประสาทสัมผัสในอวัยวะนั้น ส่งผลเชื่อมโยงไปยังสมอง และสมองจะถอดรหัสนั้นไปยังระบบประสาท ทำให้เกิดการรับรู้และรู้สึกจิตวิทยาการรับรู้ เป็นเหตุการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์สมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิตแต่ไม่ใช่จิตทั้งหมดจิตวิทยาการเรียนรู้การเรียนรู้ เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้

เขียนโดย ooh_lively ที่ 11:52 ไม่มีความคิดเห็น:




 ................องค์ประกอบของการเรียนรู้
........1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
........2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
........3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
........4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้นพฤติกรรมการเรียนรู้จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น3 กลุ่ม
 ........4.1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
........4.2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
........4.3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงาน
เขียนโดย ooh_lively ที่ 11:45 ไม่มีความคิดเห็น:

............การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
.....ใน การสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
.......1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
.......2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ
.......3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยากจิตวิทยาพัฒนาการ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
.................การสื่อความหมาย คือ การถ่ายโยงความคิดหรือความรู้สึกให้เห็นพ้องต้องกันของบุคคลหนึ่งไปยัง บุคคลหนึ่ง โดยผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การพูดคุย กริยา ท่าทาง การแสดงสีหน้า ภาษาเขียน ภาษาภาพองค์ประกอบของการสื่อความหมาย
.........1. ผู้ส่ง อาจเป็นเพียง 1 คน หรือกลุ่มคนก็ได้ ซึ่งเป็นผู้นำเรื่องราวข่าวสาร เพื่อส่งไปยังผู้รับ โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งในการเข้ารหัสเพื่อให้ผู้รับเข้าใจ

 .........2. สาร เนื้อหาของสารหรือสาระของเรื่องราวที่ส่งออกมา
 .........3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร ได้แก่ ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดเหตุการณ์ บทเรียน ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดอาจเป็นภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษามือ และภาษากายก็ได้

 .........4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้รับข่าวสารเรื่องราวต่างๆจากผู้ส่ง
.........5. ผล ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารของผู้รับ ซึ่งผู้รับจะเข้าใจข่าวสารมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสิ่งที่ใช้ในสถานการณ์ และทัศนคติของผู้รับในขณะนั้น
.........6. ข้อมูลย้อนกลับ ได้แก่ การแสดงกิริยาตอบสนองของผู้รับต่อข้อมูลข่าวสารให้ผู้ส่งรับรู้การสื่อความหมาย จำแนกเป็น 3 ลักษณะ

.....1. วิธีการของการสื่อความหมายวจนภาษา หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษาพูดอวจนภาษา หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษากาย ภาษาเขียน และภาษามือการเห็นหรือการใช้จักษุสัมผัส หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษาภา
.....2. รูปแบบการสื่อความหมายการสื่อความหมายทางเดียว เช่น การสอนโดยใช้สื่อทางไกลระบบออนไลน์การสื่อความหมายสองทาง เช่น การคุย MSN การคุยโทรศัพท์ การเรียนการสอนในชั้นเรียน
.....3. ประเภทของการสื่อความหมาย
.....การสื่อความหมายในตนเอง เช่น การเขียน การค้นคว้า การอ่านหนังสือ
.....การสื่อความหมายระหว่างบุคคล เช่น การคุยโทรศัพท์ การคุย MSN
.....การสื่อความหมายกับกลุ่มชน เช่น ครูสอนนักเรียน การบรรยายของวิทยากรกับผู้เข้าอบรม
.....การ สื่อความหมายกับมวลชน เช่น การแถลงข่าวทางวิทยุ โทรทัศน์การเรียนรู้กับการสื่อความหมายความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีและหลักการ ของการสื่อความหมาย ที่ประกอบด้วยผู้ให้ความรู้(ผู้ส่ง) เนื้อหาวิชา(สาร) ผู้เรียน(ผู้รับ)
.องค์ประกอบทีสำคัญในการเรียนการสอน



 
คือสิ่งที่นำไปประกอบการเรียน การสอน การออกแบบสื่อ องค์ประกอบทีสำคัญในการเรียนการสอน คือสิ่งที่นำไปประกอบการเรียนการสอนลักษณะการออกแบบที่ดี
........1. ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้

........2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไป งานและกระบวนการผลิต
........3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
........4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น
เขียนโดย ooh_lively ที่ 12:26 ไม่มีความคิดเห็น:

..................ปัจจัยพื้นฐานของการออกแบบสื่อการสอน
.........1. เป้าหมายของการเรียนการสอนพฤติกรรมด้านพุทธพิสัย แสดงว่าได้เกิดความรู้และสามารถอธิบายวิเคราะห์ได้พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย เป็นทักษะในการเคลื่อนไหวลงมือทำงาน หรือความว่องไวในการแก้ปัญหาพฤติกรรมด้านจิตพิสัย แสดงความรู้สึก อารมณ์ที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้และสภาพแวดล้อม
.........2. ลักษณะของผู้เรียน เนื้อหาและรายละเอียดของสื่อย่อมแปรตามอายุ และความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
.........3. ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อลักษณะผู้เรียน- การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะการบรรยาย สาธิต- การสอนกลุ่มเล็ก- การสอนเป็นรายบุคคลสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ
.........4. ลักษณะสื่อ- ลักษณะเฉพาะตัวของสื่อ- ขนาดมาตรฐานของสื่อ
เขียนโดย ooh_lively ที่ 12:22 ไม่มีความคิดเห็น:

วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน

.........เป็น วิธีการนำเอาผลที่ได้(ข้อมูลย้อนกลับ)จากการผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นระบบการเรียนการสอน
.......1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสอดคล้องกัน
.......2. พิจารณาพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน
.......3. ขั้นการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี
.......4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน
.......5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน
เขียนโดย ooh_lively ที่ 12:19 ไม่มีความคิดเห็น:

ชนิด ประเภท และข้อดีข้อเสียของสื่อเพื่อการเรียนรู้
 เมื่อ อาทิตย์, 20/05/2012 - 16:52 | แก้ไขล่าสุด อาทิตย์, 20/05/2012 - 17:41| โดย   swk35692
ชนิดของสื่อเพื่อการเรียนรู้
1.การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย
2.การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
3.นิทรรศการ การจัดแสดงสิ่งต่างๆเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม
4.โทรทัศน์และภาพยนตร์ ได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่ และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย
5.ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้
6.ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนภูมิแผนภาพ แผนที่ แผนผัง การ์ตูน เป็นต้น ถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น
7.วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา
ประเภทของสื่อเพื่อการเรียนรู้
1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ  และสถานการณ์จำลอง
4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์  ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation)
การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)
เปรียบเทียบข้อดี(จุดเด่น)และข้อจำกัด(ข้อเสีย)ของสื่อเพื่อการเรียนรู้
ข้อดี
1.ช่วยเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
2.ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก
3.สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
4.ง่ายต่อการใช้งาน
5.ช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน เท่านั้น
6.สามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้ ทุกระดับอายุ และความรู้
ข้อจำกัด
1.อาจเสียค่าใช้จ่ายมาก
2.การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพเหมาะสมตามหลักทางจิตวิทยา
และการเรียนรู้นับว่ายังมีน้อย
3.การออกแบบสื่อต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง
4.มีตัวแปรที่เป็นปัญหานอกเหนือจากการควบคุมมาก เช่น ไฟฟ้าขัดข้อง ระบบ Server เป็นต้น
5.เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ทำให้ผู้ผลิตสื่อมัลติมีเดียต้องหาความรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเสมอ
6.ต้องการทีมงานที่มีความชำนาญในแต่ละด้านเป็นอย่างมาก
แหล่งอ้างอิง:
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=free4u&month=11-2008&date=23&group=62&gblog=13 // http://sayan201.blogspot.com/

องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง

3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
ข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)
องค์ประกอบพื้นฐาน
หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น

about a year agominimalism
Follow

ชม 3,529 ครั้ง

ประเภทของการสื่อสาร การจําแนกประเภทของการสื่อสารสามารถจําแนกได้หลายลักษณะตามเกณฑ์และวัตถุ ประสงค์ที่จะนํามาพิจารณา โดยทั่วไปสามารถจําแนกประเภทของ การสื่อสารตามเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้

1. จําแนกประเภทตามเกณฑ์จํานวนผู้สื่อสาร จําแนกได้ 5 ประเภท คือ
1.1 การสื่อสารภายในตัวบุคคล เป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในตัวของบุคคล เดียว กล่าวคือบุคคลเดียวทํา หน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น การพูดกับตนเอง การร้องเพลงฟังคน เดียว การฝึกอ่านทํานอง เสนาะ การบันทึกอนุทิน เป็นต้น
1.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นการสื่อสารที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป สื่อสารกันโดยเป็นทั้งผู้ส่งและผู้ รับสลับกันไป การสื่อสารประเภทนี้ถือได้ว่าเป็นการสื่อสารในลักษณะกลุ่มย่อย ที่ทุกคนสามารถได้ แลกเปลี่ยนสารกันได้โดยตรง เช่น การพูดคุยกัน การสอนหนังสือในกลุ่มย่อย การประชุมกลุ่มย่อย การเขียนจดหมายโต้ตอบกัน เป็นต้น
1.3 การสื่อสารกลุ่มใหญ่ เป็นการสื่อสารกับคนจํานวนมากซึ่งอยู่ในที่เดียวกันหรือ ใกล้เคียง สมาชิกใน กลุ่มไม่สามารถทําหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารกันได้ทุกคน เช่น การบรรยายในที่ ประชุม การ สอนหนังสือในห้องเรียน การกล่าวคําปราศรัย การพูดหาเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น
1.4 การสื่อสารในองค์การ เป็นการสื่อสารระหว่างสมาชิกขององค์การ หรือ หน่วยงาน โดยเนื้อหาของสาร และวัตถุประสงค์ในการสื่อสารเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภารกิจและงานขององค์การ หรือหน่วยงาน เช่น การ สื่อสารในบริษัท การสื่อสารในหน่วยราชการ การสื่อสารในโรงงานอุตสาหกรรม เป็น ต้น
1.5 การสื่อสารมวลชน เป็นการสื่อสารที่มีไปยังประชาชนจํานวนมากพร้อมกัน หรือ ในเวลาใกล้เคียงกัน และอยู่กระจัดกระจายกันในที่ต่าง ๆ ดังนั้นการสื่อสารประเภทนี้จึงมีความซับซ้อน จํา เป็นต้องอาศัย สื่อที่เป็นสื่อมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์ เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
2. จําแนกประเภทตามเกณฑ์การใช้ภาษา จําแนกได้ 2 ประเภท คือ
2.1 การสื่อสารที่ใช้ภาษาถ้อยคํา หรือการสื่อสารเชิงวัจนภาษา ได้แก่ การสื่อสารที่ใช้ ภาษาพูดและภาษา เขียน เช่น การพูดบรรยาย การอภิปราย การเขียนหนังสือ เป็นต้น
2.2 การสื่อสารที่ไม่ใช่ภาษาถ้อยคํา หรือการสื่อสารเชิงอวัจนภาษา ได้แก่ การสื่อสาร ที่ใช้อากัปกริยาท่า ทาง หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น กริยาอาการ สิ่งของ เวลา ร่างกาย สถานที่ น้ำเสียง เป็นต้น
3. จําแนกประเภทตามเกณฑ์การเห็นหน้ากัน จําแนกได้ 2 ประเภท คือ
3.1 การสื่อสารแบบเผชิญหน้า หรือการสื่อสารทางตรง เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสาร และผู้รับสารอยู่ใน ตําแหน่งที่สามารถมองเห็นกัน โต้ตอบซักถามกันได้ทันทีทันใด และมองเห็นอากัปกริยาซึ่ง กันและกัน ได้ เช่น การสนทนากัน การเรียนการสอนในห้องเรียน การประชุมสัมมนาเป็นต้น
3.2 การสื่อสารแบบไม่เห็นหน้า หรือการสื่อสารทางอ้อม เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่ง สารอยู่ในตําแหน่งที่ต่างกัน ทั้งสถานที่และเวลาไม่สามารถสังเกตกริยาท่าทางของฝ่ายตรงกันข้ามต้องใช้เครื่องมือเข้ามาช่วย เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ จดหมาย หนังสือพิมพ์ โทรเลข อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
4. จําแนกประเภทตามเกณฑ์ความแตกต่างระหว่างผู้รับสารกับผู้ส่งสาร จําแนกได้ 3 ประเภท คือ
4.1 การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างเชื้อชาติ กัน ดังนั้นการสื่อสาร ประเภทนี้ผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องศึกษาภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ของผู้ที่ตน เองสื่อสาร ด้วย เช่น ชาวไทยสื่อสารกับชาวอังกฤษ เป็นต้น
4.2 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เป็นการสื่อสารของคนต่างวัฒนธรรมกัน ซึ่งผู้ ส่งสารและผู้รับสารอาจ เป็นคนในประเทศเดียวกัน พูดภาษาเดียวกัน เช่น การสื่อสารระหว่างคนไทยภาคกลาง กับภาคเหนือ คนไทยพื้นราบกับคนไทยถูเขา เป็นต้น
4.3 การสื่อสารระหว่างประเทศ เป็นการสื่อสารในระดับชาติ ผู้ส่งสารและผู้รับสาร จะต้องปฏิบัติหน้าที่ใน ฐานะเป็นตัวแทนของชาติ การสื่อสารประเภทนี้มักเป็นการสื่อสารที่เป็นทางการ
5. จําแนกประเภทตามเกณฑ์ลักษณะเนื้อหาวิชา จําแนกได้ 8 ประเภท คือ
5.1 ระบบข่าวสาร เป็นการสื่อสารที่เน้นเอาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับระบบข่าวสาร นํา ไปประยุกต์ใช้กับงาน ด้านการกระจายข่าว การส่งข่าว การนําข้อมูลที่เก็บไว้มาใช้ ตลอดจนการพัฒนาวิธี วิเคราะห์ระบบ ข่าวสาร
5.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นการสื่อสารที่มุ่งถึงทฤษฎีการสื่อสารใน สถานการณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่การสื่อ สารแบบตัวต่อตัว การสื่อสารกลุ่มย่อย ตลอดจนการสื่อสารกลุ่มใหญ่
5.3 การสื่อสารมวลชน เป็นการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลของสื่อมวลชน การแลกเปลี่ยนข่าวสาร ระหว่างประเทศโดยผ่านสื่อมวลชน
5.4 การสื่อสารการเมือง เป็นการสื่อสารที่มีเนื้อหาไปในทางการเผยแพร่ข่าวสารการ เมือง การประชา สัมพันธ์หาเสียง การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับระบบการเมือง การเลือกตั้งตลอดจนระบอบ การปกครอง
5.5 การสื่อสารในองค์การ เป็นการสื่อสารที่มีเนื้อหาให้ทราบถึงประสิทธิผลของ การดําเนินงานในองค์การ หรือหน่วยงานทั้งในการบริหารและการจัดการ
5.6 การสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคนเป็นการสื่อสารที่มีเนื้อหาการสื่อสารใน สถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การสื่อสารในกลุ่มย่อย การสื่อสารเชิงอวัจนะ อิทธิพลทางสังคมของการสื่อสาร ลีลา ในการสื่อสาร การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ ความเข้าใจในสารและความขัดแย้งทางสังคม ซึ่งต้องคํานึงถึงทฤษฎี และ พฤติกรรมทางวัฒนธรรมด้วย
5.7 การสื่อสารการสอน เป็นการสื่อสารที่มีเนื้อหามุ่งเน้นถึงหลักวิชาการระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ระบบการ สอน เทคโนโลยีการสอน เช่น การสอนในห้องเรียน การสอนระบบทางไกล เป็นต้น
5.8 การสื่อสารสาธารณสุข เป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นเนื้อหาในการพัฒนาสุขภาพ พัฒนาคุณภาพของชีวิต ของประชาชน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาระบบการสาธารณสุข การเผยแพร่ โน้มน้าว ใจให้ประชาชน ตระหนักในการพัฒนาสุขภาพพลานามัย
ระบบการสื่อสารข้อมูล
           การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับโดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน
           วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้นกลับมาให้อยู่่ในรูปที่มนุษย์สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือสิ่งรบกวน(Noise)จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
           องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
             1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร(source)
                 อาจจะเป็นสัญญาณต่างๆเช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่างๆก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสารจัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
             2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink)
                 ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้นๆถ้าผู้รับสาร หรือจุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ  กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง

                                        

              3. ช่องสัญญาณ(channel)
                   หมายถึง สื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่านอาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่างๆหรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น ปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
              4. การเข้ารหัส(encoding)
                  เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมายจึงมีความจำเป็นต้องแปลง ความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
              5. การถอดรหัส(decoding)
                  หมายถึง การที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
              6. สัญญาณรบกวน(noise)
                  เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมุติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาดตำแหน่ง ที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติ มักจะใช้ วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่นการเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
ข่ายการสื่อสารข้อมูล
            หมายถึง การรับส่งข้อมูล หรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยอาศัยระบบการส่งข้อมูลทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)
องค์ประกอบพื้นฐาน
           1. หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
           2. หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
 
           3. ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
           1. เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
           2. เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
           3. เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
           4. เพื่อลดเวลาการทำงาน
           5. เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
           6. เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
           1. การจัดเก็บข้อมูลได้ง่าย และสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูงแผ่นบันทึกแผ่นหนึ่ง สามารถ บันทึกข้อมูล ได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้วจะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
           2. ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
           3. ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้นเช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
           4.  ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้   


กลับด้านบน

ชนิดของการสื่อสารข้อมูล
วิธีการสื่อสารข้อมูล (DATA TRANSMISSION)
           ลักษณะของการสื่อสารข้อมูล มี 2 รูปแบบคือ การสื่อสารแบบอนุกรม (serial data transmission) และการสื่อสารแบบขนาน
(parallel data transmission) การสื่อสารแต่ละรูปแบบมีรายละเอียดดังนี้
1. การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม (serail data transmission)
           เป็นการส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิต ไปบนสัญญาณจนครบจำนวนข้อมูลที่มีอยู่ สามารถนำไปใช้กับสื่อนำข้อมูลที่มีเพียง1ช่องสัญญาณได้ สื่อนำข้อมูลที่มี 1 ช่องสัญญาณนี้จะมีราคาถูกกว่าสื่อนำข้อมูลที่มีหลายช่องสัญญาณ และเนื่องจากการสื่อสารแบบอนุกรมมีการส่งข้อมูล
ได้ครั้งละ 1 บิตเท่านั้น การส่งข้อมูลประเภทนี้จึงช้ากว่าการส่งข้อมูลครั้งละหลายบิต

                                            

2. การสื่อสารข้อมูลแบบขนาน (parallel data transmission)
           เป็นการส่งข้อมูลครั้งละหลายบิตขนานกันไปบนสื่อนำข้อมูลที่มีหลายช่องสัญญาณ วิธีนี้จะเป็นวิธีการส่งข้อมูลที่เร็วกว่าการส่งข้อมูลแบบอนุกรมจากรูป เป็นการแสดงการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ 2 ตัว ที่มีการส่งข้อมูลแบบขนาน โดยส่งข้อมูลครั้งละ 8 บิตพร้อมกัน

                                                 

รูปแบบการสื่อสารข้อมูล (MODES OF DATA TRANSMISSION)
           รูปแบบการสื่อสารข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.การส่งข้อมูลแบบไม่ประสานจังหวะ (asynchronous transmission)
           เป็นวิธีการส่งข้อมูลไปบนสื่อนำข้อมูล โดยข้อมูลที่ส่งไปนั้นไม่มีจังหวะการส่งข้อมูล แต่จะส่งเป็นชุดๆมีช่องว่าง (gap) อยู่ระหว่างข้อมูล แต่ละชุดเพื่อใช้แบ่งข้อมูลออกเป็นชุดๆเมื่อเริ่มต้นส่งข้อมูลแต่ละชุดจะมีสีญญาณบอกจุดเริ่มต้นของข้อมูลขนาด 1 บิต (start bit) และมีสัญญาณบอกจุดสิ้นสุดของข้อมูลขนาด 1 บิต (stop bit) ตัวอย่างเช่น ถ้าขนาดข้อมูลแต่ละชุดมีขนาด 8 บิต ลักษณะของการส่งข้อมูล
จะมีลำดับ ดังนี้คือ สัญญาณบอกจุดเริ่มต้นขนาด 1 บิตข้อมูล 8 บิต และสัญญาณบอกจุดสิ้นสุด 1 บิต ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบไม่ประสาน
จังหวะ เช่น การส่งข้อมูล ของแป้นพิมพ์ และโมเด็ม เป็นต้น
2.การส่งข้อมูลแบบประสานจังหวะ (synchronous transmission)
           เป็นการส่งข้อมูลไปบนสื่อนำข้อมูลที่มีลักษณะเป็นกลุ่มของข้อมูลที่ต่อเนื่องกันอย่างเป็นจังหวะ โดยใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวบอก
จังหวะ เหล่านั้นการส่งข้อมูลวิธีนี้จะไม่มีช่องว่าง(gap) ระหว่างข้อมูลแต่ละชุดและไม่มีสัญญาณบอกจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการส่งข้อมูล
แบบประสานจังหวะนิยมใช้กับการส่งข้อมูล ของระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีการส่งข้อมูล ปริมาณมากๆ ด้วยความเร็วสูง

กลับด้านบน

การวิเคราะห์ระบบการสื่อสารข้อมูล
          ระบบการสื่อสารข้อมูลมีหลายชนิด ซึ่งอาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือประเภทมีสาย ได้แก่ สายคู่ไขว้ (Wire pair หรือ Twisied pair หรือสายโทรศัพท์, สายตัวนำร่วมแกน(Coaxial Cables), เส้นใยนำแสง หรือไฟเบอร์ออฟติกส์ (Fiber optics) ประเภทไม่มีสาย ได้แก่ ไมโครเวฟ (Microwave) และดาวเทียม, การสื่อสารดาวเทียม (Stellite Tranmission)

                                             

ประเภทมีสาย
สายเกลียวคู่ (Twisted pair Cable)
           สายเกลียวคู่ เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มพันกันเป็นเกลียว สามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อน ในขณะที่มีสัญญาณ
ส่งผ่านสาย สายเกลียวคู่ 1คู่ จะแทนการสื่อสารได้ 1 ช่องทางสื่อสาร (Channel)ในการใช้งานจริงเช่นสายโทรศัพท์จะเป็นสายรวมที่ประกอบด้วยสายเกลียวคู่อยู่ภายในเป็นร้อยๆคู่ สายเกลียวคู่  1 คู่ จะมีขนาดประมาณ 0.016-0.036 นิ้ว

                                                
           สายเกลียวคู่สามารถใช้ได้ทั้งการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อก และแบบดิจิตอล เนื่องจากสายเกลียวคู่จะมี การสูญเสียสัญญาณขณะส่งสัญญาณ จึงจำเป็นต้องมี "เครื่องขยาย" (Amplifier) สัญญาณ สำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อก ในระยะทางไกลๆหรือทุก 5-6 กม. ส่วนการส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลต้องมี "เครื่องทบทวน" (Repeater) สัญญาณทุกๆ ระยะ 2-3 กม. เพราะว่าแต่ละคู่ของสายเกลียวคู่จะแทนการทำงาน 1 ช่องทาง และสามารถมีแบนด์วิดท์ได้กว้างถึง 250 กิโลเฮิรตซ์ ดังนั้นในการส่งข้อมูลไปพร้อมกันหลายๆช่องทางจำเป็นต้องอาศัยหลักการมัลติเพล็กซ์สัญญาณ เพื่อให้สัญญาณทั้งหมดสามารถส่งผ่านสายสื่อสารไปได้พร้อมๆกันในการ
มัลติเพล็กซ์แบบ FDM จะสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ถึง 24 ช่องทางๆละ 74 กิโลเฮิรตซส่วนของอัตราเร็วสูงสุดในการส่งข้อมูลดิจิตอลผ่านของสายเกลียวคู่สามารถมีได้ถึง 4 เมกะบิตต่อวินาที แต่ถ้าเป็นการส่งข้อมูลผ่านโมเด็ม จะส่งได้ด้วยอัตราเร็วสูงสุด 9,600 บิตต่อวินาที
สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
           สายเคเบิลแบบโคแอกเชียลหรือเรียกสั้นๆว่า "สายโคแอก" จะเป็นสายสื่อสารที่มีคุณภาพที่กว่าและราคาแพงกว่า สายเกลียวคู่ ส่วนของสายส่งข้อมูลจะอยู่ตรงกลางเป็นลวดทองแดงมีชั้นของตัวเหนี่ยวนำหุ้มอยู่ 2 ชั้น ชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็ง ชั้นนอกเป็นฟั่นเกลียว และคั่นระหว่างชั้นด้วยฉนวนหนา เปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนวน สายโคแอกสามารถม้วนโค้งงอได้ง่าย มี 2 แบบ คือ 75 โอมห์ และ 50 โอมห์ ขนาดของสายมีตั้งแต่ 0.4 - 1.0 นิ้ว ชั้นตัวเหนี่ยวนำทำหน้าที่ป้องกันการสูญเสียพลังงานจากแผ่รังสี เปลือกฉนวนหนาทำให้สายโคแอก     มีความคงทนสามารถฝังเดินสายใต้พื้นดินได้ นอกจากนั้นสายโคแอกยังช่วยป้องกัน "การสะท้อนกลับ" (Echo) ของเสียงได้อีกด้วยและลดการรบกวนจากภายนอกได้ดีเช่นกัน


                                                 

           สายโคแอก สามารถส่งสัญญาณได้ ทั้งในช่องทางแบบเบสแบนด์ และแบบบรอดแบนด์ การส่งสัญญาณในเบสแบนด์สามารถ
ทำได้เพียง 1 ช่องทาง และเป็นแบบครึ่งดูเพล็กซ์ แต่ในส่วนของการส่งสัญญาณ ในบรอดแบนด์จะเป็นเช่นเดียวกับสายเคเบิลทีวี คือ สามารถส่งได้พร้อมกันหลายช่องทางทั้งข้อมูลแบบดิจิตอล และแบบอนาล็อก สายโคแอกของเบสแบนด์ สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง
2 กม. ในขณะที่บรอดแบนด์ส่งได้ไกลกว่าถึง 6 เท่า โดยไม่ต้องเครื่องทบทวน หรือเครื่องขยายสัญญาณเลย ถ้าอาศัยหลักการมัลติเพล็กซ์สัญญาณแบบ FDM สายโคแอกสามารถมีช่องทาง (เสียง) ได้ถึง 10,000 ช่องทางในเวลาเดียวกัน อัตราเร็วในการส่งข้อมูล มีได้สูงถึง 50 เมกะบิตต่อวินาที หรือ 800 เมกะบิตต่อวินาที ถ้าใช้เครื่องทบทวนสัญญาณทุก ๆ 1.6 กม. ตัวอย่างการใช้สายโคแอกในการส่งสัญญาณข้อมูลที่ใช้กันมากในปัจจุบัน คือสายเคเบิลทีวี และสายโทรศัพท์ทางไกล (อนาล็อก) สายส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายท้องถิ่น หรือ LAN (ดิจิตอล) หรือใช้ในการเชื่อมโยงสั้นๆระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
เส้นใยแก้วนำแสง หรือ ไฟเบอร์ออฟติกส์ (Fiber Optic Cable)

                                                
           หลักการทั่วไปของการสื่อสารในสายไฟเบอร์ออปติก คือการเปลี่ยนสัญญาณ (ข้อมูล) ไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสงก่อน จากนั้นจึงส่งออกไปเป็นพัลส์ของแสง ผ่านสายไฟเบอร์ออปติก สายไฟเบอร์ออปติกทำจากแก้วหรือพลาสติกสามารถส่งลำแสง ผ่านสายได้ทีละ หลายๆลำแสงด้วยมุมที่ต่างกัน ลำแสงที่ส่งออกไปเป็นพัลส์นั้นจะสะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในจนถึงปลายทางจากสัญญาณข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณอนาล็อก หรือดิจิตอล จะผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่มอดูเลตสัญญาณเสียก่อน จากนั้นจะส่งสัญญาณมอดูเลตผ่านตัวไดโอดซึ่งมี   2 ชนิดคือ LED ไดโอด (light Emitting Diode) และเลเซอร์ไดโอด หรือ ILD ไดโอด (Injection Leser Diode) ไดโอดจะมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณมอดูเลตให้เป็นลำแสงเลเซอร์ซึ่งเป็นคลื่นแสงในย่านที่มองเห็นได้ หรือเป็นลำแสงในย่านอินฟราเรดซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ ความถี่ย่านอินฟราเรดที่ใช้จะอยู่ในช่วง 1014-1015 เฮิรตซ์ ลำแสงจะถูกส่งออกไปตามสายไฟเบอร์ออปติก เมื่อถึงปลายทางก็จะมีตัว โฟโต้ไดโอด (Photo Diode)ที่ทำหน้าที่รับลำแสงที่ถูกส่งมาเพื่อเปลี่ยนสัญญาณแสงให้กลับไปเป็นสัญญาณมอดูเลต ตามเดิมจากนั้นก็จะส่งสัญญาณผ่านเข้าอุปกรณ์ดีมอดูเลต เพื่อทำการดีมอดูเลตสัญญาณมอดูเลตให้เหลือแต่สัญญาณข้อมูลที่ต้องการ
           สายไฟเบอร์ออปติก สามารถมีแบนด์วิดท์(BW)ได้กว้างถึง 3 จิกะเฮิรตซ์ (1 จิกะ = 109)และมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลได้ถึง1จิกะบิต
ต่อวินาที ภายในระยะทาง 100 กม.โดยไม่ต้องการเครื่องทบทวนสัญญาณเลย สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีช่องทางสื่อสารได้มากถึง
20,000-60,000 ช่องทาง สำหรับการส่งข้อมูลในระยะทางไกลๆไม่เกิน 10 กม. จะสามารถมีช่องทางได้มากถึง 100,000 ช่องทางทีเดียวความผิดพลาดในการส่งข้อมูลผ่านสายไฟเบอร์ออปติกนั้นมีน้อยมาก คือประมาณ 1 ใน 10 ล้านบิตต่อการส่ง 1,000 ครั้งเท่านั้น ทั้งยังป้องกันการรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้โดยสิ้นเชิง แม้ว่าการส่งข้อมูลผ่านทางสายไฟเบอร์ออปติก จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม และจำนวนมหาศาลดังกล่าวมาแล้วก็ตามแต่เราต้องคำนึงถึงปัญหาและความเหมาะสมบางประการอีกด้วย
ราคา ทั้งสายไฟเบอร์ออปติก และอุปกรณ์ประกอบการทั้งหลาย มีราคาสูงกว่าการส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิลธรรมดามาก
          อุปกรณ์พิเศษสำหรับการเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสง และจากคลื่นแสงกลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้า และยังมีเครื่องทบทวนสัญญาณอีก อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ซึ่งมีความซับซ้อน และราคาแพงมาก
          เทคนิคในการติดตั้งระบบ เนื่องจากสายไฟเบอร์ออปติกมีความแข็งแต่เปราะจึงยากต่อการเดินสายไฟตามที่ต่างๆได้ตามที่ต้องการ อีกทั้งการเชื่อมต่อระหว่างสายก็ทำได้ยากมาก เพราะต้องระวังไม่ได้เกิดการหักเห

สายโทรศัพท์ที่ใช้ในระบบการสื่อสารข้อมูล
           ผู้ขอใช้สายโทรศัพท์อาจทำได้ 2 วิธีคือ แบบเช่าสาย และแบบหมุนหมายเลข
                1. แบบเช่าสาย (Leased Line) เป็นการต่อเชื่อมระหว่างผู้รับและผู้ส่งโดยตรง โดยผ่านการเช่าสายจากองค์การโทรศัพท์

                                     

                2. แบบหมุนหมายเลข (Dial Access) เป็นการขอใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา เมื่อใดที่ต้องการใช้สายโทรศัพท์ ก็ใช้วิธีขอต่อสายโทรศัพท์แบบเดียวกับการใช้โทรศัพท์

                                     

ข้อได้เปรียบและเสียเปรียบของการใช้โทรศัพท์ทั้งสอง คือ
                1. แบบเช่าสาย สามารถส่งข้อมูลได้ทุกขณะตามที่ต้องการ การส่งข้อมูลสามารถทำได้ รวดเร็วกว่าแบบหมุนหมายเลข
                2. แบบหมุนหมายเลข จะต้องต่อผ่านระบบโทรศัพท์และแผงควบคุมโทรศัพท์ซึ่งก่อให้เกิดสัญญาณรบกวนมาก ทำให้การส่งข้อมูลเกิดความผิดพลาดได้ง่าย
ประเภทไม่มีสาย

           ระบบไมโครเวฟ (Microwave System)

                                                             
          การส่งสัญญาณข้อมูลไปกลับคลื่นไมโครเวฟเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กันจากหอ(สถานี) ส่ง-รับสัญญาณหนึ่ง
ไปยังอีกหอหนึ่ง การส่งสัญญาณข้อมูลไมโครเวฟ มักใช้กันในกรณีที่การติดตั้งสายเคเบิลทำได้ไม่สะดวก เช่น ในเขตเมืองใหญๆหรือในเขตที่ป่าเขาแต่ละสถานีไมโครเวฟจะติดตั้งจานส่ง-รับสัญญาณข้อมูล ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ฟุต สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นย่านความถี่สูง (2-10 จิกะเฮิรตซ์) เพื่อป้องกันการแทรกหรือรบกวนจาก สัญญาณอื่น ๆ แต่สัญญาณอาจจะอ่อนลง หรือหักเหได้ในที่มีอากาศร้อนจัด พายุหรือฝน ดังนั้นการติดตั้งจาน ส่ง-รับสัญญาณจึงต้องให้หันหน้าของจานตรงกัน และหอยิ่งสูงยิ่งส่งสัญญาณได้ไกล ปัจจุบันมีการใช้การส่งสัญญาณข้อมูลทางไมโครเวฟกันอย่างแพร่หลาย สำหรับการสื่อสารข้อมูลในระยะทางไกลๆหรือระหว่างอาคาร โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สะดวกที่จะใช้สายไฟเบอร์ออปติก หรือการสื่อสารดาวเทียม อีกทั้งไมโครเวฟยังมีราคาถูกกว่า และติดตั้งได้ง่ายกว่า และสามารถส่งข้อมูลได้คราวละมากๆด้วย อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญที่ทำให้สื่อกลางไมโครเวฟเป็นที่นิยม คือราคาที่ถูกกว่า
          การสื่อสารด้วยดาวเทียม (Satellite Transmission)

                                                              
          ดาวเทียมคือ สถานีไมโครเวฟลอยฟ้านั่นเอง ซึ่งทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณข้อมูล รับและส่งสัญญาณข้อมูลกับสถานีดาวเทียมที่อยู่บนพื้นโลก สถานีดาวเทียมภาคพื้นจะทำการส่งสัญญาณข้อมูล ไปยังดาวเทียมซึ่งจะหมุนไปตามการหมุนของโลกซึ่งมีตำแหน่งคงที่เมื่อเทียมกับตำแหน่งบนพื้นโลก ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นไปให้ลอยอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 23,300 กม.เครื่องทบทวนสัญญาณของดาวเทียม (Transponder) จะรับสัญญาณข้อมูลจากสถานีภาคพื้นซึ่งมีกำลังอ่อนลงมากแล้วมาขยาย จากนั้นจะทำการทบทวนสัญญาณ และตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายทาง แล้วจึงส่งสัญญาณข้อมูลไปด้วยความถี่ในอีกความถี่หนึ่งลงไปยังสถานีปลายทาง การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า "สัญญาณอัปลิงก์" (Up-link) และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่าสัญญาณ
ดาวน์-ลิงก์ (Down-link) ลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point)หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast) สถานดาวเทียม 1 ดวง สามารถมีเครื่องทบทวนสัญญาณดาวเทียมได้ถึง 25 เครื่อง และสามารถครอบคลุมพื้นที่การส่งสัญญาณได้ถึง 1 ใน 3 ของพื้นผิวโลก ดังนั้นถ้าจะส่งสัญญาณข้อมูลให้ได้รอบโลกสามารถทำได้โดยการส่งสัญญาณผ่านสถานีดาวเทียมเพียง 3 ดวงเท่านั้น
         ข้อเสีย ของการส่งสัญญาณข้อมูลทางดาวเทียมคือ สัญญาณข้อมูลสามารถถูกรบกวนจากสัญญาณภาคพื้นอื่นๆได้อีกทั้งยังมี
เวลาประวิง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณเนื่องจากระยะทางขึ้น-ลงของสัญญาณ และที่สำคัญคือ มีราคาสูงในการลงทุนทำให้ค่าบริการสูงตามขึ้นมาเช่นกัน
 การสื่อสาร  หมายถึง  กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลโดยผ่านช่องทางหรือสื่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
                การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ส่งและผู้รับที่อยู่ห่างไกลกันด้วยระบบการสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล
                ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมจะส่งข้อมูลผ่านสื่อหรือตัวกลาง เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนจากภายนอก โดยการเปลี่ยนข้อมูลเป็นสัญญาณหรือรหัส  เมื่อถึงปลายทางจะต้องถอดรหัส (สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) เพื่อให้ผู้รับเข้าใจข้อมูลที่ถูกส่งมาถึง
การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์
                  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ราคาไม่แพงมาก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้มีการขยายปริมาณการใช้เพิ่มขึ้น มีการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สำนักงานใหญ่ เพื่อเรียกใช้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยการเชื่อมเข้ากับโปรเซสเซอร์ของคอมพิวเตอร์หลัก  ผ่านซอฟต์แวร์หลักที่เรียกว่า อุปกรณ์อินเตอร์เฟซ (Interface)  โดยใช้สายโทรศัพท์เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดข้อมูล
                     โมเด็ม (MODEM : Modulation-Demodulation Device) เป็นอุปกรณ์อินเตอร์เฟซที่สำคัญของระบบการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์
ภาพการใช้โมเด็มเชื่อมโยงเครือข่าย      

มาตรฐานการสื่อสารข้อมูล
     การกำหนดมาตรฐานของการสื่อสารข้อมูลนั้น นับว่ามีความจำเป็นอย่างมากสำหรับระบบเครือข่ายที่มี องค์ประกอบของอุปกรณ์ต่างๆ หลากหลายผู้ผลิต ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดเหล่านั้นจะต้องทำงานเข้ากันได้อย่างราบรื่น การกำหนดมาตรฐานต่างๆ นั้นจะเริ่มตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานของฮาร์ดแวร์ระบบเครือข่าย ได้แก่ ระบบสายเคเบิล อุปกรณ์ในการส่งสัญญาณข้อมูล ตลอดจนถึง เครื่องเซิร์ฟเวอร์ และซอฟต์แวร์ในการสื่อสารบนระบบเครือข่าย เพื่อเป็นการรับประกันว่าส่วนประกอบต่างๆ จะสามารถทำงานร่วมกันได้ ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระบบเครือข่าย จะต้องทำตามคำแนะนำตามมาตรฐานการออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ ซึ่งกำหนดขึ้นโดย องค์กรมาตรฐานสากล (International Organization for Standardization - ISO) โดยมาตรฐานที่กำหนดขึ้นและได้ประกาศใช้ตั้งแต่ปี คศ.1984 เรียกว่า Open Systems Interconnection Reference Model เรียกสั้นๆ ว่า OSI Reference Model หรือ ISO/OSI Model
แบบจำลอง OSI
    OSI Reference Model เป็นการกำหนดชุดของคุณลักษณะเฉพาะที่ใช้อธิบายโครงสร้างของระบบเครือข่าย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ใดๆ ใช้เป็นโครงสร้างอ้างอิงในการสร้างอุปกรณ์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดีบนระบบเครือข่าย โดยมีการจัดแบ่งเลเยอร์ของ OSI ออกเป็น 7 เลเยอร์ แต่ละเลเยอร์จะมีการโต้ตอบหรือรับส่งข้อมูลกับเลเยอร์ที่อยู่ข้างเคียงเท่านั้น โดยเลเยอร์ที่อยู่ชั้นล่างจะกำหนดลักษณะของอินเตอร์เฟซ เพื่อให้บริการกับเลเยอร์ที่อยู่เหนือขึ้นไปตามลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่ส่วนล่างสุดซึ่งเป็นการจัดการลักษณะทางกายภาพของฮาร์ดแวร์และการส่งกระแสของข้อมูลในระดับบิต ไปสิ้นสุดที่แอพพลิเคชั่นเลเยอร์ในส่วนบนสุด

รูปที่ 1 OSI Reference Model
หลักการออกแบบเลเยอร์
  แต่ละเลเยอร์จะมีการกำหนดการทำงานอย่างละเอียดโดยมีการทำงานเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน
  ฟังก์ชันภายในเลเยอร์จะพยายามมุ่งไปสู่ข้อกำหนดมาตรฐาน (standard protocol)
  ขอบเขตของเลเยอร์จะถูกเลือกและจำกัดให้มีปริมาณการเชื่อมต่อระหว่างเลเยอร์ให้น้อยที่สุด
  จำนวนของเลเยอร์ต้องมากพอที่จะแยกฟังก์ชั่นที่จำเป็นและแตกต่างกันไม่ให้อยู่ในเลเยอร์เดียวกัน
การทำงานของ OSI Reference Model
การที่แพ็กเก็ตข้อมูลเดินทางจากเครื่องคอมพิวเตอร์ A ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ B นั้น มีกระบวนการทำงานดังนี้

รูปที่ 2 การส่งแพ็กเก็ตใน OSI Reference
    จากแผนผัง คอมพิวเตอร์ A และคอมพิวเตอร์ B มีโครงสร้างเป็น OSI ซึ่งมี 7 เลเยอร์ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ A พร้อมที่จะส่งสัญญาณข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ B นั้น แต่ละเลเยอร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ A จะเสมือนกับว่ามีการสื่อสารกับเลเยอร์ในระดับเดียวกันบนเครื่องคอมพิวเตอร์ B ถึงแม้ว่าจะไม่มีการสื่อสารระหว่าง เลเยอร์เหล่านี้เกิดขึ้นจริง แต่เลเยอร์ในระดับต่างๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งคู่นั้นจะทำตามกฎเกณฑ์หรือโปรโตคอล (protocol) อย่างเดียวกัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าแต่ละเลเยอร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ฝ่ายผู้รับจะได้รับแพ็กเก็ตข้อมูล แบบเดียวกันกับแพ็กเก็ตข้อมูลที่รวบรวม โดยแต่ละเลเยอร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ฝ่ายผู้ส่ง โดยแพ็กเก็ตข้อมูลจะเริ่มที่ระดับสูงสุดคือ Application Layer บนเครื่องคอมพิวเตอร์ A และเคลื่อนลงมาทีละระดับชั้นจนมาถึงชั้นล่างสุดคือ Physical Layer การที่แพ็กเก็ตเคลื่อนผ่านจากระดับหนึ่งไปยังระดับถัดไปนั้น จะมีการกำหนดที่อยู่ การจัดรูปแบบของข้อมูลและอื่นๆ ซึ่งแต่ละเลเยอร์จะเป็นตัวจัดการและมีกระบวนการของตนเอง เมื่อแพ็กเก็ตเคลื่อนตัวลงมาถึง Physical Layer ก็จะถูกแปลงให้เป็นกระแสข้อมูลแบบอนุกรมและส่งผ่านสื่อกลางคือสายสัญญาณ ซึ่งเป็นเลเยอร์เดียวที่เครื่องคอมพิวเตอร์ A สือสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ B และเมื่อสัญญาณข้อมูลมาถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ B กระบวนการก็จะเริ่มทำในทางตรงข้าม คือจะทำการแยกแพ็กเก็ตออกผ่าน OSI ทั้ง 7 เลเยอร์ ส่งย้อนกลับขึ้นไปยัง Application Layer ของเครื่องคอมพิวเตอร์ B เมื่อแพ็กเก็ตเดินทางผ่านเลเยอร์ระดับต่างๆ แต่ละเลเยอร์จะแยก ข้อมูลข่าวสารตามกำหนดที่อยู่ และการจัดรูปแบบของแพ็กเก็ต จนเมื่อมาถึงเลเยอร์ระดับสูงสุดคือ Application Layer ก็จะเหลือเฉพาะข้อมูลที่เหมือนกับบน Application Layer ของเครื่องคอมพิวเตอร์ A
เลเยอร์ 2: Data Link Layer
   เลเยอร์นี้มีจุดประสงค์หลักคือพยายามควบคุมการส่งข้อมูลให้เสมือนกับว่าไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น เพื่อให้เลเยอร์สูงขึ้นไปสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างถูกต้อง วิธีการคือฝ่ายผู้ส่งจะทำการแตกข้อมูลออกเป็นเฟรมข้อมูล (data-frame) โดยจะต้องมีการกำหนดขอบเขตของเฟรม (frame boundary) โดยการเติมบิทเข้าไปยังจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเฟรม จากนั้นทำการส่งเฟรมข้อมูลออกไปทีละชุดและรอรับการตอบรับ (acknowledge frame) จากผู้รับ ถ้าหากมีการสูญหายของเฟรมข้อมูล ซึ่งอาจเนื่องมาจากสัญญาณรบกวนจากภายนอกหรือข้อผิดพลาดอื่นๆ ในกรณีนี้ฝ่ายผู้ส่งจะต้องส่งเฟรมข้อมูลเดิมออกมาใหม่
เลเยอร์ 3: Network Layer
   เป็นเลเยอร์ที่ทำหน้าที่หลักเกี่ยวข้องกับการหาเส้นทาง (routing) ในการส่งแพคเก็ตจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งจะมีการสลับช่องทางในการส่งข้อมูลหรือที่เรียกว่า แพ็กเกตสวิตชิ่ง (packet switching) มีการสร้างวงจรเสมือน (virtual circuit) ซึ่งคล้ายกับว่ามีเส้นทางเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องให้ติดต่อสื่อสารถึงกันได้โดยตรง การกำหนดเส้นทางการส่งข้อมูลนั้น คอมพิวเตอร์ฝ่ายผู้ส่งอาจทำหน้าที่พิจารณาหาเส้นทางที่เหมาะสมในการส่งข้อมูล ตั้งแต่ต้น หรืออาจใช้วิธีแบบไดนามิกส์ (dynamic) คือแต่ละแพคเก็ตสามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางได้ตลอดเวลา นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ฝ่ายผู้ส่งยังมีหน้าที่ในการจัดการเรื่องที่อยู่ของเครือข่ายปลายทางโดยจะมีการแปลงที่อยู่แบบตรรกะ (logical address) ให้เป็นที่อยู่แบบกายภาพ (physical address) ซึ่งถูกกำหนดโดยการ์ดเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
เลเยอร์ 4: Transport Layer
   Transport Layer ทำหน้าที่เสมือนบริษัทขนส่งที่รับผิดชอบการจัดส่งข้อมูลโดยปราศจากความผิดพลาด ซึ่งมีหน้าที่หลักคือ การตรวจสอบและแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในข้อมูล คอยแยกแยะและจัดระเบียบของแพ็กเก็ต ข้อมูลให้จัดเรียงลำดับอย่างถูกต้อง และมีขนาดที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังทำการผนวกข้อมูลทั้งหลายให้อยู่ในรูปของ วงจรเดียวหรือเรียกว่าการมัลติเพล็กซ์ (multiplex) และมีกลไกสำหรับควบคุมการไหลของข้อมูลให้มีความสม่ำเสมอ
เลเยอร์ 5: Session Layer
   จากเลเยอร์ที่ผ่านมาจะเห็นว่าการทำงานต่างๆ จะเกี่ยวพันอยู่เฉพาะกับบิตและข้อมูลเท่านั้น โดยไม่ได้สนใจเกี่ยวกับสถานะภาพการใช้งานจริงของผู้ใช้แต่อย่างใด ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นที่ Session Layer ในเลเยอร์นี้จะมีการให้บริการสำหรับการใช้งานเครื่องที่อยู่ห่างไกลออกไป (remote login) การถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครื่อง โดยจะมีการจัดตั้งการสื่อสารระหว่าง 2 ฝ่าย เรียกว่า Application Entities หรือ AE ซึ่งเทียบได้กับบุคคล 2 คนที่ต้องการสนทนากันทางโทรศัพท์ โดย Session Layer จะมีหน้าที่จัดการให้การสนทนาเป็นไปอย่างราบรื่น โดยการเฝ้า ตรวจสอบการไหลของข้อมูลอย่างเป็นจังหวะ ดูแลเรื่องความปลอดภัยเช่น ตรวจสอบอายุการใช้งานของรหัสผ่าน จำกัดช่วงระเวลาในการติดต่อ ควบคุมการถ่ายเทข้อมูลรวมถึงการกู้ข้อมูลที่เสียหายอันเกิดมาจากเครือข่ายทำงานผิดปกติ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจดูการใช้งานของระบบและจัดทำบัญชีรายงานช่วงเวลาการใช้งานของผู้ใช้ได้
เลเยอร์ 6: Presentation Layer
   หน้าที่หลักคือการแปลงรหัสข้อมูลที่ส่งระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องให้เป็นอักขระแบบเดียวกัน เครื่องคอมพิเตอร์ส่วนใหญ่จะใช้รหัส ASCII (American Standard Code for Information Interchange) แต่ในบางกรณีเครื่องที่ใช้รหัส ASCII อาจจะต้องสื่อสารกับเครื่องเมนเฟรมของ IBM ที่ใช้รหัส EBCDIC (Extended Binary Coded Decimal Interchange Code) ดังนั้น Presentation Layer จะทำหน้าที่แปลงรหัสเหล่านี้ให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้ตรงกัน นอกจากนี้ยังสามารถทำการลดขนาดของข้อมูล (data compression) เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการรับส่ง และสามารถเข้ารหัสเพื่อเป็นการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลได้อีกด้วย
เลเยอร์ 7: Application Layer
   เป็นเลเยอร์บนสุดที่ทำงานไกล้ชิดกับผู้ใช้ การทำงานของเลเยอร์นี้จะเกี่ยวข้องกับโปรโตคอลต่างๆ มากมาย ซึ่งจะมีการใช้งานที่เฉพาะตัวแตกต่างกันออกไป มีบริการทางด้านโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ได้แก่ email, file transfer, remote job entry, directory services นอกจากนี้ยังมีการจัดเตรียมฟังก์ชั่นในการเข้าถึงไฟล์และเครื่องพิมพ์ ซึ่งเป็นการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรบนระบบเครื่อข่าย

แบบจำลอง TCP/IP
    TCP/IP Model มีแนวคิดพื้นฐานแตกต่างจาก OSI Model คือไม่ได้มีพื้นฐานของการสื่อสารแบบการสนทนา TCP/IP Model เป็นภาพแสดงถึงโลกของระบบเครื่อข่ายสากล (Internetworking) ที่ทำการเคลื่อนย้ายและกำหนดเส้นทางให้กับข้อมูลระหว่างเครือข่ายและระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 โมเดล จะพบว่ามีบางเลเยอร์ที่มีการกำหนดคุณสมบัติที่เทียบได้ไกล้เคียงกัน แต่บางเลเยอร์ก็ไม่สามารถเทียบหาความสัมพันธ์กันได้เลย

รูปที่ 3 เลเยอร์ต่างๆ ใน TCP/IP และ ISO/OSI Model

Network Access Layer
  ประกอบด้วยโปรโตคอลที่ใช้ในการจัดส่งเฟรมข้อมูล โดยจะพิจารณาว่าจะมีการส่งเฟรมข้อมูลไปบนระบบเครือข่ายทางกายภาพอย่างไร ซึ่งจะใช้การกำหนดที่อยู่อย่างถาวรให้กับการ์ดเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
Internetwork Layer
   เลเยอร์นี้จะไม่สามารถเทียบได้กับ OSI Model เนื่องจากเป็นส่วนที่ประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่กำหนดเส้นทางให้กับข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เป็นกระบวนการส่งแพ็กเก็ตข้อมูลผ่านสื่อกลางของระบบเครือข่าย โดยแพ็กเก็ตข้อมูลจะถูกเรียกเป็น Datagram ซึ่งหมายถึงเป็นแพ็กเก็ตข้อมูลที่มีข่าวสารในส่วนหัว (Header) และส่วนท้าย (Trailer) ประกอบอยู่ด้วย และยังรวมถึงการใช้เราเตอร์และเกตเวย์ในการส่ง Datagram ไปมาระหว่างโหนดต่างๆ ด้วย
Transport layer
   จะทำหน้าที่เช่นเดียวกับใน OSI Reference Model คือมีหน้าที่สร้างความน่าเชื่อถือในการจัดส่ง Datagram และช่วยในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจัดตั้งการเชื่อมต่อหรือสร้างวงจรเสมื่อน (Virtual Circuit) ซึ่งจะคล้ายกับการสนทนาใน OSI Model โดยเริ่มด้วยคำสังในการเปิด และสิ้นสุดด้วยคำสังปิด สำหรับในโลกของ TCP/IP นั้น แพ็กเก็ตข้อมูลจะถูกกำหนดเส้นทางการส่งจากแหล่งกำเนิดไปยังปลายทางผ่านเส้นทางที่ดีที่สุดในขณะนั้น ซึ่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลลักษณะนี้เรียกว่า Connectionless
Application Layer
   เลเยอร์นี้สามารถเทียบได้กับ Application Layer และ Presentation Layer ใน OSI Model โดยจะบรรจุโปรโตคอลหลายแบบที่ทำให้แอบพลิเคชั่นสามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายและบริการบนระบบเครือข่ายได้

องค์กรที่มีบทบาทต่อการกำหนดมาตรฐาน
   เนื่องจากหน่วยงานที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐาน มีบทบาทสำคัญสำหรับการพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย เราจึงพบชื่อย่อของหน่วยงานต่างๆ ที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานในเอกสารหรือ บทความทางเทคนิคบ่อยๆ ในส่วนต่อไปนี้        จะอธิบายเกี่ยวกับองค์กรกำหนดมาตรฐาน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ เครือข่ายและเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ANSI
  ANSI (American National Standards Institute) เป็นองค์กรอาสาสมัครที่ไม่มีผลกำไรจากการ ดำเนินงาน ประกอบด้วยกลุ่มนักธุรกิจและกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1918 มี สำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ค ANSI ทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานต่างๆ ของอเมริการให้เหมาะสมจากนั้นจะรับรองขึ้นไปเป็นมาตรฐานสากล ANSI ยังเป็นตัวแทนของอเมริกาในองค์กรมาตรฐานสากล ISO (International Organization for Standardization) และ IEC (International Electrotechnical Commission) ANSI เป็นที่รู้จักในการเสนอภาษาการเขียนโปรแกรม ได้แก่ ANSI C และยังกำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีระบบเครือข่ายอีกหลายแบบ เช่นระบบเครือข่ายความเร็วสูงที่ใช้เคเบิลใยแก้วนำแสง SONET เป็นต้น
IEEE
   IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) เป็นสมาคมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1884 ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีสมาชิกจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกประมาณ 150 ประเทศ IEEE มุ่งสนใจทางด้านไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรม และวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีชื่อเสียงอย่างมากในการกำหนด คุณลักษณะเฉพาะต่างๆ ของระบบเครือข่าย เกณฑ์การจัดตั้งเครือข่ายต่างๆ ถูกกำหนดเป็นกลุ่มย่อยของคุณลักษณะเฉพาะมาตรฐาน 802 ตัวอย่างที่รู้จักกันดีได้แก่ IEEE802.3 ซึ่งกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของระบบเครือข่าย Ethernet IEEE802.4 กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของระบบเครือข่ายแบบ Token-Bus และ IEEE802.5 ซึ่งกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของระบบเครือข่ายแบบ Token-Ring เป็นต้น
ISO
   ISO (International Standard Organization หรือInternational Organization for Standardization) เป็นองค์กรที่รวบรวมองค์กรมาตรฐานจากประเทศต่างๆ 130 ประเทศ ISO เป็นภาษากรีกหมายถึงความเท่าเทียมกัน หรือความเป็นมาตรฐาน (Standardization) ISO ไม่ใช่องค์กรของรัฐ มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้มีมาตรฐานสากล ซึ่งไม่เพียงแต่ในเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและการสื่อสาร แต่ยังรวมไปถึงการค้า การพาณิชย์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ สำหรับในส่วนของระบบเครือข่ายนั้น ISO เป็นผู้กำหนดมาตรฐานโครงสร้าง 7 เลเยอร์ของ ISO/OSI Reference Model นั่นเอง
IETF
   IEFT (Internet Engineering Task Force) เป็นกลุ่มผู้ให้ความสนใจเรื่องระบบเครือข่ายและการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การเป็นสมาชิกของ IETF นั้นเปิดกว้าง โดยองค์กรนี้มีการแบ่งคณะทำงานออกเป็นหลายกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มมุ่งสนใจเฉพาะในเรื่อง ต่างๆ กัน เช่น การกำหนดเส้นทางการส่งข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัย และระบบการออกอากาศข้อมูล (Broadcasting) เป็นต้น นอกจากนี้ IETF ยังเป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำ คุณสมบัติเฉพาะที่เรียกว่า RFC (Requests for Comment) สำหรับมาตรฐานของ TCP/IP ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอีกด้วย
EIA
   EIA (Electronics Industries Association) เป็นองค์กรกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ด้านฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ทางด้านโทรคมนาคม และการสื่อสารของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่นคุณลักษณะในการเชื่อมต่อผ่าน RS-232 เป็นต้น
W3C
   W3C (World Wide Web Consortium) ก่อตั้งในปี ค.ศ.1994 โดยมีเครือข่ายหลักอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น โดยมีภารกิจหลักในการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานของเว็บ ข้อเสนอที่ได้รับการพิจารณาและรับรองโดย W3C จะเป็นมาตรฐานในการออกแบบการแสดงผลเว็บเพจ เช่น Cascading, XML, HTML เป็นต้น
สื่อการเรียนการสอน
โดย พิมพ์พร แก้วเครือ  - 08 ต.ค. 2544
________________________________________
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
       สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน,แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น
สื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร
       สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
       1.สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
       1.1วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น
       1.2วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ รายการที่ใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น
       2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็ฯตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใครรู้ในรูปแบบต่าง ๆ มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหวไปสู่นักเรียนจำนวนมาก ได้ไกลๆ และรวดเร็ว และบางทีก็ทำหน้าที่เหมือนครูเสียเอง เช่น
เครื่องช่วยสอน ได้แก่เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง
เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย
       3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ

คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน้
       1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
       2.ขจัดปัญหาเกียวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
       3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
       4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
       5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
       6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
       7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
       8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม

ระบบสื่อการศึกษา
       นับตั้งแต่มนุษย์ได้รู้จักนำเอาสื่อ (media) มาใช้ในการสื่อความหมายก็ได้มีการพัฒนาเรื่อยมา จากสื่อที่ใช้สัญลักษณ์ รูป มาจนถึงสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ โดยธรรมชาติแล้วสื่อแต่ละประเภทจะมีคุณค่าอยู่ในตัวของมันเอง เพียงแต่ว่าผู้ผลิตและผู้ใช้จะสามารถดึงเอาคุณค่านั้นมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด สื่อใดก็ตามถ้าได้มีการวางแผนดำเนินการผลิตการใช้ อย่างมีระบบ ย่อมเกิดประโยชน์ทางการศึกษา ตามจุดมุงหมายที่วางไว้ วิธีการระบบสามารถนำมาใช้กับกระบวนการสื่อได้ทุกกระบวนการเช่น การเลือก การผลิต การใช้เป็นต้น
ในการเลือกสื่อด้วยวิธีระบบนั้น กูดแมน ได้เสนอวิธีการเลือกไว้ตามลำดับดังนี้
       1.พิจารณาดูว่าในจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมได้กำหนดให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมโดยการดู การฟัง หรือการกระทำ
       2.พิจารณาดูคุณลักษณะของผู้เรียน (อายุ ระดับชั้น ระดับสติปัญญา พัฒนาการทางการอ่านลักษณะทางร่างกาย พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น ) จะบ่งบอกได้ว่าสามารถใช้สื่อกับเด็กคนนั้นหรือกลุ่มนั้นได้บ้าง
       3.พิจารณาดูว่ามีสื่ออะไรบ้าง ที่จะสามารถนำมาใช้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ และใช้กับกลุ่มผู้เรียนที่มีลักษณะตามที่ต้องการดังกล่าวแล้วจะเกิดประโยชน์สูงสุด
       4.พิจารณาวิธีการนำเสนอที่จะใช้ได้อย่างเหมาะสม และในการนำเสนอนั้นมีสื่ออะไรบ้าง จะต้องเตรียมเครื่องมือประเภทใดในการนำเสนอครั้งนั้น
       5.นำเสนอเครื่องมือ โดยการสำรวจดูว่าเครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษาที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการเรียนครั้งนี้ที่มีอยู่ในสถานศึกษาหรือไม่ ถ้าไม่มีจะซื้อหรือหามาด้วยวิธีใด
       6.การวิเคราะห์สื่อและสำรวจสื่อที่ต้องการ โดยการวิเคราะห์สื่อในสถานศึกษาว่ามีอะไรบ้างที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนเนื้อหานั้น ๆ ให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้
       7.วิเคราะห์ขีดความสามารถของหน่วยงานผลิตสื่อที่ไม่ให้บริการหรือไม่มีขายได้หรือไม่ ถ้าผลิตเองได้ต้องวิเคราะห์ต่อไปอีกว่ามีงบประมาณที่จะใช้ในการผลิตหรือไม่และได้มาจากไหน
       8.พิจารณาดูว่าสื่อต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้กับวิธีการนำเสนอนั้น ๆ มีความเหมาะสมทั้งในแง่คุณภาพและราคาเพียงใดแล้วนำมาจัดลำดับความสำคัญสำหรับการเลือก
       9.เลือกวิธีการและสื่อที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเลือกตัวเลือกที่มีคุณภาพ และราคาเหมาะสม
       10.เลือกสื่อหรือผลิตสื่อที่ต้องการ ในขั้นนี้ ผู้ใช้จะได้สื่อที่ต้องการ แต่ถ้าสื่อนั้นไม่มีจะนำไปผลิตต้วยวิธีการระบบ
จะเห็นได้ว่า ในกระบวนการใช้วิธีการระบบในการเลือกสื่อ จะมีขั้นตอนที่ผูกพันกับการผลิตสื่ออยู่ด้วย
การเลือกและจัดหาสื่อการเรียนการสอน
            ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการเลือกสื่อได้แก่ จุดมุงหมายของการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการสอนลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และตลอดจนสิ่งอำนวยความสดวกที่มีอยู่นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
<ย่อหน่า>การกำหนกขั้นตอนในการเลือกสื่อการเรียการสอนได้กำหนดขั้นตอนในการเลือกไว้ 6 ขั้น สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาสื่อได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ของผู้เรียนกับการเลือกสื่อการเรียนการสอน การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้
home › blog › #19160
การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้
การบรรยายเรื่อง
การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา "การสร้างสรรค์ศึกษา"
กรณีของประเทศไทย
ณ โรงแรม เลอ รอยัล เมอริเดียน
วันพุธที่ 16 มกราคม 2545

ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นแผนแม่บทด้านการศึกษาของประเทศ และในมาตรา 4 ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ดังนี้
การศึกษา หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้นั้นเกิดกับบุคคล และสังคม ถ้าเราถือว่าคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้น การเรียนรู้ ก็คือการเรียนรู้ของคนในสังคมนั่นเอง
การเรียนรู้ทำได้หลายวิธี มีได้หลายรูปแบบ การเรียนรู้คือการสร้างสรรค์ที่จรรโลงความก้าวหน้า คือครีเอทีฟ เพื่อความก้าวหน้า และการเรียนรู้คือการสร้างองค์ความรู้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ใหม่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นั้นต้องการการเรียนรู้ที่เน้นและให้ความสำคัญ กับการสร้างสรรค์มาก หมายความว่า การเรียนรู้นั้น เราสามารถสร้างองค์ความรู้ได้จากทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นจึงเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่างประเทศไทยกับสหราชอาณาจักรในครั้งนี้
ถ้าเรามองว่าการศึกษาคือการสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์เป็นสิ่งยิ่งใหญ่ จากรายงานจะพบว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร และเศรษฐกิจของโลกขึ้นอยู่กับผลงานสร้างสรรค์ หลายหมื่นล้านปอนด์ นั่นหมายความว่าราคาของความสร้างสรรค์มีมูลค่าสูงมาก ถ้านับรวมทั้งโลกจะสูงถึงล้าน ล้าน ล้านทีเดียว เพราะฉะนั้นโลกปัจจุบันจึงเป็นโลกของการเรียนรู้โดยการสร้างสรรค์ ที่เรามาพูดกันในวันนี้
เมื่อได้ความหมายของการศึกษา ว่าหมายถึงการศึกษาเชิงสร้างสรรค์แล้ว ในมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้บอกจุดประสงค์ของการเรียนรู้ไว้อย่างชัดเจนว่า กระบวนการเรียนรู้นั้นเน้นการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา จนถึงภูมิปัญญา และวิทยาศาสตร์
วันนี้เรามีโอกาสได้ฟังผู้เชี่ยวชาญมานำเสนอให้เราเห็นว่า การศึกษาในเชิงสร้างสรรค์ จะนำไปใช้ในสาขาต่างๆ ได้อย่างไร ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ จะสร้างสรรค์ได้อย่างไร สร้างความรู้ได้อย่างไร สาขาศิลปะ ที่ต้องมีความคิดเชิงสร้างสรรคเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นดนตรี หรือการเขียน ที่ต้องมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการเรียงร้อยสิ่งต่างๆ ในการนำเสนอ เห็นได้ชัดว่า มาตรา 4 และมาตรา 7 จะช่วยให้การศึกษาไม่แห้งแล้ง แต่จะเป้นการเรียนรู้ที่มีความสุข และสนุกสนาน และท้ายที่สุดสิ่งที่เราสร้างสรรค์อย่างมีความสุขนั้น จะกลายมาเป็นทรัพย์สมบัติ สิทธิสมบัติของเราอย่างชัดเจน
ดังนั้น การเรียนอย่างสร้างสรรค์ และการทำงานเป็นเรื่องเดียวกัน ในประเทศไทยอาจไม่ค่อยมี แต่ในต่างประเทศ เราพบเสมอๆ ว่าเด็กมีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงาน และทำงานตั้งแต่อายุน้อยๆ หากเราสามารถพัฒนาการเรียนแบบสร้างสรรค์ได้ การเรียนกับการทำงานจะเป็นการบูรณาการในเรื่องเดียวกัน
การศึกษาระบบใหม่เป็นระบบที่เหมาะ และยืดหยุ่นให้กับการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก เพราะการศึกษาไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในห้องเท่านั้น นอกจากนี้ มาตรา 12 ยังเปิดโอกาสให้คนที่เข้ามาจัดการศึกษานั้นมีมากมาย หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ครอบครัว หรือสถาบันศาสนา และสิ่งสำคัญคือการศึกษาใหม่ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นั้นมีถึง 3 ระบบคือ การศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non-Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) และกฎหมายได้กำหนดให้ระบบการศึกษาทั้ง 3 ระบบสามารเทียบโอนการศึกษากันได้ นี่คือความยืดหยุ่น เป็นการลดความแข็งของระบบการศึกษา เพื่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ความคิดริเริ่ม" และ "สร้างสรรค์"
นอกจากนี้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ยังมีสิ่งที่โดดเด่นมากคือในมาตรา 22 ที่เปลี่ยนความเชื่อและหลักการเกี่ยวกับผู้เรียนค่อนข้างมาก โดยเชื่อว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ ซึ่งหมายความว่าเราเชื่อในพลังแห่งการเรียนรู้ของผู้เรียน เชื่อในพลังแห่งการสร้างสรรค์ของแต่ละคน ซึ่งนับว่าเป็นความเชื่อที่ยิ่งใหญ่มาก ประการต่อมาเราเชื่อว่าผู้เรียนแต่ละคนสามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพของตัวเอง ได้ การศึกษาเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน
ถ้าเรามองว่าการศึกษาเชิงสร้างสรรค์เป็นรูปแบบและวิธีการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ในมาตรา 4 และมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เราสามารถบูรณาการเข้ากับเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ได้อย่างไร วันนี้จะมีตัวอย่างการบูรณาการในวิชาวิทยาศาสตร์ และศิลปะ
มาตรา 24 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กล่าวถึงเนื้อหาวิชาไว้อย่างสมบูรณ์ และชัดเจน และในมาตรา 24(5) กำหนดวิธีการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย เพื่อพัฒนาพลังแห่งการสร้างสรรค์ให้เป็นระบบ เพราะการวิจัยเป็นการทำงานโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ นอกจากนี้ในมาตรา 25 กล่าวถึง แหล่งเรียนรู้ ว่ามิได้จำกัดตายตัวอยู่แต่เพียงในห้องเรียน สถานที่ต่างๆ เช่น ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ ก็ถือเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญเช่นกัน
แต่เดิมเราเคยมีปัญหาเกี่ยวกับข้อกำหนดของหลักสูตร แต่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้หลักสูตรมี 2 ระบบ คือ หลักสูตรกลาง หรือหลักสูตรชาติ และหลักสูตรของโรงเรียนที่พัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและศักยภาพของผู้ เรียน และชุมชน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้การปฏิรูปการศึกษา เป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ ทำอย่างไรจึงมีการเรียนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างพลังศักยภาพของสังคมของคนไทย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ในฐานะของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของชาติ จึงสนใจและทำการศึกษาเรื่อง "การศึกษาเชิงสร้างสรรค์" นี้ เพื่อให้นโยบายด้านการศึกษาของชาติ สามารถพัฒนาเป็นแผนโดยการบูรณาการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์นี้ให้เข้ากับราย วิชาต่างๆ ได้อย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ที่มา
:ดร.รุ่ง แก้วแดง
:http://library.uru.ac.th/webdb/images/Create_Edu.htm
การเรียนรู้ หมายถึงอะไร?
โพสต์เมื่อ 09.02.2012 01:30 | แท็ก: classical learning conditioning gestalt operant | จำนวนผู้เยี่ยมชม : 1036 | ยังไม่มีคอมเมนต์
กลุ่ม :
การเรียนรู้ (Learning) ความหมายของการเรียนรู้ การเรียนรู้ (Learning) คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้าง ถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มาจากภาวะชั่วคราว วุฒิภาวะ หรือสัญชาตญาณ(Klein 1991:2)
ความหมายของการเรียนรู้ การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร โดยเป็นผลจากการฝึกฝนเมื่อได้รับการเสริมแรง มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติที่เรียกว่า ปฏิกิริยาสะท้อน (Kimble and Garmezy) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเป็นผลจากการฝึกฝนและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Hilgard and Bower) การเรียนรู้เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละคนได้ประสบมา (Cronbach) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลได้พยายามปรับพฤติกรรมของตน เพื่อเข้ากับสภาพแวดล้อมตามสถานการณ์ต่าง ๆ จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมายตามที่แต่ละบุคคลได้ตั้งไว้ (Pressey, Robinson and Horrock, 1959)
ความหมายของการเรียนรู้ (Mednick, 1959)
1. การเรียนรู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
2. การเรียนรู้เป็นผลจากการฝึกฝน
3. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรจนเป็นนิสัย มิใช่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซื่อตรง
4. การเรียนรู้ไม่อาจสังเกตได้โดยตรง แต่ทราบจากการกระทำที่เป็นผลจากการเรียนรู้
เพราะฉะนั้นเราสามารถสรุปได้ว่า การเรียนรู้หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ หรือวุฒิภาวะ หรือพิษยาต่าง ๆ หรืออุบัติเหตุ หรือความบังเอิญ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้
เมื่อบุคคลเกิดการเรียนรู้ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้ (Bloom, 1959)
1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้ ความเข้าใจ และความคิด (Cognitive Domain) หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระใหม่ ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้มากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมอง
2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ทัศนคติ ค่านิยม (Affective Domain) หมายถึง เมื่อบุคคลได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ก็ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกทางด้านจิตใจ ความเชื่อ ความสนใจ
3. ความเปลี่ยนแปลงทางด้านความชำนาญ (Psychomotor Domain) หมายถึง การที่บุคคลได้เกิดการเรียนรู้ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และเกิดความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ความสมใจด้วยแล้ว ได้นำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติ จึงทำให้เกิดความชำนาญมากขึ้น เช่น การใช้มือ เป็นต้น
ธรรมชาติของการเรียนรู้เป็นกระบวนการชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย (Cronbach, 1959)
1. จุดมุ่งหมายของผู้เรียน (Goal) หมายถึงสิ่งที่ผู้เรียนต้องการหรือสิ่งที่ผู้เรียนมุ่งหวัง การเรียนอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย คือไม่ทราบว่าจะเรียนไปทำไม ย่อมจะไม่บังเกิดผลดีขึ้นได้ ครูควรชี้ให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายในการเรียนวิชาต่าง ๆ ว่าคืออะไร เพื่ออะไร
2. ความพร้อม (Readiness) เป็นลักษณะเฉพาะตัวของนักเรียนหรือผู้เรียนแต่ละคนหมายรวมถึงวุฒิภาวะของผู้ เรียนด้วย คนที่มีความพร้อมจะเรียนได้ดีกว่าทั้ง ๆ ที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน จึงควรสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับนักเรียนเพื่อให้เขาพร้อมที่จะเรียนได้
3. สถานการณ์ (Situation) หมายถึง สิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่มากระทำต่อผู้เรียน เช่น การเรียนการสอน สถานการณ์ต่าง ๆ ฯลฯ คนหรือสัตว์จะเรียนรู้ได้ดีเมื่อได้เข้าไปมีประสบการณ์ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างแท้จริง
4. การแปลความหมาย (Interpretation) เป็นการศึกษาหาลู่ทางในสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่เพื่อเข้าไปสู่จุดมุ่ง หมาย หรือการวางแผนการกระทำเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยพิจารณานำสิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ การจะบรรลุจุดมุ่งหมายนั้นอาจมีหลายวิธี และอาจจะมีวิธีหนึ่งที่ดีที่สุด การที่คนจะเลือกวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการแปลความหมายเป็นสำคัญ
5. ลงมือกระทำ (Action) เมื่อแปลสถานการณ์แล้ว ผู้เรียนจะลงมือตอบสนองสถานการณ์หรือสิ่งเร้าในทันที การกระทำนั้นผู้เรียนย่อมจะคาดหวังว่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้เขา บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
6. ผลที่ตามมา (Consequence) หลังจากตอบสนองสิ่งเร้าหรือสถานการณ์แล้ว ผลที่ตามมาคือ อาจจะประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย จะเกิดความพอใจ (Confirm) ถ้าไม่ประสบผลสำเร็จย่อมไม่พอใจ ผิดหวัง (Contradict) ถ้าประสบผลสำเร็จก็จะเป็นแรงจูงใจให้ทำกิจกรรมอย่างเดิมอีก ถ้าไม่บรรลุจุดมุ่งหมายอาจหมดกำลังใจ ท้อแท้ที่จะตอบสนองหรือทำพฤติกรรมต่อไป
7. ปฏิกิริยาต่อความผิดหวัง (Contradict) ซึ่งจะกระทำใน 2 ลักษณะคือ ปรับปรุงการกระทำของตนใหม่เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยย้อนไปพิจารณาหรือแปลสถานการณ์หรือสิ่งเร้าใหม่ แล้วหาวิธีกระทำพฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายปลายทางให้ได้ อีกประการหนึ่ง อาจเลิกไม่ทำกิจกรรมนั้นอีก หรืออาจจะกระทำซ้ำ ๆ อย่างเดิมโดยไม่เกิดผลอะไรเลยก็ได้ http://gotoknow.org/blog/useit/44534
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theoryleaning) การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวรอันเป็นผลมาจาก ประสบการณ์ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจมี 3 ด้านดังนี้ (ตามหลัก Bloom)
1. พฤติกรรมด้านสมอง (Cognitive Domain) ได้แก่ ความรู้ – จำ ความเข้าใจ
2. พฤติกรรมด้านจิตใจ (Affective Domain) ได้แก่ อารมณ์ ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติ
3. พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory leaning) แบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ
1. ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Associative) การเรียนรู้โดยมีสิ่งเร้ามาเชื่อมโยงทำให้เกิดการตอบสนองขึ้น แบ่ง 2 กลุ่ม • ทฤษฎีความเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Connectionism) นักทฤษฎี Thorndike ,Guthrie ,Hull • ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning) แบบคลาสสิค (Classical) ได้แก่ Pavlov แบบการกระทำ (Operant) ได้แก่ Skinnre
2. ทฤษฎีความเข้าใจ (สนาม) ได้แก่ Gestalt - เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer) - คอฟกา (Kurt Kofga) - เลอวิน (Kurt Lewin) - โคเลอร์ (Wolfgang Kohler) ทฤษฎีเชื่อมโยง Thorndike หรือเรียกว่า ทฤษฎีลองผิดลองถูก (Trial and Error) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง การทดลอง เอาแมวหิวใส่กรง สิ่งเร้า S R2 S R R3 การตอบสนอง
กฎการเรียนรู้ 3 กฎ
1. กฎแห่งผล (Law of Effect) คือ การเรียนรู้จะเกิดผลดีถ้ามีการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองในลักษณะที่พอ ใจ 2. กฎแห่งการฝึก (Law of Exercise) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่ออินทรีย์ได้รับการฝึกฝนบ่อยครั้ง 1. กฎแห่งการใช้ (Law of Used) มีการกระทำหรือใช้บ่อย ๆ การเรียนรู้จะยิ่งคงทนถาวร
2. กฎแห่งการไม่ใช้ (Law of Disused) ไม่มีการกระทำหรือไม่ใช้การเรียนรู้ก็อาจเกิดการลืมได้
3. กฎแห่งความพร้อม ((Law of Leadines)การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนพร้อมที่จะเรียน
หลักการที่สำคัญของทฤษฎีนี้ ถือว่า รางวัลเป็นสิ่งที่สำคัญทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ วิธีการให้รางวัลสมควรให้ผู้เรียนให้ทันทีที่ได้กระทำพฤติกรรมนั้น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ (Skinner’ s Operant Conditioning) การทดลอง เอาหนูใส่กล่องเก็บเสียงฝากล่องมีคานยื่นมา เมื่อหนูกดคานจะบังคับอาหารให้หล่นลงมา หนูต้องทำจึงได้รับ R (การกดคาน) S (อาหาร)
การเสริมแรง เป็นหลักในการนำมาสร้างบทเรียนโปรมแกรม หรือบทเรียนสำเร็จรูป (จะมีคำถามและคำตอบ) ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ของ Pavlov การทดลอง เอาหมาที่กำลังหิวยืนบนแท่นมีที่รั้งไม่ให้สุนัขเคลื่อนที่ เจาะรูเล็ก ๆ ที่แก้มเอาหลอดยาใส่ท่อน้ำลาย
ผลการทดลองของ ฟาลอฟ ประกอบด้วย วางเงื่อนไข แบบแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข = การเรียนรู้ ถ้าจะให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีต้องมีการวางเงื่อนไขพร้อม ๆ กัน คือให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขในเวลาพร้อมกัน
กฎการเรียนรู้ 4 กฎ
1. กฎการลบพฤติกรรม (Law of Extinction) การตอบสนองที่เคยปรากฏจะไม่ปรากฏถ้านำสิ่งเร้านั้นออก
2. กฎการคืนสภาพเดิม (Law of Spontaneous recovery) หลังจากที่ลบพฤติกรรมนั้นไปแล้วจะไม่เกิดพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขนั้นอีก แต่ระยะหนึ่งหรือบางครั้งก็อาจเกิดพฤติกรรมนั้นได้อีก
3. กฎการสรุปความเหมือน (Law of Generalization) ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่มีการวางเงื่อนไข อินทรีย์จะตอบสนองเหมือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น
4. กฎการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination) เป็นลักษณะที่ผู้เรียนสามารถแยกแยะสิ่งที่แตกต่างกันได้เช่น งูเห่ามีพิษ งูสิงห์ไม่มีพิษ ฉะนั้นหลักการสำคัญ Classical Conditioning จะเน้นปฏิกิริยาสะท้อนของมนุษย์ที่เกิดขึ้น และนำเอาปฏิกิริยาสะท้อนเหล่านั้นมาวางเงื่อนไขคู่กับ สิ่งเร้าต่าง ๆ สิ่งเร้าต่าง ๆ จะทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ขึ้น กฎการเรียนรู้ของกลุ่ม กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) การเรียนรู้เรียนที่เน้นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย
การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะ
1. การรับรู้ (Perception) การแปลความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัส 5 ส่วน หู- ตา – จมูก – ลิ้น – กาย
2. การหยั่งเห็น (Insight) การเกิดความคิดขึ้นมาทันทีทันใดในขณะประสบปัญหา โดยการมองเห็นปัญหาตั้งแต่เริ่มแรก จนแก้ปัญหาได้
สรุปแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ แต่ละท่านได้ดังนี้
1. การเรียนรู้แบบหยั่งรู้ (Insight Learning) เจ้าของทฤษฎีคือ โคเลอร์ (Wolfgang Kohler) โดยจะรวมปัญหาแล้วจึงแยกเป็นข้อย่อย ก็จะเกิดความคิดขึ้นมาทันที ที่เรียกว่าการหยั่งเห็น การหยั่งเห็นจะเกิดขึ้นรวดเร็วขึ้นอยู่กับ 1. มีแรงจูงใจ , 2. มีประสบการณ์เดิม ,3.มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งเร้ากับปัญหาได้
2. หลักการเรียนรู้ของ เลอวิน (Kurt Lewin) ได้แยกมาตั้งทฤษฎีใหม่ ชื่อว่า ทฤษฎีสนาม (Field Theory) การเรียนรู้เกิดจากการสร้างแรงขับให้เกิดขึ้น แล้วพยายามชักนำพฤติกรรมการเรียนรู้ไปจุดหมายปลายทาง (goal) เพื่อตอบสนองแรงขับที่เกิดขึ้น



 การศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากความจำเป็น ด้านที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษาจึงเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต เป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุก ๆ ด้านของชีวิตและเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตในโลกที่มีกระแสความ เปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง รวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถีดำรงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันการ ศึกษายิ่งมีบทบาทและความจำเป็นมากขึ้นด้วย
ที่มาและข้อมูลเพิ่มเติม
http://gotoknow.org/blog/panom/101128

ความหมายของการศึกษา
ยัง ยัคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษาคือ การปรับปรุงคนให้เหมาะกับ โอกาสและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษาคือการนำความสามารถในตัวบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ความหมายของการศึกษา
โจฮัน เฟรดเดอริค แฮร์บาร์ต (John Friedich Herbart) ให้ความหมายของการศึกษาว่า
การศึกษาคือ การทำพลเมืองให้มีความประพฤติดี และมีอุปนิสัยที่ดีงาม

เฟรด ดเอริค เฟรอเบล (Friedrich Froebel) การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กเพื่อให้เด็กพัฒนาตนเอง

จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้หลายความหมาย คือ
1. การศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่เตรียมตัวเพื่อชีวิต
2. การศึกษาคือความเจริญงอกงาม
3. การศึกษาคือกระบวนการทางสังคม
4. การศึกษาคือการสร้างประสบการณ์แก่ชีวิต

คาร์เตอร์ วี. กู๊ด (Carter V. Good) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ 3 ความหมาย คือ
1. การศึกษาหมายถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่บุคคลนำมาใช้ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ เจตคติ ความประพฤติที่ดีมีคุณค่า และมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม
2. การศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคมที่ทำให้บุคคลได้รับความรู้ความสามารถจากสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนจัดขึ้น
3. การศึกษาหมายถึงการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษา

ม.ล.ปิ่น มาลากุล การศึกษาเป็นเครื่องหมายที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามในตัวบุคคล

ดร. สาโช บัวศรี การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคคลและสังคมที่ทำให้คนได้มีการเรียนรู้ และพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
สรุป การศึกษา เป็นกระบวนการให้ส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาจนเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณธรรมสูง
ที่มา
:http://www.suphet.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=110827&Ntype=2


การเรียนรู้ (Learning)
1. หมายถึง กระบวนการที่ประสบการณ์ตรงและประสบการณ์ทางอ้อมกระทำให้อินทรีย์ เกิดการเลี่ยนแปลง
2. หมายถึง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อันเนื่องมาจากได้รับประสบการณ์ (Experience)
ประสบการณ์ (Experience) คือ การที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสปะทะ (Interaction) กับสิ่งแวดล้อม (Environment) ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางสังคม (มนุษย์ด้วยกัน) และสิ่งแวดล้อมทางขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ที่บุคคลปะทะแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขึ้น
ปกติสภาพแวดล้อมมีทั้งดีและไม่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดีจะเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดี ในทางตรงข้ามถ้าสิ่งแวดล้อมไม่ดีก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางไม่ดี ทั้งนี้เมื่อพันธุกรรมเป็นตังคงที่ ดังนั้นถ้าต้องการให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางดี (การศึกษา – เจริญงอกงาม) จึงไม่อาจปล่อยให้บุคคลไปปะทะกับสิ่งแวดล้อมโดยอิสระ จำเป็นต้องจัดสถานการณ์เฉพาะให้บุคคลปะทะถึงสิ่งแวดล้อมที่ดี และนี่คือที่มาของ การจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษา จุดมุ่งหมายสำคัญก็เพื่อให้มี การสอน ที่ถูกต้องชัดเจน


ความหมายของการสอน
- การสอน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้
- การสอน หมายถึง การจัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
- การสอน หมายถึง การฝึกให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาต่าง ๆ
- การสอน หมายถึง การแนะแนวทางแก่ผู้เรียนเพื่อให้ศึกษาหาความรู้
- การสอน หมายถึง การสร้างหรือการจัดสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
- การสอน หมายถึง กระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความคิดที่จะนำความรู้ไปใช้เกิดทักษะหรือความชำนาญที่จะแก้ปัญหาได้ อย่างเหมาะสม
- การสอน หมายถึง การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้นักเรียนได้ปะทะเพื่อที่จะให้เกิดการเรียนรู้ หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น การสอนจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ก่อให้เกิดการเจริญงอกงาม
การสื่อสารกับการเรียนการสอน
การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
1. การเรียนรู้ (Learning) การ เรียนรู้โดยทั่วไป หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
2. การสอน (Instruction) หมาย ถึง การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนการให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไป ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูสื่อสาร และวิธีสอน1. สื่อ ( Medium หรือ Media) สื่อเป็นช่องทางของการสื่อสาร (Communication) มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน หมายถึง ระหว่าง (Between) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศ (Information) ระหว่าง ผู้สื่อกับผู้รับเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ ผู้สอนและอื่นๆ ซึ่งเมื่อใช้สิ่งเหล่านี้นำสารเพื่อการเรียนการสอน เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า
             สื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media) สื่ออาจมีหลายรูปแบบ หรือหลายลักษณะ (Format) แม้แต่สื่อประเภทเดียวกัน ก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ภาพยนตร์ มีทั้งขนาด 8 16 และ 35 มิลลิเมตร เทปคาสเสทก็เป็นสื่ออีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสื่อเกี่ยวกับเสียง และสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อในรูปแบบของภาษา (Verbal) เป็นต้น วัสดุ (Material s ) หมาย ถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นชิ้นหรือเป็นอัน เมื่อนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน อาจเรียกว่า วัสดุการสอนหรือวัสดุการเรียนการสอน โสตทัศนวัสดุ (Audio visual Material s ) หมาย ถึง วัสดุ อุปกรณ์และกิจกรรมต่างๆ (หรือประสบการณ์ทางการศึกษา) ทั้งหลายที่จัดขึ้นมา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส
               สรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ครูและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. สาร (Messages) ใน กิจกรรมการเรียนการสอนใดๆ ก็ตาม ย่อมมีสาร หรือเนื้อหาสาระในการสื่อสารการสอน ซึ่งสารดังกล่าวอาจจะเป็นเนื้อหาวิชา แนวทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คำถามเกี่ยวเรื่องที่ศึกษาคำตอบ หรือคำอธิบายรวมทั้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับสารก็คือ สื่อจะเป็นพาหะนำสาร
          ดัง นั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูหรือผู้สอนที่จะต้องเลือกสรรสื่อที่ดี ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำสารสู่ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. วิธีสอน วิธีสอน (Instructional Methods) โดยทั่วไป มักอธิบายในลักษณะของการนำเสนอแบบต่างๆ (Presentation Forms) เช่น การบรรยาย และการอภิปราย เป็นต้น วิธีสอนกับสื่อการสอนไม่เหมือนกัน วิธีสอนเป็นลักษณะของกระบวนการที่ใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียน หรือเนื้อหาสาระในการเรียน ส่วนสื่อเป็นเพียงพาหะนำสารหรือเนื้อหาความรู้ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับ
การสื่อสารการสอนการสอน เป็นการจัดสภาพแวดล้อมและเนื้อหาความรู้ (Information) เพื่อ เกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การส่งผ่านความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียนเป็นการสื่อสาร จากหลักการสื่อสารจะเห็นว่าการสื่อสารกับการเรียนการสอนมีลักษณะคล้ายคลึง กันมาก จนกล่าวได้ว่าการเรียนการสอนเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง
          อย่าง ไรก็ตาม การเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเฉพาะลึกซึ้งกว่าการสื่อสาร การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการให้ข่าวสารความรู้ แต่การเรียนการสอนเป็นการสื่อสารเฉพาะที่มีการออกแบบวางแผน (Designed) ให้ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอน การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการพื้นฐานในการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้
          การสอนเป็นการจัดการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การถ่ายโอนความรู้หรือสารสนเทศจากผู้สื่อไปยังผู้รับ เรียกว่าการสื่อสาร การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ ย่อมหมายถึงการได้รับความรู้ข่าวสารใหม่ๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้การสอนจึงเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง ดังนั้น เพื่อให้สามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสาร และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนวิธีการแก้ไข เพื่อเป็นแนวคิดใน การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนต่อไป
1. องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
          1) ผู้สื่อ (Source, Sender หรือ Encoder)
          2) ผู้รับ (Receiver หรือ Decoder) และ
          3) สาร (Messages)
2. กระบวนการสื่อสาร (Communication Process)
          กระบวนการสื่อสารอาจอธิบายได้หลายรูปแบบ (Models) รูปแบบที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ SM CR Model
3. ปัญหาการสื่อสาร
          ปัญหาการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านจิตวิทยา เช่น ปัญหาเกี่ยว กับผู้รับไม่สนใจ ไม่ยอมรับรู้ ผู้สื่อสารชอบใช้ภาษาพูด (Verbal ism) ส่วน ปัญหาด้านกายภาพ เช่น ความไม่สะดวก และความห่างไกลจากแหล่งความรู้ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในกระบวนการสื่อสารถ้านำสื่อต่างๆ เข้ามาใช้ก็จะสามารถลดปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้



ความต่อเนื่องระหว่างรูปธรรมนามธรรม
จำแนก และการบูรณาการ เป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ ดังนั้นการชี้แนะจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสอน และการสอนก็เป็นภารกิจสำคัญของครู ด้วยเหตุนี้ ครูจึงต้องเป็นบุคคลที่สามารถจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนได้อย่างเหมาะสมกับ ตัวผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามจุดมุ่งหมายของการสอน
           กรวยประสบการณ์ของ เอดการ์ เดล (Edgar Dale)
การ สอนโดยทั่วไปควรเริ่มจากประสบการณ์ตรง ผ่านไปยังประสบการณ์จำลอง ( เช่น รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิและภาพยนตร์ ) ไปสู่สัญลักษณ์ ซึ่งการเรียนจากสื่อต่างๆ ทั้งหลายจะมีผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การสอนควรควบคู่ไปกับการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจำแนก - บูรณาการ ดังนั้น ประสบการณ์รูปธรรมและ / หรือกึ่งรูปธรรม จะช่วยเกื้อหนุนการเรียนรู้และจดจำได้นาน ตลอดจนช่วยให้เข้าใจสัญลักษณ์หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ดีขึ้น
วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) Abstract
ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols) -------------------------------
การบันทึกเสียง วิทยุและภาพนิ่ง
(Recording, Radio and Iconic
Still Pictures)
ภาพยนตร์ (Motion Pictures)
โทรทัศน์ (Television) -------------------------------
นิทรรศการ (Exhibits)
การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
การสาธิต (Demonstrations)
ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experiences) En active
ประสบการณ์จำลอง (Contrived Experiences)
ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย

(Direct, Purposeful Experiences) -----------------------
นอก จากสื่อการสอนจะให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมแก่ผู้เรียน แล้วสื่อการสอนยังช่วยให้ผู้เรียนได้บูรณาการประสบการณ์เดิมทั้งหลายเข้า ด้วยกันอีกด้วย ดังนั้นการจัดประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมอย่างเหมาะสมในการเรียน การสอน จึงเป็นเหตุผลหรือหลักการสำคัญในการใช้สื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

พื้นฐานทางจิตวิทยาของการเรียนรู้
 1. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist Perspective) นัก จิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม หรือนักจิตวิทยากลุ่มความรู้ความเข้าใจ เชื่อว่ามนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์ ประสบการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม จุดเริ่มของการเรียนรู้จะอยู่ที่การรู้จักจำแนก (Differentiation) สิ่งต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันออกจากกัน และสามารถจัดไว้เป็นกลุ่มหรือพวก ประสบการณ์ในการรู้จำแนกจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิด (Concept) ในเรื่องนั้นๆ กระบวนการขั้นต่อไปก็คือ การนำแนวคิดเหล่านั้นมาบูรณาการ (Integration) เข้า ด้วยกัน เกิดการเรียนรู้ขึ้นเป็นหลักการ และทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเป็นความรู้ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นนามธรรมและสามารถเชื่อมโยงความรู้ ที่ได้นี้ไปเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในสิ่งอื่นๆ ต่อไป
          Schemata (Schema)
          Assimilation
          Accommodation
2. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist Perspective) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เชื่อว่าการเรียนรู้คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
          1. แรงขับ (Drive) หมายถึง ความต้องการของผู้เรียน ซึ่งจะจูงใจผู้เรียนให้หาทางสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง
          2. สิ่งเร้า (Stimulu s) สิ่งเร้าอาจเป็นความรู้หรือการชี้แนะจากครูหรือจากแหล่งการเรียน (สื่อ) ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบสนอง
          3. การตอบสนอง (Response) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่สังเกตได้จากพฤติ กรรมของผู้เรียนที่แสดงออกมา
          4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้อง
               สื่อ การสอนเปรียบเสมือนสิ่งเร้าเพื่อการเรียนรู้ ตัวอย่างสื่อการสอนที่ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้นี้ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม ชุดการสอนและนวกรรมการสอนประเภทต่างๆ
3. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ ( Constructivist Perspective ) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องจากกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist) ที่ เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เรียน ด้วยการนำความรู้เดิม (ประสบการณ์) มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างมีเหตุผล แล้วประมวลเป็นความรู้ใหม่เพื่อนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาต่อไป ทั้งนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างสรรค์ด้วยการแปลความหมาย (Interpretation) ข้อมูล และสารสนเทศที่มีอยู่รอบๆ ตัวด้วยตนเองดังนั้น จุดประสงค์การเรียนการสอนจึงไม่ใช่การสอนความรู้ แต่เป็นการสร้างสรรค์สถานการณ์ต่างๆ ที่ผู้เรียนสามารถแปลความหมายของข้อความรู้ต่างๆ เพื่อความเข้าใจด้วยตัวของผู้เรียนเองดังนั้น การเรียนการสอนตามความเชื่อของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ก็คือ การชี้แนะแนวทางการเรียนเพื่อเกิดการเรียนรู้ตามความสามารถของผู้เรียน การวัด และประเมินผลการเรียนจะอยู่บนพื้นฐานของความสามารถของผู้เรียนในการใช้ความ รู้เพื่อเกื้อหนุนการคิดในการดำรงชีวิตจริง
4. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มจิตวิทยาสังคม ( Social-Psychological Perspective ) จิตวิทยา สังคมเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่รู้จักกันมานานในการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการส อน นักจิตวิทยาสังคมเชื่อว่า ลักษณะกลุ่มสังคมในห้องเรียนมีผลต่อการเรียนรู้ เช่น การเรียนแบบอิสระ การเรียนเป็นกลุ่มเล็ก หรือการเรียนรวมทั้งชั้น บทบาทสำคัญของการเรียนจะอยู่ที่ว่า ผู้เรียนสามารถควบคุมกิจกรรมการเรียนได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีผลดีกว่าการเรียนแบบแข่งขัน (Competitive Learning
เทคโนโลยีเพื่อการเรียน
เทคโนโลยี (Technology) คำว่า เทคโนโลยี อาจให้ความหมายได้ 3 ทัศนะ ดังนี้
           1) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นกระบวนการ (Technology as a P recess) หมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่นๆ ในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีระบบ
          2) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นผลผลิต (Technology as P redact) หมายถึง เครื่องมือ (Hardware) และวัสดุ (Software) อัน เป็นผลมาจากการประยุกต์ใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี ฟิล์มภาพยนตร์เป็นวัสดุ เครื่องฉายภาพยนตร์เป็นเครื่องมือ และต่างก็เป็นผลผลิตของเทคโนโลยี
          3) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นทั้งกระบวนการและผลิตผล (Technology as a Mix of Process and Product) เป็นการกล่าวถึง เทคโนโลยีในแง่ (1) การใช้วิธีการ และเครื่องมือหรือวัสดุร่วมกันในเวลาเดียวกัน (2) การใช้เครื่องมือและวิธีการแยกจากกันในเวลาเดียวกัน เช่น เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับวัสดุ (Software หรือ Program) อย่างสัมพันธ์กัน
          การ นำสื่อโสตทัศน์ทั้งหลายมาใช้ในการปรับปรุงการสื่อสารและการเรียนการสอน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์การเรียนการสอน ซึ่งเป็นผลิตผลของเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนมีความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งไปกว่าการสื่อสาร เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นวิธีการหรือกระบวนการ (Technology as a P recess) จึงเป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่างๆ ทางการสอนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
          เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และแขนงวิชาอื่นๆ มาใช้ในการปฏิบัติภารกิจ ดังนั้น เทคโนโลยีการสอน จึงหมายถึง
การ ประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และแขนงวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น เทคโนโลยีการสอน จึงเป็นการออกแบบระบบการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถจัดความรู้ ทักษะ และเจตคติหรือการเรียนรู้ทั้งหลายให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          เทคโนโลยี การสอนได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนและก่อให้เกิดวิธีหรือ แนวปฏิบัติใหม่ๆ หรือที่เรียกว่า นวกรรมการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบ เช่น การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer - Based Instruction : CB) การสอนโดยใช้ระบบเสียง (Audio-tutorial Systems) การสอนแบบโมดุล (Modular Instruction) เกมและสถานการณ์จำลอง (Game and Simulation) เป็น ต้น เทคโนโลยีการสอนบางลักษณะจึงเป็นการใช้สื่อโสตทัศน์และหรือเครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งสิ่งพิมพ์ต่างๆ ร่วมกันในลักษณะของสื่อประสม (Miltie media) แต่ เทคโนโลยีการสอนจะมีลักษณะเฉพาะ ที่แตกต่างไปจากการใช้สื่อการเรียนการสอนแบบธรรมดา กล่าวคือ เทคโนโลยีการสอน จะเน้นผู้เรียนและกระบวนการเรียนการสอน และยึดหลักการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสำคัญ
          บท เรียนโปรแกรมเป็นตัวอย่างที่ดีของเทคโนโลยีการสอน บทเรียนโปรแกรมยึดหลักการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเฉพาะทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ซึ่งสกินเนอร์ (B. F. Skinner) ได้ พัฒนาบทเรียนโปรแกรมขึ้นมา โดยจัดบทเรียนเป็นขั้นตอนสั้นๆ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับทุกขั้นตอนการเรียนและได้รับการเสริมแรง เมื่อตอบสนองถูกต้อง การเสริมแรงและข้อมูลย้อนกลับเป็นผลแห่งความรู้ (Knowledge of Results) หรือ เกิดการเรียนรู้ขึ้นมาในตัวผู้เรียนนั่นเอง ดังนั้น การสอนโดยใช้บทเรียนโปรแกรมหรือการสอนแบบโปรแกรม จึงเป็นกระบวนการที่ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียน (Active Process) ไม่ใช่ผู้เรียนรอรับความรู้แต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งต่างจากการสื่อสาร การสื่อสารเป็นเพียงบันไดขั้นแรกของการเรียนรู้เท่านั้น
           อาจจะกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีการสอนได้พัฒนามาจากทฤษฎีการเสริมแรง ซึ่งทฤษฎีการเสริมแรงนี้ จัดว่าเป็นทฤษฎีพื้นฐานที่ก่อให้เกิดเทคโนโลยีการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบ อย่างไรก็ตามทฤษฎีอื่นๆ เช่นกลุ่มสัมพันธ์ จิตวิทยากลุ่มความรู้นิยม ทฤษฎีสารสนเทศ (Information Theory) และจิตวิทยาพัฒนาการ ต่างก็มีความสำคัญในการเกื้อหนุนให้เทคโนโลยีการสอนพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง
บทบาทของสื่อในการเรียนการสอน
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า สื่อและเทคโนโลยีการสอน สนับสนุนยุทธวิธีเบื้องต้นของการเรียนการสอนได้หลายประการ ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ใช้ สื่อ/เทคโนโลยีช่วยการสอนของครู การใช้สื่อลักษณะนี้เป็นวิธีที่เรารู้จักและคุ้นเคยมากที่สุด โดยครูนำสื่อมาใช้เพื่อช่วยการสอน การใช้สื่อในลักษณะนี้จะช่วยให้การสอนสัมฤทธิ์ผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ ความสามารถของครู ดังนั้น ถ้าครูจะนำสื่อมาใช้ช่วยในการสอน ครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับหลักสูตร ระบบการสอนและเทคนิคต่างๆ ในการใช้สื่อ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2. สื่อ ช่วยผู้เรียนฝึกทักษะและการปฏิบัติได้ เป็นการจัดสื่อไว้ในลักษณะห้องปฏิบัติการ โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้ภายใต้การชี้แนะของครู เช่น การใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษา การเรียนจากบทเรียนโปรแกรม ตลอดจนการฝึกปฏิบัติอื่นๆ และการทำแบบฝึกหัดหรือการค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นต้น
3. ช่วยการเรียนแบบค้นพบ สื่อการสอนสามารถช่วยการจัดการเรียนการสอนแบบค้นพบหรือการสอนแบบสืบเสาะ (Inquiry Approach) ได้ เป็นอย่างดี เช่น การใช้วิดีโอช่วยสอนวิทยา ศาสตร์กายภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเฝ้าสังเกตภาพและเนื้อหา จนสามารถค้นพบข้อสรุปหรือหลักการต่างๆ ได้
4. สื่อ ช่วยจัดการเกี่ยวกับการสอน สื่อการเรียนการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนกับผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์หรือมีความ สัมพันธ์ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ดังนั้น สื่อและเทคโนโลยี จึงทำให้บทบาทของครูเปลี่ยนไปจากการเป็นผู้บอกความรู้ มาเป็นผู้จัดการและร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้สามารถ จัดรูปแบบการเรียนการสอนขึ้นมาหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียน ปัญหาและสื่อต่างๆ ที่จัดขึ้นมาเพื่อการเรียนการสอนนั้นๆ เช่น 1) การสอนแบบเอกัตบุคคล 2) การสอนแบบกลุ่มเล็ก 3) การ สอนแบบกลุ่มใหญ่ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบใด ครูก็สามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีเข้าช่วยในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอน ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นครูยังสามารถกำหนดเวลาและกิจกรรมการเรียนได้อย่างเหมาะสม ตามลักษณะของสื่อที่นำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นๆ
5. สื่อ/เทคโนโลยี ในการสอนแบบเอกัตบุคคล การสอนแบบเอกัตบุคคลเป็นวิธีสอนที่กำลังได้รับความสนใจกันมากในปัจจุบัน การสอนแบบนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นรายบุคคลภายใต้คำแนะนำหรือการชี้แนะของครู โดยอาศัยระบบสื่อที่จัดขึ้นไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามจุดมุ่งหมายของการสอน
6. ช่วย การศึกษาพิเศษ สื่อการสอนสามารถจัดขึ้นมาเพื่อช่วยให้การศึกษาแก่คนพิการได้เป็นอย่างดี เรียกว่าสื่อช่วยในการจัดการศึกษาพิเศษได้
7. สื่อ การสอนกับการศึกษานอกระบบ จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความรู้ทางวิชาการ สื่อการสอนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการให้การศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในหรือ นอกห้องเรียน ตลอดจนการศึกษาแบบทาง
อ้างอิง http://rungnipamath.multiply.com/journal/item/1?&show_interstitial=1&u=%2Fjournal%2Fitem








การสื่อสารกับการศึกษา
การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างไร ?
การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างไร ?การสื่อสาร  คือ  กระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัสอีกความหมายหนึ่ง  การสื่อสาร (Communication) หมาย ถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
          องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
            1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
            2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
            3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
            4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
            5. ความเข้าใจและการตอบสนองเมื่อกล่าวถึงคำว่า  การศึกษา  เราหมายความถึงทั้ง การเรียน  การสอน  ทักษะเฉพาะ และสิ่งที่แม้จะจับต้องไม่ได้แต่เป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง กล่าวคือ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะการตัดสินที่ดี และภูมิปัญญา เป้าหมายพื้นฐานอีกประการหนึ่งของการศึกษา คือ การถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นไปสู่รุ่น (ดู การขัดเกลาทางสังคม (socialization)) อีกความหมายหนึ่งของ การศึกษา คือ การพัฒนาคน ซึ่ง การพัฒนา หมายถึง การแก้ไขข้อบกพร่องให้ดีขึ้น / การเสริมข้อดีให้คงสภาพหรือดียิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าการศึกษานั้นเป็นขบวนการที่ใช้เวลาทั้งชีวิต มีการวิจัยในเด็กที่อยู่ในท้องแม่  พบว่าเด็กนั้นมีการเรียนรู้ในครรภ์แม่แต่ก่อนแรกเกิดดังนั้น  การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างชัดเจน เพราะว่า  การ เรียนการสอน เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง มีทั้งผู้ส่งสารอันได้แก่ครูผู้สอน มีสาร คือความรู้หรือประสบการณ์ที่จัดขึ้น ผู้รับสารคือผู้เรียน มีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยเครื่องมือ สื่อการเรียนการสอนต่างๆภายใต้สถานการณ์ที่จัดขึ้นในห้องเรียน หรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นในสถานที่อื่น และมีจุดหมายของหลักสูตรเป็นเครื่องนำทางจุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอน  คือ  การ พยายามสร้างความเข้าใจทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนความสำเร็จของการเรียนการสอน พิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ แต่ต้นตามลักษณะการเรียนรู้นั้นๆ ปัญหาสำคัญของการสื่อสารในการเรียนการสอนคือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนได้อย่างถูกต้อง ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการสื่อสาร และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับครูคือการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ อย่างเหมาะสม นอกเหนือการใช้คำพูดของครูแต่เพียงอย่างเดียวทั้งนี้เพราะสื่อหรือโสต ทัศนูปกรณ์ มีคุณลักษณะพิเศษบางประการที่ไม่มีในตัวบุคคลคือ1. จับ ยึดประสบการณ์ เหตุการณ์ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นสามารถใช้สื่อต่างๆ บันทึกไว้เพื่อนำมาศึกษาได้อย่างกว้างขวาง เช่น การบันทึกภาพบันทึกเสียง การพิมพ์ ฯลฯ2. ดัด แปลงปรุงแต่ง เพื่อทำสิ่งที่เข้าใจยาก ให้อยู่ในลักษณะที่ศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้นเช่น การย่อส่วน ขยายส่วน ทำให้ช้าลง ทำให้เร็วขึ้น จากไกลทำให้ดูใกล้ จากสิ่งที่มีความซับซ้อนสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น3. ขยาย จ่ายแจก ทำสำเนา หรือเผยแพร่ได้จำนวนมาก เช่น รายการวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพถ่าย จึงช่วยให้ความรู้ต่างๆเข้าถึงผู้รับได้เป็นจำนวนมากพร้อมกันนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งนะครับ  แต่คงจะมีมากกว่านี้อีก  ยังไงก็ขอให้ท่านที่สนใจ  ไปศึกษาเพิ่มเติมได้นะครับ จากอินเตอร์เน็ต  ห้องสมุด  หรือหนังสือต่างๆ  ได้....วัสสลาม
อ้างอิง http://www.learners.in.th/blogs/posts/100092






แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching)
1. ความหมาย การสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เป็น
การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งมุ่งเน้นความสำคัญของตัวผู้เรียน
จัดลำดับการเรียนรู้เป็นขั้นตอนตามกระบวนการใช้ความคิดของผู้เรียน โดยเริ่มจากการ
ฟังไปสู่การพูด การอ่าน การจับใจความสำคัญ ทำความเข้าใจ จดจำแล้วนำสิ่งที่
เรียนรู้ไปใช้
2. ความสำคัญ กลุ่มนักจิตวิทยาการเรียนรู้เชื่อว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดใน
การเรียน ผู้เรียนจะสามารถเรียนได้มากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความเข้าใจเป็น
สำคัญ เขาจะเรียนได้ดีถ้าเข้าใจจุดประสงค์ของการเรียน เห็นประโยชน์ในการนำ
สิ่งที่เรียนไปใช้ โดยสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนไปแล้วให้เข้ากับสิ่งที่กำลังเรียนอยู่ และ
สิ่งที่จะช่วยให้เรียนภาษาต่างประเทศได้ดี นอกเหนือจากสองเรื่องที่กล่าวมาแล้วก็คือ
ต้องเข้าใจหลักภาษาที่ใช้ในการวางรูปแบบประโยคด้วย
การสอนภาษาต่างประเทศในปัจจุบัน ได้หันมายึดแนวการสอนภาษาเพื่อการ
สื่อสารมากขึ้น มีการจัดกิจกรรมที่เนน้ ผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผูเ้ รียนได้เรียนรู้อย่างมี
ความหมาย ได้ฝึกใช้ภาษาในสถานการณ์ที่มีโอกาสพบได้จริงในชีวิตประจำวัน โดย
ยังคงให้ความสำคัญกับโครงสร้างไวยากรณ์ ตามที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาที่ใช้สื่อ
ความหมาย ดังที่ ลิตเติลวูด (Littlewood, 1983) กล่าวไว้ว่า แนวการสอนภาษาเพื่อ
การสื่อสารเป็นแนวการสอนที่ไม่จำกัดความสามารถของผู้เรียนไว้เพียงแค่ความรู้ด้าน
โครงสร้างไวยากรณ์เท่านั้น แต่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาทุก
ทักษะ โดยสัมพันธ์ความสามารถทางไวยากรณ์เข้ากับยุทธศาสตร์การสื่อสารด้วย
วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสมกับกาลเทศะ ในชีวิตจริงผู้เรียนต้องสัมผัสกับการสื่อสาร
ซึ่งเป็นการใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆมากมาย ดังนั้นการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ควร
สอนให้ผู้เรียนคุ้นกับการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน และนำภาษาที่คุ้นเคยนั้นไปใช้ได้
คำกล่าวนี้สอดคล้องกับความเห็นของ วิดโดสัน (Widdowson, 1979) ที่ว่า
ความสามารถในการเรียบเรียงประโยคมิใช่เป็นความสามารถในการสื่อสาร การสื่อสาร
จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถใช้ประโยคได้หลายชนิดในโอกาสต่างๆกัน
2
เช่น การอธิบาย การแนะนำ การถาม-ตอบ การขอร้อง การออกคำสั่ง เป็นต้น
ความรู้ในการแต่งประโยคเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า ความรู้ความเข้าใจภาษา เท่านั้น ซึ่ง
อาจจะเป็นประโยชน์อยู่บ้าง แต่ถ้าจะให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ก็ต้องสามารถนำ
ความรู้ในการใช้ประโยคไปใช้ให้เป็นปกติวิสัยได้ตามโอกาสต่างๆของการสื่อสาร
3. แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ตามคำจำกัดความที่ ดักกลาส
บราวน์ (H.Douglas Brown,1993) เสนอไว้ มีลักษณะ 4 ประการ ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์
กันดังนี้
3.1 เป้าหมายของการสอนเน้นไปที่องค์ประกอบทั้งหมดของทักษะการ
สื่อสาร และไม่จำกัดอยู่ภายในกรอบของเนื้อหาภาษาหรือไวยากรณ์
3.2 เทคนิคทางภาษาได้รับการออกแบบมา เพื่อนำผู้เรียนไปสู่การใช้
ภาษาอย่างแท้จริงตามหน้าที่ภาษา และปฏิบัติจริงโดยมีจุดมุ่งหมายในการพูด
รูปแบบโครงสร้างภาษามิใช่เป้าหมายหลัก แต่ตัวรูปแบบเฉพาะของภาษาต่างหากที่ทำ
ให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารจนสำเร็จตามเป้าหมาย
3.3 ความคล่องแคล่วและความถูกต้อง เป็นหลักการเสริมที่อยู่ภายใต้
เทคนิคการสื่อสาร มีหลายครั้งที่ความคล่องแคล่วอาจจะมีความสำคัญมากกว่า
ความถูกต้อง เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนนำภาษาไปใช้ได้อย่างมีความหมาย
3.4 ในการเรียนการสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
ในตอนท้ายสุด ผู้เรียนต้องใช้ภาษาอย่างเข้าใจและสร้างสรรค์ ภายในบริบทที่ไม่เคย
ฝึกมาก่อน
จากแนวการสอนต่างๆดังได้กล่าวมาแล้ว ทำให้เกิดแนวคิดในการสอนภาษาว่า
ควรนำเสนอภาษาใหม่ในรูปแบบภาษาที่พบในสถานการณ์จริง เพื่อนำไปสู่การสอน
คำศัพท์ โครงสร้าง การออกเสียง มีการฝึกฝนจนเกิดความเข้าใจในเนื้อหา โครงสร้าง
สามารถใช้ได้ถูกต้อง แล้วจึงนำความรู้ที่ได้ไปฝึกในสถานการณ์จริง แนวคิดนี้จึง
กลายเป็นขั้นตอนของการสอนของแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ตามผังดังนี้
3
(ปรับจากผังที่ Marie-Louise Parizet ผู้เชี่ยวชาญจาก CAVILAM เสนอไว้ในการอบรม
ครูผู้สอนภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยว ณ สหวิทยาลัยล้านนา เชียงใหม่ ปี 2534
4. ขั้นตอนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร จากแนวคิดในการสอนภาษา
เพื่อการสื่อสารแบบนี้เอง จึงทำให้เกิดขั้นตอนการสอนต่างๆ 3 ขั้นตอน ที่ใช้จัดการ
สอนกันทั่วไปในขณะนี้ขึ้น และขั้นตอนการสอนนี้ มีผลเชื่อมโยงต่อไปถึงสถานการณ์
การสอน เทคนิคการสอน สื่ออุปกรณ์ และหน่วยการสอนด้วย ครูผู้สอนจึงควรทำ
ความเข้าใจให้ชัดเจน เพื่อจะได้จัดการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการสอนทั้ง 3 ขั้นนี้ จะพบว่า มีปรากฏอยู่ในวิธีการนำเสนอเนื้อหาใน
แบบเรียนต่างๆ ที่ผู้เขียนแบบเรียนมีความรู้ด้านภาษาศาสตร์และแนวการสอนภาษา
เพื่อการสื่อสารเป็นอย่างดี และปรากฏอยู่ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการ
สอนภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างชัดเจนทั้ง 3 ขั้นตอน วิธีการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน
มีดังต่อไปนี้
4.1 ขั้นการนำเสนอเนื้อหา (Presentation) ในการเรียนการสอน
ภาษาต่างประเทศ การนำเสนอเนื้อหาใหม่ จัดเป็นขั้นการสอนที่สำคัญขั้นหนึ่ง ในขั้น
นี้ครูจะให้ข้อมูลทางภาษาแก่ผู้เรียน ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้ มีการนำเสนอ
เนื้อหาใหม่ โดยจะมุ่งเน้นการให้ผู้เรียนได้รับรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย
และรูปแบบภาษาที่ใช้กันจริงโดยทั่วไป รวมทั้งวิธีการใช้ภาษา ไม่ว่าเป็น
P2 Practice
􀁣
􀁣
P1 Presentation
􀁣
P3 Production
Language
Phonetic Drill Grammatical Drill
Speech
implicit
4
ด้านการออกเสียง ความหมาย คำศัพท์ และโครงสร้างไวยากรณ์ที่เหมาะสมกับ
สถานการณ์ต่างๆ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้กฎเกณฑ์
4.2 ขั้นการฝึกปฏิบัติ (Practice) เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้ภาษา
ที่เพิ่งจะเรียนรู้ใหม่จากขั้นการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะของการฝึกแบบควบคุมหรือ
ชี้นำ (Controlled Practice/Directed Activities) โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้นำในการฝึกไปสู่
การฝึกแบบค่อยๆปล่อยให้ทำเองมากขึ้น เป็นแบบกึ่งควบคุม (Semi-Controlled)
การฝึกในขั้นนี้มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนจดจำรูปแบบของภาษาได้ จึงเน้นที่ความถูกต้อง
ของภาษาเป็นหลัก แต่ก็มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย
และวิธีการใช้รูปแบบภาษานั้นๆด้วยเช่นกัน ในการฝึกนั้น ครูผู้สอนจะเริ่มจากการฝึก
ปากเปล่า (Oral) ซึ่งเป็นการพูดตามแบบง่ายๆก่อน จนได้รูปแบบภาษา แล้วค่อย
เปลี่ยนสถานการณ์ไป สถานการณ์เหล่านี้จะเป็นสถานการณ์ที่สร้างขึ้นภายใน
ห้องเรียน เพื่อฝึกการใช้โครงสร้างประโยคตามบทเรียน ทั้งนี้ครูผู้สอนต้องให้ข้อมูล
ป้อนกลับด้วย เพื่อให้ผู้เรียนรู้ว่า ตนใช้ภาษาได้ถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้อาจ
ตรวจสอบความเข้าใจด้านความหมายได้ (ไม่ควรใช้เวลามากนัก) ต่อจากนั้นจึงให้ฝึก
ด้วยการเขียน (Written) เพื่อเป็นการผนึกความแม่นยำในการใช้
4.3 ขั้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (Production) ขั้นการใช้ภาษาเพื่อ
การสื่อสาร นับเป็นขั้นที่สุดขั้นหนึ่ง เพราะการฝึกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
เปรียบเสมือนการถ่ายโอนการเรียนรู้ภาษาจากสถานการณ์ในชั้นเรียนไปสู่การนำภาษา
ไปใช้จริงนอกชั้นเรียน การฝึกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารโดยทั่วไป มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้
ลองใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆ ที่จำลองจากสถานการณ์จริง หรือที่เป็นสถานการณ์
จริง ด้วยตนเอง โดยครูผู้สอนเป็นเพียงผู้แนะแนวทางเท่านั้น การฝึกใช้ภาษาใน
ลักษณะนี้มีประโยชน์ในแง่ที่ช่วยให้ทั้งครูผู้สอนและผู้เรียนได้รู้ว่า ผู้เรียนเข้าใจและ
เรียนรู้ภาษาไปแล้วมากน้อยเพียงใด สามารถนำไปปรับใช้ตามความต้องการของตนเอง
แค่ไน ซึ่งการที่จะถือว่าผูเ้ รียนได้เรียนรู้แล้วอย่างแท้จริงคือ การที่ผู้เรียนสามารถใช้
ภาษาเพื่อการสื่อสารได้เองอย่างอิสระ ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ที่จะพบในชีวิตจริง
5
นอกจากนี้ผู้เรียนจะมีโอกาสนำความรู้ทางภาษาที่เคยเรียนมาแล้วมาใช้เป็นประโยชน์
อย่างเต็มที่ในการฝึกในขั้นตอนนี้อีกด้วย เพราะผู้เรียนไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาตาม
รูปแบบที่กำหนดมาให้เหมือนดังกรฝึกในขั้นการฝึก และการได้เลือกใช้ภาษาเองนี้ช่วย
สร้างความมั่นใจในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี วิธีการฝึกมัก
ฝึกในรูปของการทำกิจกรรมแบบต่างๆ โดยครูผู้สอนเป็นเพียงผู้กำหนดภาระงาน หรือ
สถานการณ์ต่างๆให้
บรรณานุกรม
Brown, Douglas H. 1994. Principle of language Learning and Teacher.
New Jersey : Prentice Hall, Inc.
Little, W..1981. Communicative Language Teaching : An Introduction.
Cambridge : Cambridge University Press.
Widdowson, H.G..1979. Explorations in Applied Linguistics. 2 Vols. Oxford ;
Oxford University press.__


วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มิถุนายน -ตุลาคม 2546 หน้า 11
การสื่อสารทางการเรียนการสอน
รศ.ลัดดา ศุขปร ีดี *
* รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี
(Instructional Communication)
ในสมัยปัจจุบันการที่จะเป็นครูผู้สอน
ที่ดี มีความสามารถและมีประสิทธิภาพในการ
สอนสูงดูจะเป็นสิ่งที่ยากกว่าแต่ก่อน ๆ นี้มาก
ครูสมัยใหม่นี้จะต้องมีความรอบรู้และสนใจในสิ่ง
ต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เช่นเกี่ยวกับผู้เรียน พฤติกรรม
และความประพฤติของผู้เรียนหรือในส่วนที่เกี่ยว
ข้องกับตัวเนื้อหาสาระของวิทยาการต่าง ๆ
ที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางรวมทั้งสภาวะแวดล้อม
อันยุ่งยากสับสน ความเปลี่ยนแปลงตลอดจน
ธรรมชาติ และความสามารถของแต่ละบุคคล
ในการศึกษาเล่าเรียน ครูจะต้องนำเอาความรู้
ความเข้าใจต่าง ๆ เหล่านี้มารวบรวม ประยุกต์และ
ดัดแปลงเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการบริหาร
การสอนต่อไปได้ด้วย
ในสมัยโบราณที่ผ่านมา การสอนเป็นไป
ตามวิธีการของการปลูกฝังความเชื่อมากกว่าวิธีการ
ทางวิทยาศาสตร์และครูผู้ประสบความสำเร็จใน
สมัยนั้นก็คือ ครูเป็นผู้สอนเนื้อหาและจัดการ
งานต่าง ๆ ด้วยตนเองโดยตรงเพื่อผู้เรียน คือ
เน้นครูเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอนนั่นเอง
ปัจจุบันสภาพการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ครูผู้
ประสบความสำเร็จจะเป็นผู้ทำหน้าที่บริหารงาน
สอนและดำเนินงานเกี่ยวกับข้อมูล (Information)
ที่จะถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็น
หน้า 12 วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มิถุนายน -ตุลาคม 2546
สำคัญ วิธีการนี้บทบาทของครูจะเปลี่ยนไปจาก
ผู้สอนเนื้อหาเป็นการพยายามดำเนินการต่าง ๆ
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น และ
ใช้เวลาน้อยลง แน่นอนงานอันค่อนข้างยากนี้
ย่อมต้องอาศัยความรอบรู้ประสบการณ์และทักษะ
มากพอสมควร ครูจะต้องมีความรอบรู้และความ
สนใจในแหล่งข้อมูลข่าวสารรวมทั้งรายละเอียด
เกี่ยวกับผู้เรียน วิธีการสื่อสารและจะต้อง
ตรวจสอบโดยสม่ำเสมอด้วยว่า กำลังสอนอะไรอยู่
ในเนื้อหาอะไรและผลการสอนเป็นอย่างไร
การบริหารงานข้อมูลของครูที่จะมีส่วน
ช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
นั้นแตกต่างจากหน้าที่การสอนแบบเก่า ทั้งนี้
เพราะเนื้อหาวิชาการมีการเปลี่ยนแปลงและขยาย
ตัวอย่างกว้างขวาง ครูปัจจุบันจะต้องคอยติดตาม
สอดส่องและศึกษาภาวะของข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ
อยู่ตลอดเวลาและนำมาเผยแพร่แก่ผู้เรียนในการสอน
ด้วยเหตุนี้การดำเนินการเรียนการสอน ให้มี
ประสิทธิภาพจำเป็นที่ครูจะต้องศึกษาเกี่ยวกับการ
วางแผนและการจัดวางข้อมูลตลอดจน การศึกษา
เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสารเสียก่อน
การสื่อสาร (Communication) อาจให้คำ
จำกัดความได้ว่าเป็นพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ระหว่างองค์การ (organization) ต่าง ๆ คือทั้งผู้ส่ง
สารและผู้รับสารโดยเป็นขบวนการถ่ายทอด
แลกเปลี่ยนเรื่องราวความคิดและทัศนคติซึ่ง
การสื่อสารอา จจะเกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์
หรือมนุษย์กับเครื่องจักรกล หรือระหว่างเครื่อง
จักรกลกับเครื่องจักรกลก็ได้ ตัวอย่างเช่น การพูด
คุยกันระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือการสื่อสารจาก
ผู้เขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ไปยังผู้อ่าน
จำนวนมาก ซึ่งเรียกว่า การสื่อสารมวลชน (Mass
communication) สำหรับการสื่อสารระหว่าง
เครื่องจักรกลกับเครื่องจักรกลนั้น อาจสรุป
อธิบายและยกตัวอย่างได้ เช่น ระบบการทำงาน
ของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข่าวสาร
ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1. ผู้ส่ง (Sender)
2. ผู้รับ (Receiver)
3. สาร (Message)
4. สื่อกลาง (Medium)
1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นแหล่งที่มา
ของสาร และเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรการสื่อสาร
ในกรณีของสิ่งมีชีวิต ผู้ส่งจะนำเอาความสามารถ
ในการตอบสนองเข้ามาบรรจุไว้ในที่สะสมสาร
ซึ่งได้มีการวางสายของการติดต่อสื่อสารไว้แล้ว
เรียกขั้นนี้ว่าการเข้ารหัส (Encoder) สารที่ผู้ส่ง
รวบรวมและส่งออกไปนั้นเป็นผลผลิตของสิ่ง
ต่าง ๆ ที่ผู้ส่งกำลังประสบอยู่ในเวลาและสภาพ
แวดล้อมขณะนั้น และผู้รับก็จะสามารถรับไว้ได้
เฉพาะข้อมูลบางชนิดที่ตนมีส่วนสัมพันธ์
ผูกพันเกี่ยวข้องด้วยเท่านั้น ส่วนข้อมูลอื่น ๆ
ที่ไม่เกี่ยวข้องผูกพันด้วยมนุษย์ก็จะไม่รับไว้
กล่าวคือมนุษย์เพศชายกับเพศหญิง อาจจะมีการ
รับข้อมูลต่างชนิดกัน หรือบางข้อมูลก็เหมือนกัน
ฉะนั้น ข้อมูลทั้งหลายจึงมีสะสมในตัวมนุษย์
แต่ละคน และไม่มีการสะสมในลักษณะนี้ใน
สิ่งอื่น ๆ ดังนั้น เวลาที่มนุษย์กำหนดจะส่งข้อมูล
ใด ๆ ออกไปก็เท่ากับมนุษย์ได้ส่งข้อมูลจากแหล่ง
สะสมภายในตัวของมนุษย์ออกไปยังผู้รับภายนอก
วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มิถุนายน -ตุลาคม 2546 หน้า 13
สำหรับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น คอมพิวเตอร์
หรือเครื่องจักรกลอัตโนมัติจะมีพฤติกรรมในการ
สื่อสารแตกต่างกันออกไป คือเครื่องมือเหล่านี้
ไม่มีการเจริญเติบโต และไม่สามารถสะสม
เพิ่มเติมหรือขยายอำนาจการสะสมเพิ่มเติมข้อมูล
ต่าง ๆ ออกไปนอกเหนือจากที่ถูกกำหนดให้มี
ไว้แล้วตั้งแต่เริ่มแรกได้ ฉะนั้นลำดับและขอบเขต
ของพฤติกรรมนี้จะจำกัด และขึ้นอยู่กับการ
ตัดสินใจ ครั้งแรกในการสร้างเครื่องมือนั้นขึ้นมา
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นฝ่ายแปลความ
ในสารที่ได้รับมา และการพิจารณาตัดสินใจของ
ผู้รับก็จะเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดประสิทธิภาพ
ของการติดต่อสื่อสารได้เป็นอย่างดี โดยที่การ
ตัดสินใจปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งอันเนื่องจาก
สารนั้นจะต้องเป็นที่ยอมรับและเข้าใจเป็นอย่างเดียว
กันกับผู้ส่ง ด้วยเหตุดังกล่าว อาจจะสรุปหลักการ
สำคัญของการสื่อสารได้ คือ ผู้ส่งจะส่งสาร
ไปยังผู้รับ ฉะนั้นผู้รับจะต้องมีความรู้และเข้าใจ
ในสิ่งที่ผู้ส่งส่งมาและแปลความหมายในสารนั้น
แล้วตอบกลับไปยังผู้ส่งเช่นนี้เรื่อยไป
3. สาร (Message) คือเนื้อหาหรือข้อมูล
ที่ถูกส่งซึ่งการตีความหมายของสารจะอยู่ที่ตัว
ผู้รับไม่ได้อยู่ที่ตัวสารเอง เพื่อที่จะให้ผู้รับแสดง
พฤติกรรมตามที่ผู้ส่งต้องการ ผู้ส่งจะต้องเข้ารหัส
ข้อมูลที่ต้องส่งนั้นก่อน การเข้ารหัสเป็นวิธีการ
เลือกและเรียงลำดับของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งมี
ความหมาย และเป็นที่เข้าใจต่อทั้งผู้ส่งและ ผู้รับ
เช่น ผู้โฆษณาสินค้าต้องการโฆษณาสินค้า
แก่ลูกค้าว่ายาสีฟันของเขาเมื่อใช้แล้วจะรู้สึกเย็น
สดชื่น ปัญหาก็คือผู้โฆษณาจะใช้รหัสชนิดใดจึง
จะดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้ ในทำนองเดียว
กันกับการเรียนการสอนถ้าครูต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจ
ในสารหรือเนื้อหา ครูจะต้องเข้ารหัสสารนั้น
อย่างรัดกุมที่สุด คือครูจะต้องเลือกใช้คำพูด
หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่ง่ายที่สุดสำหรับครูและ
ผู้เรียน การเข้ารหัสข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเป็น
งานยากอย่างหนึ่งที่ครูจะต้องเผชิญและการเลือก
รหัสก็เป็นกุญแจสำคัญที่สุดของการ สื่อสาร
สำหรับข้อมูลที่ผู้ส่งออกไปจะได้รับความสนใจ
จากผู้รับปลายทางหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับจำนวนครั้ง
ของการส่งข้อมูลและการส่งข้อมูลจำนวนจำกัด
ซ้ำครั้งแล้วครั้งเล่าจะได้ผลดีกว่าการส่งข้อมูล
จำนวนมาก ๆ แต่น้อยครั้ง ดังนั้นในการเรียน
การสอนครูอาจจะเน้นหรือซ้ำเนื้อหา ในการ
สอนด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นการบรรยายซ้ำ ๆ การ
กระทำเช่นนี้จะสามารถเพิ่มโอกาส ให้เกิดความ
สนใจได้ แต่จะซ้ำครั้งมากน้อยเท่าใด จึงจะมี
ประสิทธิภาพนั้นย่อมแล้วแต่ และอยู่ในดุลยพินิจ
ของครูผู้สอนหรือผู้ติดต่อสื่อสารเอง
4. สื่อกลาง (Medium) เป็นช่องทาง
หรือขอบข่ายของช่องทางที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ส่งกับ
ผู้รับเช่นเดียวกันกับที่สินค้าอาจจะถึงปลายทางได้โดย
สื่อกลางของการขนส่งนานาชนิด สารก็เช่นกัน
อาจจะผ่านถึงยังผู้รับได้โดยอาศัยสื่อชนิดต่าง ๆ
หากแต่ว่าสื่อกลางในการสื่อสารต่างจากสื่อการ
คมนาคมที่ว่า สื่อกลางการสื่อสารนี้จะจัดรูป
ของสาร ให้มีลักษณะเป็นไปตามลักษณะของ
สื่อกลางนั่นเอง ตัวอย่างเช่น หนังสือและ
ภาพยนตร์ ข้อมูลที่แพร่มาสู่เราโดยตัวหนังสือ
และโดยทางภาพเคลื่อนไหวของภาพยนตร์นั้น
มีความต่างกัน หากผู้รับต้องตัดสินใจว่าจะอ่าน
หนังสือก่อนแล้วดูภาพยนตร์ทีหลัง หรือจะดู
หน้า 14 วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มิถุนายน -ตุลาคม 2546
ภาพยนตร์ก่อนแล้วอ่านหนังสือที่หลัง สื่อ
ทั้งสองนี้ก็จะมีอิทธิพลต่อการรับรู้ที่ต่างกันด้วย
สื่อกลางทุก ชนิดจะมีอิทธิพลและลักษณะเฉพาะ
แฝงตัวอยู่ในตัวของมันเอง จึงทำให้สื่อกลางเป็น
ส่วนหนึ่งของสารไปด้วย บางครั้งเราจึงไม่อาจ
แยกสื่อกลางและ สารออกจากกันได้ ตัวอย่างเช่น
รูปภาพโมนาลิซา จิตรกรได้สอดแทรกเอาความ
ประทับใจไว้ในภาพทั้งหมด เราจึงไม่อาจแยก
ตัวภาพออกจากความหมายได้ ในกรณีที่ผู้ส่งเป็น
เครื่องจักร สื่อกลางจะถูกจำกัดตามสภาพของ
อุปกรณ์และส่วนประกอบ เช่น สื่อกลางที่จะใช้
เชื่อมหลอดไฟบนเพดานกับ สวิตช์ไฟบนฝาผนัง
จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากสายไฟซึ่ง
ต่างกับกรณีของสิ่งมีชีวิต เช่น ครูอาจจะเลือก
สื่อกลางต่าง ๆ ในการติดต่อกับผู้เรียนได้
หลายอย่าง เช่น เสียงพูด การเขียน โทรทัศน์
ภาพยนตร์ หรือเทปบันทึกเสียง เป็นต้น
ขอบข่ายของสื่อกลางการติดต่อสื่อสาร
ที่ส่งออกจากผู้ส่งไปยังผู้รับ และวงจรการติดต่อ
สื่อสารจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อขอบข่ายการสื่อสาร
นั้นถูกส่งกลับคืนจากผู้รับมายังผู้ส่งอีกครั้งหนึ่ง
ระบบนี้เรียกว่าข้อมูลย้อนกลับ (Feedback information)
ตามวิธีการนี้จะทำให้ระบบการสื่อสาร
มีการตรวจแก้ไขภายในตัวเอง ซึ่งจะทำให้การ
สื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปแล้วสารจะต้องถูกเข้ารหัส โดยผู้ส่ง
และส่งผ่านไปยังสื่อกลาง ด้วยวิธีที่จะเกิดความ
สับสนน้อยที่สุดแก่ผู้รับเพื่อให้ผู้รับทราบความหมาย
ที่ใกล้เคียงที่สุดของสารโดยไม่เข้าใจไปเป็น
อย่างอื่น สารที่สมบูรณ์จะต้องไม่ทำให้ผู้รับเข้าใจ
เป็นอย่างอื่นหรืออาจกล่าวได้ว่าทางเลือกยิ่งน้อย
เท่าใดระบบการสื่อสารก็จะได้ผลมากขึ้น
การสื่อสารกับการเรียนการสอน
ในระบบการเรียนการสอน หาก
พิจารณากระบวนการเรียนการสอนแล้วจะมี
ลักษณะเป็นกระบวนการของการสื่อสารหลาย
ประการ ทั้งทางด้านองค์ประกอบและ
กระบวนการ นั่นคือ ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร
โดยมีผู้เรียนเป็นผู้รับสารซึ่งต้องอาศัยสื่อเป็น
ตัวกลาง และประสิทธิภาพของการเรียน
การสอนนั้นวัดได้ โดยคุณภาพและปริมาณ
ของการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้เรียน
ถ้าเปรียบเทียบองค์ประกอบของระบบ
การสื่อสารกับองค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนการ
สอนแล้วจะมีลักษณะดังแผนภาพ
แผนภาพแสดงการเปรียบเทียบองค์ประกอบของระบบการสื่อสารกับ
องค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนการสอน
Instructor
ผู้สอน
Medium (สื่อ) Message (สาร) Learner
ผู้เรียน
Method
วิธีการสอน
วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มิถุนายน -ตุลาคม 2546 หน้า 15
ในระบบการเรียนการสอนจะประกอบ
ไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ คือ จุดมุ่งหมาย ครู
วิธีการสอน สื่อการสอนและผู้เรียนซึ่งแต่ละ
องค์ประกอบเหล่านี้ จะต้องมีความสำคัญ
เท่าเทียมกันและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
จึงจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
การทดสอบประสิทธิภาพ อาศัยข้อมูลย้อนกลับ
เช่นเดียวกับขบวนการของการสื่อสาร ซึ่งต้อง
อาศัยข้อมูลย้อนกลับจากผู้รับเป็นเครื่องตรวจสอบ
ว่า การถ่ายทอดความคิด หรือการสื่อสารของ
ผู้ส่งสารนั้นได้ผลแล้วหรือยัง และถ้ายังไม่ได้ผลดี
จะต้องวิเคราะห์ระบบเพื่อปรับปรุงแก้ไขจน
แน่ใจว่าได้ผลจึงใช้สื่อสารต่อไป ดังนั้น
ในการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพครูผู้สอน
จะต้องมีความเข้าใจและใช้หลักการและ
กระบวนการของการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ด้วย
คือจะต้องมีการกำหนดจุดมุ่งหมายในการสอนที่
ชัดเจน สามารถวัดผลและประเมินผลได้ทันที
มีการ เลือกและจัดลำดับประสบการณ์ที่จะช่วยให้
ผู้เรียนเข้าใจได้ถูกต้องและรวดเร็ว โดยต้องคำนึง
ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความเหมาะ
สมกับสภาพการณ์และวัตถุประสงค์ครูควร
สามารถเลือกและใช้สื่อกลางในกระบวนการ
เรียนการสอนให้ได้ผลดี สำหรับสื่อกลางในการ
เรียนการสอนอาจแบ่งประเภทออกเป็น 3
ลักษณะ คือ
1. วัสดุ (Material or Software) ได้แก่
วัสดุที่ทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง
และอักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้
เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่าง
แท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 วัสดุที่เสนอความรู้ได้จาก
ตัวมันเอง ได้แก่ หนังสือเรียนหรือตำรา ของจริง
หุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ
เป็นต้น
1.2 วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภท
เครื่องกลไกเป็นตัวนำเสนอความรู้ ได้แก่ ฟิล์ม
ภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ เส้นเทปบันทึกเสียง
แผ่นซีดี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ รายการวิทยุ
รายการ โทรทัศน์ เป็นต้น
2. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Device or
Hardware) ได้แก่ สื่อที่เป็นตัวกลางหรือทางผ่าน
ของความรู้ ซึ่งสามารถทำให้ความรู้ที่ส่งผ่าน
มีการเคลื่อนไหว หรือไปสู่นักเรียนจำนวนมาก
หรือไปได้ไกล ๆ รวดเร็ว ได้แก่ เครื่องฉาย
ภาพยนตร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ
เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และ
เครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย เป็นต้น
3. เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ (Technique
or Method) ได้แก่ ประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น
การสาธิต การแสดงบทบาท การแสดงละครและ
หุ่น การศึกษานอกสถานที่ การจัดแสดงและ
นิทรรศการ ตลอดจนเทคนิคในการเสนอ
บทเรียนด้วยสื่อประเภทวัสดุและเครื่องมือ
เป็นต้น และเพื่อให้ครูสามารถเลือกและใช้สื่อใน
การสอนให้ได้ผลดีขอเสนอหลักเกณฑ์ในการ
พิจารณาเลือกและใช้สื่อดังนี้
1. การเลือกสื่อการเรียนการสอน
1.1 เลือกสื่อการเรียนการสอนและ
ประสบการณ์ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการ
เรียนการสอนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
นั้นจำเป็นต้องกำหนดจุดมุ่งหมาย ในรูปของ
หน้า 16 วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มิถุนายน -ตุลาคม 2546
พฤติกรรม ซึ่งครอบคลุมลักษณะพฤติกรรมทั้ง 3
ประเภท คือ พุทธิพิสัย (Cognitive) ทักษะพิสัย
(Phychromoter) จิตพิสัย (Affective) ทั้งนี้ เพราะ
จุดมุ่งหมายของการสอนแตกต่างกัน ย่อมให้
ประสบการณ์การเรียนรู้ต่างกัน ดังนั้นการเลือก
สื่อการเรียนและประสบการณ์ในการเรียนการ
สอน จึงต้องให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายดังกล่าว
โดยพยายามเลือกสื่อการเรียนการสอนที่
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
อย่างจริงจัง และให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อให้เขาได้
มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขั้นสุดท้ายไปตาม
จุดมุ่งหมายที่ต้องการ
1.2 เลือกสื่อการเรียนการสอนและ
ประสบการณ์ที่สอดคล้องกับลักษณะการตอบ
สนองและพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนที่คาด
หวังจะให้เกิดขึ้น พฤติกรรมของผู้เรียนจะ
เกิดขึ้นได้ ถ้าผู้เรียนมีความพึงพอใจในกิจกรรม
และประสบการณ์ที่ได้รับ ความพึงพอใจย่อมก่อ
ให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี ดังนั้นการเลือกสื่อการ
เรียนและประสบการณ์การเรียนการสอน จึงควร
เลือกสื่อการเรียนการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียน
เกิดความพอใจ มีการตอบสนองและเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมที่คาดหวัง
1.3 เลือกสื่อการเรียนการสอนและ
ประสบการณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับ
ความสามารถและประสบการณ์เดิมของแต่ละคน
วัสดุและประสบการณ์ที่จัดให้แก่ผู้เรียนควรง่าย
และอยู่ในขอบเขตความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
สื่อการเรียนการสอนนั้นจะต้องช่วยให้ผู้เรียนสามารถ
รับประสบการณ์ใหม่ได้เป็นอย่างดี และไม่จำเป็น
ต้องใช้กับผู้เรียนทั้งชั้นเหมือนกันหมด เพราะสื่อ
การเรียนการสอน และประสบการณ์บางอย่างอาจ
ไม่เหมาะสมกับผู้เรียนบางคน ดังนั้นการเลือกสื่อ
การเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงความ
แตกต่างระหว่างบุคคลด้วยเช่นเดียวกันกับการ
เลือก วิธีสอนซึ่งไม่มีวิธีสอนวิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะ
กับผู้เรียนทุกคน หรือกับบทเรียนทุกบทเรียน
ครูควรเลือกวิธีที่เหมาะสมอาจเริ่มด้วยการนำเข้าสู่
บทเรียนให้ความรู้ใหม่ และจัดกิจกรรมที่จะช่วย
ฝึกฝนในทักษะใหม่ ๆ ครูควรกำหนดคำถาม
หรือแบบฝึกหัดแก่เด็กแตกต่างกันไปตามความ
แตกต่างระหว่างบุคคลผ่านวิธีสอนที่แตกต่างกัน
1.4 เลือกรูปแบบของสื่อ รูปแบบ
ของสื่อเป็นการแสดงออกทางกายภาพของสื่อ
ที่ปรากฏให้เห็น เช่น ภาพพลิก (ภาพนิ่ง และ
ข้อความ) สไลด์ (ภาพนิ่งที่ฉายกับเครื่องฉาย)
โสตวัสดุ (เสียง และดนตรี) ภาพยนตร์ (ภาพ
เคลื่อนไหวบนจอ) วิดีทัศน์ (ภาพเคลื่อนไหว
บนจอโทรทัศน์) และคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
(กราฟิกข้อความและภาพเคลื่อนไหวบนจอ)
ซึ่งสื่อแต่ละรูปแบบมีความแตกต่างกันและมีข้อ
จำกัดในการบันทึกและเสนอข้อมูลต่างกัน
ครูควรเลือกรูปแบบของสื่อที่สามารถสนองต่อ
ภารกิจที่ผู้เรียนต้องมีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสุด
ท้ายในการเรียนโดยพิจารณาด้วยว่าจะหาสื่อนั้น
ได้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและความแตกต่างของ
บุคคลด้วย การเลือกรูปแบบของสื่อยังต้องคำนึง
ถึงขนาดของกลุ่มผู้เรียนด้วย เช่นกลุ่มใหญ่/
กลุ่มเล็ก หรือเรียนด้วยตนเองเป็นรายบุคคล
เป็นต้น
1.5 เลือกสื่อการเรียนการสอนที่พอ
จะหาได้และอำนวยความสะดวกในการใช้
วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มิถุนายน -ตุลาคม 2546 หน้า 17
การเลือกสื่อการเรียนการสอนมาใช้ในการ
เรียนการสอนจะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการ
นำสื่อนั้นมาใช้ด้วยและไม่จำเป็นต้องใช้สื่อที่มี
ราคาแพงเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะหาสื่อการ
เรียนการสอนชนิดใดได้บ้างที่สอดคล้องกับจุด
มุ่งหมาย เพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด
2. การใช้สื่อการเรียนการสอน
สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนเป็น
แต่เพียงเครื่องมือหรือตัวกลางที่ช่วยผ่อนแรง
ผ่อนระยะเวลาของครูและผู้เรียน ให้ได้รับ
ประโยชน์เป็นอย่างมาก แต่การที่ผู้เรียนจะได้รับ
ประโยชน์จากการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใด
นั้น ก็มิใช่อยู่ที่ลักษณะชนิดและคุณภาพของ
สื่อการเรียนการสอนแต่เพียงอย่างเดียว ความจริง
อยู่ที่ครูและผู้ใช้มีความสามารถในการเลือกและใช้
เป็นส่วนใหญ่ด้วย ดังนั้นครูจะต้องมีการวางแผน
การใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมโดยคำนึงถึง
จุดมุ่งหมายเนื้อหาวิชาจำนวนผู้เรียนลักษณะการ
ตอบสนองที่คาดหวังจากผู้เรียน รวมทั้งการวัดผล
และประเมินผลด้วยข้อแนะนำต่อไปนี้เป็นระบบ
การวางแผนการใช้สื่อเพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่
เรียกว่า ASSURE model (Heinich, and other, 1993
: 34-56) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
Analyze learners วิเคราะห์ผู้เรียน
State Objectives กำหนดจุดมุ่งหมาย
Select methods, media and materials เลือกวิธีสอนและสื่อ
Utilize media and materials ใช้สื่อและวัสดุ
Require learner participate เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
Evaluate and revise การประเมินและปรับปรุง
2.1 วิเคราะห์ผู้เรียน (Analyze learners)
โดยพิจารณาเกี่ยวกับ
2.1.1 คุณลักษณะทั่วไป เช่น
อายุ ระดับชั้นเรียน อาชีพ หรือตำแหน่งหน้าที่
ตลอดจนวัฒนธรรม
2.1.2 ลักษณะเฉพาะที่นำ
สู่ความสามารถในการปรับตัวและความคิดสร้าง
สรรค์ซึ่งการทดสอบก่อนการเรียนจะช่วยให้
ทราบถึงระดับความพร้อมหรือประสบการณ์
เบื้องต้นที่ผู้นั้นมี และเนื้อหาและทักษะที่ต้อง
ฝึกฝน
2.1.3 รูปแบบการเรียนรู้ ซึ่ง
เกี่ยวข้องกับลักษณะจิตวิทยาการเรียนรู้โดย
พิจารณาเกี่ยวกับความต้องการ ความสนใจ
ความแตกต่างในการรับรู้
2.2 กำหนดจุดมุ่งหมายหรือ พฤติ-
กรรมสุดท้ายที่หวังจะให้ผู้เรียนมี (State objectives)
การกำหนดจุดมุ่งหมายควรกำหนดให้
เฉพาะเจาะจงมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียน
ได้ทราบว่าเมื่อเสร็จสิ้นการเรียนเขาจะต้องทำ
อะไรบ้าง จุดมุ่งหมายทางการเรียนการสอนทั่วไป
หน้า 18 วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มิถุนายน -ตุลาคม 2546
แยกออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะพฤติกรรม 3
ประเภท คือ
2.2.1 พุทธิพิสัย (Cognitive domain)
หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง หลัก
เกณฑ์และความคิดรวบยอด
2.2.2 จิตพิสัย (Affective domain)
หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับทัศนคติ
ความเข้าใจ และค่านิยม
2.2.3 ทักษะพิสัย (Psychomotor
domain) หมายถึง การเรียนจากการกระทำ
ที่แสดงออกทางด้านร่างกายและเคลื่อนไหวทางด้าน
ร่างกาย เช่น การเรียนว่ายน้ำ การเรียนขับรถ
การอ่านออกเสียง การใช้ท่าทางและการเล่นกีฬา
เป็นต้น
จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
ที่ชัดเจนก็คือ จุดมุ่งหมายที่บอกพฤติกรรมขั้นสุด
ท้ายของการเรียนการสอนในรูปของความสำเร็จที่
สังเกตเห็นได้ ซึ่งเรียกว่า จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
(Behavioral objective) การตั้งจุดมุ่งหมาย
เชิงพฤติกรรมในการเรียนการสอนนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียน
และผู้สอนได้รับรู้ร่วมกันว่าพฤติกรรมขั้นสุดท้าย
หลังจากสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้วผู้เรียนจะ
สามารถทำอะไรได้บ้าง
การกำหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมที่ดี
ควรมีลักษณะ 3 ประการ คือ
ก. เป็นพฤติกรรมของผู้เรียน
ที่สามารถสังเกตและวัดได้แน่นอนเพื่อให้ทราบ
ว่าผู้เรียนจะสามารถทำอะไรได้บ้างเมื่อการเรียนเสร็จ
สิ้นลง เช่น เมื่อจบบทเรียนให้นักเรียนสามารถ
คูณเลขสองหลักจากโจทก์ที่ให้มาได้ถูกต้อง
หรือเมื่อจบบทเรียนผู้เรียนจะสามารถเขียน ก ถึง
ฮ ได้อย่างถูกต้องเป็นต้น
ข. กำหนดเงื่อนไขในการแสดง
พฤติกรรมออกมาให้สังเกตและวัดได้จุด
มุ่งหมายเชิงพฤติกรรมที่ดีนอกจากจะสามารถ
สังเกตและวัดได้แล้ว ควรจะบอกด้วยว่า
พฤติกรรมที่แสดงออกภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
ให้อย่างไร เช่น เมื่อจบบทเรียน ผู้เรียนจะสามารถ
เขียน ก ถึง ฮ ได้อย่างถูกต้องโดยไม่ต้องดูต้นแบบ
เงื่อนไขนี้คือไม่ต้องดูต้นแบบ หรือ “ให้ผู้เรียน
คูณเลขสองหลักได้อย่างถูกต้องโดยวิธีคิดในใจ”
เงื่อนไขคือวิธีคิดในใจ เป็นต้น
ค. มีเกณฑ์ขั้นต่ำของพฤติกรรม
ที่ต้องการให้แสดงออก เช่น เมื่อจบบทเรียน
ผู้เรียนสามารถทำโจทย์เลขที่ให้มาโดยวิธีคิดในใจ
ได้ถูกต้องอย่างน้อย 7 ข้อ จาก 10 ข้อ วลีที่บอกว่า
ไม่น้อยกว่า 7 ข้อ เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำที่ผู้เรียนต้อง
ทำได้เป็นอย่างน้อย ถ้าผู้เรียนทำได้ต่ำกว่าเกณฑ์นี้
ต้องถือว่าผู้เรียนยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดให้
เมื่อจบบทเรียนถ้าผู้เรียนสามารถทำได้ตามเกณฑ์
ถือว่าบรรลุจุดมุ่งหมาย การตั้งจุดมุ่งหมายเชิง
พฤติกรรมในการเรียนการสอนของแต่ละบท
เรียนที่ดีถ้าเป็นไปได้ควรจะมีองค์ประกอบครบทั้ง
3 ประการ ที่กล่าวแล้วจึงจะเป็นจุดมุ่งหมายเชิง
พฤติกรรมที่สมบูรณ์ที่สุด
2.3 เลือกวิธีสอน สื่อและวัสดุที่
เหมาะสม (Select methods, media and materials)
ไม่ว่าจะเป็นการสอนกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็กหรือ
สอนเป็นรายบุคคลวิธีการสอนที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียน
เข้าใจในสื่อและประสบการณ์ที่ได้รับง่ายขึ้นและ
มีความต้องการตอบสนองด้วยตนเอง
วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มิถุนายน -ตุลาคม 2546 หน้า 19
2.4 ใช้สื่อและวัสดุ (Utilize media
and materials) การใช้สื่อและวัสดุในการเรียน
การสอนทำได้ 2 ลักษณะ คือ
2.4.1 การเรียนการสอนเป็น
กลุ่มใหญ่ คือ ใช้ในการสอนผู้เรียนเป็นจำนวน
มากเช่น การสอนทางโทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น
2.4.2 การเรียนการสอนเป็น
กลุ่มเล็กหรือรายบุคคล เป็นการนำสื่อมาเพื่อ
สอนผู้เรียนเป็นรายบุคคล เช่น บทเรียนโปรแกรม
ชุดการเรียนการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
และศูนย์การเรียนเป็นต้น
ไม่ว่าจะนำสื่อและวัสดุไปใช้ใน
ลักษณะใดก็ตามสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือต้อง
คำนึงถึงสถานการณ์ที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้แก่
ผู้เรียน รวมทั้งการตรวจสอบและทดลอง
ใช้ก่อนนำมาใช้จริง เตรียมห้องเรียนและอุปกรณ์
ที่จำเป็นตลอด จนสิ่งอำนวยความสะดวกในการ
ใช้สื่อและมีเทคนิคในการใช้สื่อแต่ละชนิด
ให้น่าสนใจ
2.5 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
(Require learner participation) โดยให้ผู้เรียนมี
ส่วนร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างกระฉับ
กระเฉง (Active participation) คือ ให้ผู้เรียน
ได้เรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำกิจกรรมด้วยตนเอง
ได้ตอบคำถาม ได้มีการตอบสนองหรือมีปฏิกิริยา
โต้ตอบกับคำถามหรือวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับที่จะเรียนรู้
ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ไม่เบื่อ
หน่าย และไม่เฉื่อยชาหลังจากผู้เรียนร่วม
กิจกรรมควร ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feed back) คือ
ให้ผู้เรียนรู้ถึงคำตอบ ข้อมูลที่ย้อนกลับเป็นที่พึง
พอใจจะเป็นการเสริมแรง (Reinforcement)
ให้ผู้เรียนอยากทำกิจกรรมต่อไป และถ้าได้รับการ
เสริมแรงทันทีอยู่เสมอจะทำให้เรียนได้ดีที่สุด
การบอกคำตอบให้ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องให้ครูเป็น
ผู้บอกเสมอไป นักเรียนอาจตรวจคำตอบของ
ตนเองได้จากคำตอบที่มีไว้ให้ในสื่อเช่น หนังสือ
หรือบทเรียนสำเร็จรูป คำตอบในหนังสือหรือ
บทเรียนสำเร็จรูปจึงเป็นข้อมูลย้อนกลับ (Feed
back) ให้เด็กเกิดความพอใจและเป็นการ
เสริมแรง ให้เขาทำกิจกรรมต่อไป ข้อมูลย้อนกลับ
ไม่ใช่ แรงกระตุ้นให้ผู้เรียนกระทำกิจกรรมซ้ำอีก
เสมอไป เช่น กรณีที่เด็กทำโจทก์เลขผิด เขาอาจ
ท้อแท้ใจและไม่อยากทำเลขอีก ดังนั้นแรงกระตุ้น
หรือแรงจูงใจจึงมีผลทางบวกและทางลบใน
กรณีเช่นนี้จำเป็นที่ผู้เรียนจะต้องได้รับคำชี้แจง
และคำแนะนำแก้ไขทันทีเพื่อให้เขาเรียนรู้ได้ดีขึ้น
และฝึกทำซ้ำจนเกิดความชำนาญเพื่อจูงใจให้เขา
อยากเรียนต่อไป ด้วยเหตุนี้จะต้องให้การ
เสริมแรง ไปด้วยเป็นระยะ ๆ เช่นเดียวกัน การจัด
ประสบการณ์การเรียนไปทีละขั้นตอนย่อย ๆ
เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายสุดท้าย เช่น
เริ่มจากเรื่องง่าย ๆ หรือสิ่งที่รู้แล้วเพื่อสร้าง
แรงจูงใจเริ่มแรกเสียก่อนแล้วจึงเพิ่มความยาก
ขึ้นไป หรือการเรียนรู้จากสิ่งง่าย ๆ ที่คล้ายคลึง
กับประสบการณ์เดิมไปสู่สิ่งใหม่ตามขั้นตอน
ทีละน้อยจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่า
บทเรียนนั้นไม่ยากเกินไปและไม่เบื่อหน่ายต่อ
การเรียน ความสำเร็จในการเรียนแต่ละขั้นตอน
จะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียนต่อไป
2.6 การประเมินและปรับปรุง
(Evaluate and revise) หลังการใช้สื่อการเรียนการ
สอนควรมีการประเมินเพื่อประเมินพฤติกรรม
หน้า 20 วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มิถุนายน -ตุลาคม 2546
สุดท้ายและผลสำเร็จของผู้เรียน ความสำเร็จหรือ
ความล้มเหลวของยุทธศาสตร์การสอนจะปรากฏ
ในพฤติกรรมของผู้เรียนแสดงออกในกระบวน
การเรียนการสอนหลังจากประเมินแล้ว นำผล
การประเมินมาปรับปรุง บางครั้งการปรับปรุง
อาจจะมีลักษณะเป็นวงจรต่อเนื่องเพราะไม่มีสื่อ
การเรียนการสอนใดที่เหมาะสมกับหลักสูตร
ขบวนการหรือวิธีการสอนคงที่เสมอไปจะต้องมี
การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงให้เกิดประโยชน์
ในการใช้อย่างมีประสิทธิภาพไปตามสภาพ
แวดล้อม
อย่างไรก็ตาม ไม่มีวิธีการสอนหรือสื่อ
การเรียนการสอนชนิดใดที่สามารถจะใช้กับผู้เรียน
และบทเรียนทุกบทเรียน วิธีสอนและสื่อการเรียน
การสอนแต่ละอย่างย่อมมีจุดมุ่งหมายเฉพาะ
ของตนเอง ฉะนั้นการเลือกใช้สื่อการเรียน
การสอนนั้น ควรพิจารณาวัตถุประสงค์ของการ
เรียนรู้และสถานการณ์ภายใต้การเรียนของผู้เรียน
เป็นสำคัญด้วย
โดยสรุปจะเห็นได้ว่า การสอนเป็นการจัด
ข้อมูลข่าวสารและสิ่งแวดล้อมโดยมีสื่อช่วยก่อ
ให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งจุดมุ่งหมายที่สำคัญของ
การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน ก็คือ การขยาย
ประสบการณ์แก่ผู้เรียนให้กว้างขวางนั่นเอง
วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มิถุนายน -ตุลาคม 2546 หน้า 21
เอกสารอ้างอิง
Brook, Patricia Ann. (1994). Educational Technology in the Classroom. Englewood
cliffs, NJ : Educational Technology Publications. Inc.
Heinich, R., Malenda, M., Russell J.D. (1996). Instructional media and the new technologies
of instruction . (5th ed.) Englewood cliffs. NJ : Pentrice – Hall. Inc.
Kemp, Jerrold E., Smellie, Done. (1994). Planning, Producing, and Using Instructional
Technologies. (7th ed.) New York: Harper Collins, 1994.
หน้า 22 วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มิถุนายน -ตุลาคม 2546__
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน 
          สื่อการสอนไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใด รูปแบบใดก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และทักษะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพสังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร การใช้สื่อการสอนในรูปแบบที่เหมาะสมจึงมีความจำเป็นมากขึ้น เพราะสื่อจะช่วยให้การรับรู้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสื่อและวิธีการเสนอสื่อนั้นๆ ด้วย สื่อธรรมดาที่สุด เช่น ชอล์กและกระดานดำหรือไวท์บอร์ด หากมีการออกแบบการใช้ที่ดีก็อาจมีประสิทธิภาพในการสื่อความหมายมากกว่าการ ใช้สื่อที่ซับซ้อน และมีราคาแพงกว่าก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม สื่อแต่ละประเภทย่อมมีข้อดีและข้อจำกัดในตัวเอง
          สื่อมัลติมีเดียก็เช่นเดียวกับสื่ออื่น คือ มีทั้งข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ข้อได้เปรียบที่เห็นชัดเจนคือ ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาก้าวหน้า อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลข้อมูล นำเสนอข้อมูล ภาพ เสียง และข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพดังกล่าวนี้เมื่อผนวกเข้ากับการออกแบบโปรแกรมที่ดี ย่อมส่งผลดีต่อการเรียนการสอน ข้อเสียเปรียบของสื่อมัลติมีเดียก็มีอยู่ไม่น้อย ประการสำคัญคงเป็นราคาของคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นก็เป็นความซับซ้อนของระบบการทำงานซึ่งเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ นับว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความยุ่งยากในการใช้งาน อย่างไรก็ตาม ความยุ่งยากของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ลดลงตามลำดับ บริษัทผู้พัฒนาโปรแกรมได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้การใช้คอมพิวเตอร์มี ความง่ายสำหรับคนทุกคนทุกอาชีพ
           การติดต่อกับผู้ใช้ด้วยกราฟิก (Graphical User Interface หรือ GUI) ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ง่ายและเป็นกันเองมากขึ้น ความง่ายต่อการใช้และประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์นี้เอง ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเริ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเรียนการ สอนในโรงเรียน เริ่มจากโรงเรียนที่มีความพร้อม แล้วขยายวงออกไป จนปัจจุบันกลายเป็นสิ่งที่โรงเรียนทุกแห่งควรจะต้องมี คำถามที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มค่าของการลงทุนยังคงมีอยู่ตลอดเวลา คำตอบที่ชัดเจนคงมีเพียงคำตอบเดียวคือ หากเราใช้เทคโนโลยีอย่างนี้อย่างคุ้มค่าก็เป็นสิ่งที่น่าลงทุน
          เมื่อกล่าวถึงความคุ้มค่าของการใช้คอมพิวเตอร์ คนส่วนใหญ่จะคิดว่า ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่นั้นจะนำมาใช้งานอะไรได้บ้าง ตรงกับความต้องการหรือไม่ เพียงพอหรือไม่ ความคุ้มค่าอยู่ที่เราได้อะไรจากการใช้คอมพิวเตอร์ ในโรงเรียนนอกจากงานด้านบริหารจัดการแล้ว ความคุ้มค่าของการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ที่คุณภาพและปริมาณของสื่อมัลติมีเดีย และแผนการใช้เพื่อการเรียนการสอนอีกด้วย
          สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนั้น คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และข้อความ เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อ การศึกษานี้ มีข้อแตกต่างจากสื่อมัลติมีเดียที่ใช้เพื่อการนำเสนอข้อมูลหรือการประชา สัมพันธ์อยู่หลายด้าน บทบาทของสื่อมัลติมีเดียทั้ง 2 ลักษณะจึงมีดังนี้
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
          - เป้าหมายคือ การสอน อาจใช้ช่วยในการสอนหรือสอนเสริมก็ได้
          - ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน
          - มีวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุเฉพาะ โดยครอบคลุมทักษะความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และเจตคติ ส่วนจะเน้นอย่างใดมากน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และโครงสร้างของเนื้อหา
          - เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง
          - ใช้เพื่อการเรียนการสอน แต่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น
          - ระบบคอมพิวเตอร์สื่อมัลติมีเดียเป็นชุดของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการส่งและรับข้อมูล
          - รูปแบบการสอนจะเน้นการออกแบบการสอน การมีปฏิสัมพันธ์ การตรวจสอบความรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยา และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก
          - โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด
          - การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำ
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
          - เป้าหมายคือ การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการคิด การตัดสินใจ ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ
          - ผู้รับข้อมูลอาจเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่
          - มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ
          - เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
          - ใช้มากในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจ
          - อาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เพื่อเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือเพื่อต้องการให้ผู้ชมได้ชื่นชม



และคล้อยตาม
          - เน้นโครงสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นต้น ไม่ตรวจสอบความรู้ของผู้รับข้อมูล
          - โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอ

          สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่นักการ ศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง พัฒนาการของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนในประเทศตะวันตก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา มีความรุดหน้าอย่างเด่นชัด ยิ่งเมื่อมองภาพการใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายด้วยแล้ว บทบาทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนจะยิ่งโดดเด่นไปอีกนานอย่างไร้ ขอบเขต รูปแบบต่างๆ ของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนได้รับการพัฒนาขึ้นตามความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จนกระทั่งเมื่อกล่าวถึงสื่อมัลติมีเดีย ทุกคนจะมองภาพตรงกัน คือ การผสมผสานสื่อหลากหลายรูปแบบเพื่อนำเสนอผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนได้รับการบันทึกไว้บนแผ่นซีดี รอมและเรียกบทเรียนลักษณะนี้ว่า CAI เมื่อกล่าวถึง CAI จึงหมายถึงสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอบทเรียนโดยมีภาพ และเสียงเป็นองค์ประกอบหลัก โดยภาพและเสียงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบของข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือวีดิทัศน์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบบทเรียน ส่วนเสียงนั้นจะมีทั้งเสียงจริง เสียงบรรยาย และอื่นๆ ที่เหมาะสม โดยทั้งหมดนี้จะถ่ายทอดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งต่อเป็นระบบเครือข่ายหรือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
          เมื่อเทคโนโลยีเครือข่ายมีความก้าวหน้ามากขึ้น การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายก็ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นตามลำดับเช่น กัน เครือข่ายใยแมงมุมโลกหรือที่เรียกทั่วไปว่า เว็บ (Web) ได้รับการพัฒนาและการตอบสนองจากผู้ใช้อย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เว็บกลายเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ธุรกิจทั่วโลกให้ความสนใจ ซึ่งรวมทั้งธุรกิจด้านการศึกษาด้วย โดยเฉพาะด้านการศึกษานั้น เว็บได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกหนทุกแห่งในโลกมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ ในเว็บได้ใกล้เคียงกัน
          การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) ได้รับความสนใจจากนักการศึกษาเป็นอย่างมาก ในช่วง ค.ศ. 1995 ถึงปัจจุบัน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอนทั้งระบบการสอน และการออกแบบบทเรียนได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการพัฒนาโปรแกรมสร้างบทเรียนหรืองานด้านมัลติมีเดียเพื่อสนับ สนุนการสร้างบทเรียนบนเว็บมีความก้าวหน้ามากขึ้น โปรแกรมสนับสนุนการสร้างงานเหล่านี้ล้วนมีคุณภาพสูง ใช้งานง่าย เช่น โปรแกรม Microsoft FrontPage โปรแกรม Dream Weaver โปรแกรม Macromedia Director โปรแกรม Macromedia Flash และโปรแกรม Firework นอกจากโปรแกรมดังกล่าวแล้ว โปรแกรมช่วยสร้างสื่อมัลติมีเดียอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมในการนำมาสร้างบทเรียนมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน เช่น Macromedia Authorware และ ToolBook ก็ได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้งานบนเว็บได้ การเปลี่ยนแปลงรวมทั้งบทบาทของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ส่งผลต่อการจัดรูปแบบ การเรียนการสอนนี้เอง ที่ทำให้การเรียนการสอนทางไกลการฝึกอบรมทางไกล รวมทั้งการเรียนการสอนในลักษณะของการอภิปรายโต้ตอบทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่ม ย่อย ซึ่งทำได้ยากและต้องเสียค่าใช้จ่ายมากจะเป็นเรื่องที่ไม่แปลกใหม่ในอนาคต
อ้างอิง http://learning.pitlokcenter.com/captivate/train-media_forlearning.htm







คุณค่าและความสำคัญของสื่อ ICT เพื่อการเรียนการสอน
โดย Tabletnrt2 เมื่อ 21 มิถุนายน 2012 เวลา 12:01 น. •

                การสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยมีเจตนาที่จะถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม และทักษะจากครู  ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งไปยังผู้เรียนซึ่งเป็นผู้รับ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยสื่อกลางในรูปแบบต่างๆ เป็นเครื่องช่วยการเรียนรู้ ดังนั้นสื่อกลางจึงเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมโยงที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

สภาพปัญหาด้านสื่อการเรียนการสอนในสถานศึกษา
                เมื่อ พิจารณาถึงสภาพการสอนในสถานศึกษาพบว่า ส่วนมากสภาพการสอนโดยรวมยังไม่เหมาะกับสภาพความเปลี่ยนแปลงในวงการศึกษา เช่น การขยายตัวอย่างรวดเร็วด้านวิชาการ  ทั้งปริมาณและความซับซ้อน การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากรและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆ
                ในขณะเดียวกันสภาพการจัดการเรียนการสอนโดยทั่วไป ยังใช้รูปแบบเดิมในลักษณะที่ครูยืนบรรยายหน้าชั้นไม่ค่อยได้ใช้สื่อการเรียน การสอนหรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยมากนัก  ผู้เรียนเป็นผู้รับฟังจินตนาการตามแล้วจดจำไปในบางเรื่องอาจไม่เข้าใจ เพราะบางเรื่องเป็นนามธรรมยากที่จะเข้าใจได้ จึงมีผู้เรียนเพียงส่วนน้อยที่ทำตามเข้าใจได้ถึงผลให้คุณภาพทางการศึกษา ในภาพรวมไม่บรรลุตามคุณลักษณะที่ได้ตั้งไว้
                ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุหลายประการ เฉพาะในสถานศึกษา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาเหล่านี้ มี 2 กลุ่ม
                1. กลุ่มผู้บริหาร ในอดีตที่ผ่านมาไม่เข้าใจงานด้านเทคโนโลยี ไม่ตระหนักในคุณค่า และความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน มองการสอนเป็นเรื่องธรรมดา จึงมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของครู หาก มีครูย่อมสามารถสอนได้  ส่วนมากจะมุ่งแต่งานด้านการบริหารมากกว่าด้านวิชาการ  โดยมอบหมายภาระด้านการสอนให้ครูเป็นผู้แก้ปัญหาเอง ขาดการเอาใจใส่ หรือวางแผนเพื่อพัฒนาด้านการสอนให้ก้าวหน้าทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง บางท่านอาจเล็งเห็นความสำคัญ  แต่ไม่ทราบแนวทางการพัฒนาให้ดีขึ้น  หรืออาจทราบแต่มีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้ไม่สามารถจัดสภาพแวดล้อมที่จะ อำนวยความสะดวกในด้านสื่อการเรียนการสอนให้แก่ผู้สอนได้สืบเนื่องมาจากขาดงบ ประมาณ  ขาดผู้มีความรู้ความสามารถที่จะช่วยดำเนินงานเพื่อพัฒนาด้านสื่อการเรียน การสอนระดับสถานศึกษาได้  สิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาไม่เอื้อต่อการใช้สื่อการเรียนการสอนบางประเภท เช่น  ท้องถิ่นทุรกันดาร  หาวัสดุยาก  กระแสไฟฟ้ายังเข้าไปไม่ถึง  เป็นต้น
                2. กลุ่มครูผู้สอน  ซึ่งรับผิดชอบงานด้านการสอนโดยตรง ครูส่วนมากมีความรอบรู้ในเนื้อหาวิชา แต่มักขาดเทคนิคในการถ่ายทอดความรู้ ส่วนน้อยมีความสนใจ กระตือรือร้นพยายามหาวิธีการเพื่อพัฒนาการสอนให้ดีขึ้น พยายามใช้สื่อเข้าช่วย แต่บางคน ไม่สนใจที่จะปรับปรุงแนวการสอนให้ดีขึ้น  เคยสอนอย่างไรก็สอนอย่างนั้นไม่สนใจที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนเพื่อช่วย สร้างประสบการณ์รูปธรรมให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน
         สื่อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน หมายถึง ทำการติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกันจึงได้มีการนำเอาคำว่า สื่อ (Medias) มาใช้แทนคำว่าอุปกรณ์ และเนื่องจากเน้นที่ครูผู้สอนเป็นสำคัญจึงใช้คำว่า สื่อการสอน (Teaching Medias) แต่มาในระยะหลัง นักการศึกษาหันมาเน้นที่ผู้เรียนมากกว่าครูผู้สอน จึงเกิดคำว่า สื่อการเรียนรู้ (Learning Medias) ขึ้น

คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
                         เพื่อ ให้ตระหนักถึงคุณค่าของสื่อการเรียนการสอนโดยทั่วๆ ไปจึงขอนำผลการวิจัย      ที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าของสื่อการเรียนการสอนมากล่าวโดยสรุปดังนี้
                         1.   ช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ
                         2.   ช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้มากขึ้น โดยใช้เวลาน้อย
                         3.   ช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียน และมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง
                         4.   ช่วยส่งเสริมการคิด ความประทับใจ มั่นใจ และจดจำได้นาน
                         5.   ช่วยส่งเสริมกระบวนการคิดและการแก้ปัญหาในการเรียนรู้
                         6.   ช่วยให้สามารถแก้ปัญหาข้อจำกัดต่างๆ ในการเรียนรู้ได้
                                    6.1                 ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
                                       6.2                 ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
                                       6.3                 ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
                                       6.4                 ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงช้าให้ดูเร็วขึ้น
                              6.5   ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้เล็กเหมาะแก่การศึกษา
                                       6.6                 ทำสิ่งที่เล็กมากให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น
                                       6.7                 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ในปัจจุบัน
                                       6.8                 นำสิ่งที่อยู่ห่างไกลมาศึกษาภายในห้องเรียนได้
                         7.   ช่วยลดการบรรยายของผู้สอนลง แต่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายขึ้น
                         8.   ช่วยลดการสูญเปล่าทางการศึกษาลง เพราะช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนสอบตกน้อยลง


ความแตกต่างของสื่ออิเล็กทรอนิกส์กับสื่อทั่วไป
สื่อทั่วไป
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
1. ใช้กระดาษในการจัดทำ
1. ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการจัดทำ
2. มีข้อความและภาพนิ่งประกอบเนื้อหา
2. มีภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวประกอบเนื้อหา
3. ไม่มีเสียงประกอบ
3. ใส่เสียงประกอบในตัวสื่อได้
4. แก้ไขปรับปรุงได้ยาก
4. แก้ไขและปรับปรุงข้อมูล (update) ได้ง่าย
5. สมบูรณ์ในตัวเองไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลออกไปภายนอกได้
5. สร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออกไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้ และแสดงผลได้ทันที
6. ต้นทุนการผลิตสูง
6. ต้นทุนในการผลิตสื่อต่ำและประหยัด
7. มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ และการทำสำเนา เนื่องจากมีราคาแพง
7. ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด และราคาไม่แพง
8. ใช้งานได้อย่างเดียว
8. ใช้งานได้แล้วยังสามารถสั่งพิมพ์ทางเครื่องพิมพ์ได้
9. สามารถนำมาใช้งานได้เพียง 1 คนต่อ สื่อ 1 ชิ้นในเวลาเดียวกัน
9. สามารถใช้งานพร้อมกันได้จำนวนมาก  ในเวลาเดียวกัน เมื่อนำมาออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้  
10. พกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่)
10. พกพาสะดวกได้ครั้งละจำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ ใน Handy Drive หรือ CD
11. เป็นสื่อทางเดียว
11. เป็นสื่อสองทาง แสดงผลในลักษณะมัลติมีเดีย สามารถตอบโต้กับผู้เรียนได้
12. เป็นนวัตกรรมที่ใช้จากวัสดุที่ผลิตจากธรรมชาติ (กระดาษ)
12. เป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


ข้อดี-ข้อจำกัดของสื่ออิเล็กทรอนิกส์

                         ข้อดี
                        1.   ขยายขอบเขตของการเรียนรู้ของนักเรียนในทุกหนทุกแห่งจากห้องเรียนปกติไปยัง บ้านและที่ทำงาน ทำให้ไม่เสียเวลาในการเดินทาง
                       2.   ขยายโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนอย่างกว้างขวางในสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ห่างไกลกัน
                       3.   นักเรียนควบคุมการเรียนตามความต้องการ และความสามารถของตนอง
                       4.   การสื่อสารโดยใช้ อีเมล์ กระดานข่าว ฯลฯ ทำให้การเรียนรู้มีชีวิตชีวามากขึ้น
                        5.   กระตุ้นให้นักเรียนรู้จักการสื่อสารในสังคม และก่อให้เกิดการเรียนแบบร่วมมือ
                       6.   การเรียนด้วยสื่อหลายมิติทำให้นักเรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาได้ตามสะดวก
                       7.   ข้อมูลของหลักสูตรและเนื้อหารายวิชาสามารถหาได้โดยง่าย
                       8.   ส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเว็บเป็นแหล่งความรู้
                       9.   การสอนบนเว็บเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการให้นักเรียนได้ประสบการณ์ตรง
                        


ข้อจำกัด
                       1.   การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นยังมีน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการ อื่น ๆ ทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจำนวน และ ขอบเขตจำกัดที่จะนำมาใช้เรียนในวิชาต่างๆ
                       2.   การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเอง นั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญาและความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มี มากยิ่งขึ้น
                       3.   ไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนได้
                       4.   นักเรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่เล็งเห็นความสำคัญของโปรแกรม  ที่เรียงตามขั้นตอน ทำให้เป็น อุปสรรคในการเรียนรู้ได้แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตาม เทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน
อ้างอิง http://www.facebook.com/notes/tabletnrt2/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD-ict-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99/287082901390306


ระบบและวิธีการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม.

ตลอดระยะเวลา 20 กว่าปีที่ผ่านมาสถานศึกษา นักการศึกษา ต่างระดมแนวคิดหาแนวทางการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีพัฒนาการในด้านต่างๆอย่างรวด เร็ว ได้มีการพัฒนา หาทางปรับปรุง เกี่ยวกับระบบ หรือรูปแบบการเรียนการสอน ด้วยการค้นหา พัฒนา วิธีการ แนวคิด ประยุกต์ด้วยการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ มาใช้ร่วมในการดำเนินการจัดการศึกษาปัจจุบันจะพบว่า สถานศึกษาต่างๆ ได้เพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงคิดค้นนวัตกรรม พัฒนาและแพร่กระจายเนื้อหาการเรียนการสอน และพัฒนาวิธีการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนที่มีความสามารถ สามารถเข้าถึงสังคมข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างดี ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง และความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี รัฐจึงได้เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา โดย กำหนดสาระหลักไว้ใน หมวด 9 แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 แต่การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในประเทศไทยนั้นยังกระทำไปได้ไม่เต็มที่ เท่าที่ควรจะเป็น ทั้งที่เทคโนโลยีได้ก้าวไปไกล มีเพียงสถานศึกษาไม่กี่แห่งที่มีความพร้อม ปรับปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ กลไกในการดำเนินการ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างจริงจังนั้น อยู่ภายใต้องค์ประกอบที่สำคัญ หลายประการ อาทิ
1. บุคลากรครู โดย ส่งเสริมความรู้ การฝึกอบรมครู การพัฒนาบุคลากร ในทุกระดับ อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ซึ่งในความเป็นจริง บุคลากรเป็นปัจจัยหลัก ในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีการศึกษาไปสู่การจัดการศึกษา แต่ปัจจุบันพบว่า มีครูและบุคลากรทางการศึกษายังไม่ได้รับ(โอกาสหรือไม่คิดจะรับ) การพัฒนา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านนโยบายระดับล่าง หรือผู้บริหาร ซึ่งนับเป็นอุปสรรคสำคัญ ในการก้าวสู่กระบวนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษา
2. โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดย การสนับสนุนโครงข่าย อุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็น ต่อการเข้าถึงองค์ความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ซึ่งปัจจุบันความเหลื่อมล้ำในช่องทางการเข้าถึง ระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท จะลดน้อยลงก็ตาม แต่ระหว่างสถานศึกษากลับพบว่า เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ ที่เป็นช่องทางการเรียนรู้ในชั่วโมงการเรียน ยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก 

3. เครือข่าย การสร้างโครงข่ายหรือเครือข่ายการเรียนรู้ เน้นการใช้สื่อ สาระการเรียนรู้และข้อมูลร่วมกัน การก้าวไปสู่สังคมการเรียนรู้บนเครือข่ายปัจจัยสำคัญคือ ตัวข้อมูล สาระการเรียนรู้ แม้จะพบว่าจะอยู่ในสภาพมีการรวมตัวกันบ้าง ในกลุ่มสถานศึกษา แต่ก็มีไม่มากนัก การที่จะให้เครือข่ายมีความเข้มแข็ง จำเป็นต้องกำหนดเป็นนโยบาย หรือวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ในการสร้าง website พัฒนา website และเชื่อมโยง website สถานศึกษาแต่ละแห่งในแต่ละพื้นที่เข้าเป็นกลุ่มเครือข่ายด้วยกัน
4. ข้อมูล องค์ความรู้ ส่งเสริมให้สถานศึกษามี การพัฒนาสื่อ ทั้งในแบบออฟไลน์ และออนไลน์ ผลักดันให้มีการพัฒนาฐานการเรียนรู้บน website ระดมสร้างข้อมูลการเรียนรู้ หรือนวัตกรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา
5. กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถานศึกษาควรมี website ของสถานศึกษาเพื่อใช้เป็นเวทีกลางในการสร้างสรรผลงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะครูร่วมกัน เป็นฐานหลักในการศึกษาหาความรู้ของผู้เรียนที่เป็นนักเรียน นักศึกษา เป็นช่องทางสื่อสารระหว่างหน่วยงาน ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง กระตุ้นให้ครูผู้สอนได้พัฒนาสาระการเรียนรู้ เช่น จัดประกวด การจัดทำสื่อในลักษณะต่างๆทั้งในแบบออฟไลน์ และออนไลน์ การให้แรงจูงใจ การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม การให้รางวัลแด่ครูผู้มีผลงานยอดเยี่ยม

สักวันหนึ่ง ในระยะเวลาอีกไม่นานนัก หลักการของกระบวนการจัดการเรียนการสอน อาจจะเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมที่ครูผู้สอนจะเป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหา ประสบการณ์หลัก หรือ ความรู้เพียงหนึ่งเดียว ไปสู่ผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ผนวก รวมถึงเป็น ผู้ชี้แนะผู้ประสานและกำหนดทิศทางของความรู้ที่ได้จากการเข้าถึงแหล่งข้อมูล ความรู้ต่างๆ เช่น หนังสือเรียน ห้องสมุด ข้อมูลชุมชน สื่อสารมวลชน ฐานข้อมูลออนไลน์ไปจนถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

อ้างอิง http://www.northeducation.ac.th/etraining/courses/3/itedu/chap1/index04.php
การสื่อสารเเพื่อการเรียนการสอน
ความหมาย ประเภทและประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
            สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ......ประเภทของสื่อการเรียนการสอน.............สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
            1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
            2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
            3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
            4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)
สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามประสบการณ์
            1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง
            2. ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตรายไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า
            3. ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น
            4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด
            5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง
            6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง
            7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์
            8. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียงซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย
            9. ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิแผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น
            10.วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตามเราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา
สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติ
            Wilbure Young ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้
     1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ
     2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ
    3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
    4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริปเครื่องฉายสไลด์
   5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯ
สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามรูปแบบ(Form)Louis Shores
             ได้แบ่งประเภทสื่อการสอนตามแบบไว้ ดังนี้
            1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ
            2 วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ ( Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ
            3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ
            4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง
สื่อการเรียนการสอนตามลักษณะและการใช้
            1. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware)
            2. วัสดุ (Software)
            3. เทคนิคหรือวิธีการ (Techinques or Methods)

คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
            1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
                        1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ
                        1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
                        1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
                        1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
                        1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
            2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
                        2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
                        2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
                        2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
                        2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
                        2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
                        2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
                        2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
                        2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
                        2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
                        2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
                        2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน
            1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
            2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
            3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
            4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
            5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
            6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
            7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
            8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม
อ้างอิง http://5211014331.multiply.com/journal/item/5











ศูนย์สื่อการเรียนการสอนคืออะไร

             การดำเนินการและการจัดตั้งศูนย์สื่อการเรียนในสอนในสถานศึกษาของประเทศไทย ส่วนมากจะดำเนินการเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนที่สมบูรณ์ มีศูนย์สื่อการเรียนการสอนเพื่อให้บริการครูและนักเรียน โดยไม่ได้คำนึงว่าบทบาทของศูนย์สื่อการสอนที่แท้จริงคืออะไร เมอร์ริล และดรอบ (Merrill and Drob, 1977) ได้ให้ความหมายของศูนย์สื่อการสอนว่า เป็นองค์กรที่ทำกิจกรรมที่ประกอบด้วยผู้นำ,คณะทำงาน และสถานที่เก็บอุปกรณ์ หนึ่งในส่วนนั้นมีพื้นที่ในการผลิต การจัดหา การนำเสนอของวัสดุการสอน การจัดหาเพื่อพัฒนา และการวางแผนให้บริการซึ่งสัมพันธ์กับหลักสูตรและการสอน ปรัชญาพื้นฐานของการจัดองค์การและการจัดการของศูนย์สื่อการเรียนการสอนคือประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเพื่อการเรียนรู้ สามารถควบคุมประสิทธิภาพให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่าย การให้บริการ การให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ บนกระบวนการที่ได้มาตรฐาน เป็นองค์กรที่เป็นศูนย์กลางและจัดการระบบควบคุมทั้งหมดเพื่อการเรียนรู้ (Wang, 1994) อาจจะกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ศูนย์สื่อการเรียนการสอนเป็นส่วนหนึ่งของการจัดองค์กรเพื่อการเรียนรู้ (Learning Organization) เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันมีที่มาประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 ประการคือ ห้องสมุด การให้บริการสื่อ ช่องว่างของการเรียนแบบเดิม และการพัฒนาการเรียนการสอน ศูนย์สื่อการสอนในแนวคิดเดิมจึงเป็นการนำห้องสมุดอันเป็นแหล่งความรู้ โดยนำสื่อเข้ามาช่วยเพื่อลดช่องว่างของการศึกษาที่มีอยู่เดิมเป็นการช่วยพัฒนาการเรียนการสอน (Peterson, 1974)
             ทำไมนักการศึกษาจำนวนมากเห็นว่าควรมีศูนย์สื่อการสอนในสถานศึกษา ศูนย์สื่อการสอนช่วยพัฒนาการจัดการศึกษาได้อย่างไร กลับไม่ใช่ประเด็นที่สนใจของโรงเรียนมากกว่าไปศูนย์สื่อการสอนต้องมีอะไรและใครดูแลศูนย์นั้น แม้ว่าการกำหนดให้ศูนย์สื่อการสอนต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่คอยดูแลก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกัน แต่โดยเนื้อแท้ของการจัดตั้งศูนย์สื่อการเรียนการสอน (Learning Resource Center) ควรต้องคำนึงถึงหัวใจหลักคือ ความเป็นแหล่งที่รวมของการได้มาซึ่งความรู้ที่ผู้เรียนต้องการ เป็นศูนย์ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Students Center) เรียนรู้ผ่านสื่อ (Media) และทรัพยากรต่าง ๆ (Resource) ที่ได้จัดเอาไว้ให้
             ศูนย์สื่อการเรียนการสอนไม่ใช่สิ่งใหม่ มีการจัดตั้งขึ้นอย่างมากมายในสถาบันการศึกษาทุกระดับ ในหลายแห่งก็จะเรียกว่าศูนย์วิทยบริการทางการศึกษา อันมีพัฒนาการมาจากแนวคิดของกลุ่มนักบรรณารักษ์ศาสตร์ ซึ่งมีพื้นฐานจากการให้บริการสิ่งพิมพ์ในห้องสมุด จนถึงบริการด้านสื่อการศึกษาอื่น ๆ จนถึงบริการการฝึกอบรม ส่วนศูนย์เทคโนโลยีการศึกษามีพัฒนาการมาจากศูนย์โสตทัศนศึกษา ซึ่งให้บริการสื่อที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์ การบริการผลิตสื่อหรือเครื่องมือต่าง ๆ ศูนย์วิทยบริการและศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเหมือนกันในเรื่องการบริการ แต่จะแตกต่างกันในด้านการผลิตซึ่งศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา จะมีหน่วยงานผลิต เช่น สื่อโสตทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษายังรับผิดชอบการเรียนการสอน จนถึงการคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอีกด้วย (นิพนธ์ ศุขปรีดี, 2536 : 221-231) ดังนั้นศูนย์สื่อการเรียนการสอนจึงเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามการจัดแบ่งของหน่วยงาน ความสำคัญของแต่ละศูนย์ และหน้าที่เฉพาะที่ได้รับมอบหมาย ลักษณะของศูนย์สื่อการเรียนการสอนจึงแตกต่างกันไป และน่าจะแยกได้ออกเป็นแบบต่าง ๆ ได้แก่
             1. ศูนย์สื่อเพื่อการผลิตและเผยแพร่ (Production and Distribution) เป็นศูนย์ที่ทำหน้าที่ในการ ผลิตสื่อการสอนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ การผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา การผลิตสื่อการสอนในรายวิชาต่าง ๆ การจัดผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดการสอน จัดอบรมการผลิตสื่อและจำหน่ายสื่อให้กับผู้สนใจ
             2. ศูนย์สื่อเพื่อให้บริการและสนับสนุนการเรียนการสอน (Service and Support) เป็นศูนย์ที่ ให้บริการสื่อการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งอุปกรณ์การสอน การให้คำปรึกษาและข้อแนะนำในการใช้สื่อเป็นศูนย์ที่มีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย มีการเชื่อมโยงระหว่างศูนย์สื่อ ให้บริการยืม และสนับสนุนการเรียนการสอน และเป็นศูนย์ที่ทุกคนเข้ามาใช้ประโยชน์ได้
             3. ศูนย์สื่อครบวงจร เป็นศูนย์ที่รวมรูปแบบของศูนย์สื่อเพื่อผลิตและบริการเข้าไว้ในรูปแบบ เดียวกัน เป็นศูนย์ที่มีการจัดพื้นที่ในการผลิตและให้บริการสื่อทุกประเภท ติดตั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้บริการกับผู้ใช้ มีการฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษา จัดอบรมการผลิตสื่อและเผยแพร่นวัตกรรม ให้ยืมอุปกรณ์การศึกษาและจัดจำหน่วยสื่อการสอนที่ศูนย์ผลิตขึ้น
             4. ศูนย์สื่อเฉพาะทาง เป็นศูนย์ที่ดำเนินการเฉพาะตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานใด หน่วย งานหนึ่งเป็นพิเศษ อาจเป็นเพียงศูนย์สื่อเพื่อการผลิต ศูนย์สื่อเพื่อการบริการ หรือศูนย์สื่อที่ครบวงจรก็ได้ แต่จะทำงานเพื่อประโยชน์เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ
             เนื่องจากศูนย์สื่อการเรียนการสอน มักจะทำหน้าที่ทั้งในการผลิตและการบริการ มีตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน และการศึกษาพิเศษ ลักษณะของศูนย์จึงย่อมมีความแตกต่างกัน ศูนย์สื่อการสอนบางแห่งก็จะเป็นศูนย์ที่ทำหน้าที่ในการผลิตโดยเฉพาะหรือมีงานเกี่ยวกับการผลิตเป็นหลัก โดยดำเนินการผลิตอย่างเต็มรูปแบบ ก็ควรแยกศูนย์ในลักษณะนี้ออกเป็นศูนย์เอกเทศ มีการจัดการและการบริหารที่เป็นของตนเอง ให้ศูนย์สามารถดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์ วีดิทัศน์ รายการวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อกราฟิก หรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้อย่างอิสระ มีการจัดอบรมการผลิตสื่อประเภทต่าง ๆ เผยแพร่สื่อที่ศูนย์ผลิตให้คำปรึกษาและแนะนำกับครูอาจารย์ผู้สอนในวิชาต่าง ๆ ได้ ศูนย์ลักษณะนี้อย่างเช่น สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษา ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือมหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราช หรือศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ของกรมการศึกษานอกโรงเรียน
             แต่ถ้าศูนย์สื่อมีลักษณะในการให้บริการสื่อสิ่งพิมพ์ เอกสารการสอนชุดวิชา ให้บริการโสตทัศนูปกรณ์ ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต มีระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ให้บริการโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าเครื่องเล่นวีดิโอเทป เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เทปเสียงหรือคอมพิวเตอรช่วยสอน มีห้องให้ชมวีดิทัศน์ ติดตั้งระบบดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี มีห้องประชุมย่อย มีผู้คอยให้คำปรึกษาแนะนำการใช้สื่อและอบรมวิธีการใช้ ก็อาจจัดให้ศูนย์ลักษณะนี้เป็นศูนย์บริการเฉพาะหรือรวมอยู่ในห้องสมุด ศูนย์ลักษณะนี้ก็จะเรียกว่าเป็นศูนย์วิทยบริการ หรือศูนย์โสตทัศนศึกษา เช่น ศูนย์โสตทัศนศึกษากลางของ สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หรือศูนย์ระดับโรงเรียนแต่น่าสนใจอย่างศูนย์รัตนบรรณาคาร ของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
             ส่วนศูนย์สื่อการสอนที่มีลักษณะเป็นศูนย์ครบวงจร เป็นศูนย์ที่พยายามจะให้มีหรือให้เกิดขึ้นโดยเฉพาะภายในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ ที่พยายามจัดพื้นที่ศูนย์ของตนในการให้บริการอย่างครบวงจร ในขณะที่จัดพื้นที่บางส่วนเพื่อการผลิตไปด้วย ศูนย์สื่อในลักษณะนี้จะมีอยู่มากกว่าแบบอื่น ๆ แต่จะมีสัดส่วนในการให้ผลิตหรือการให้บริการไม่เท่ากัน ไม่สามารถกำหนดเฉพาะตายตัวลงไปได้ เช่นเดียวกับศูนย์สื่อการสอนเฉพาะทางที่มีการกำหนดบทบาทเฉพาะอย่างชัดเจน เช่น ศูนย์พัฒนาสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ที่ทำหน้าที่ผลิตสื่อการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ และเผยแพร่สื่อด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ หรือสำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ที่มุ่งเน้นการผลิตสื่อการสอนเฉพาะทางด้านช่างอุตสาหกรรมและอาชีวศึกษา หรือฝ่ายเวชนิทัศน์ของโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ผลิตสื่อและให้บริการสื่อเฉพาะทางการแพทย์
             ส่วนในระดับสถาบัน วิทยาลัยหรือโรงเรียนก็จะมีระดับของศูนย์สื่อการเรียนการสอนที่แตกต่างไป มีการเรียกชื่อแตกต่างกันไปเช่น
             1.ศูนย์โสตทัศนศึกษา (Audio-Visual Education Center)
             2.ศูนย์โสตทัศน์ (Audio-Visual Center)
             3.ศูนย์โสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipment Center)
             4.ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology Center)
             5.ศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (Educational Communication and Technology Center)
             6.ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology and Innovation Center)
             7.ศูนย์สื่อ (Media Center)
             8.ศูนย์สื่อการสอน (Instructional Media Center)
             9.ศูนย์สื่อการศึกษา (Educational Media Center)
             10.ศูนย์บริภัณฑ์สื่อ (Media Resource Center)
             11.ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา (Educational Resource Center)
             12.ศูนย์สื่อการเรียนการสอน (Learning Resource Center)
             13.ศูนย์วิทยบริการ (Academic Resources Center)
             14.ศูนย์บริการสื่อการสอน (Media Service Center)
             หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดของศูนย์สื่อการสอนก็คือ การเข้ามาของคอมพิวเตอร์ โดยการทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Resources Center) ได้ถูกนำมาใช้ในหน่วย งานทางการศึกษาโดยเฉพาะภายในศูนย์ข้อมูลและศูนย์สื่อการสอนของห้องสมุด เพราะเข้ามาเป็นที่ เก็บข้อมูลและเป็นแหล่งบริการการเรียนรู้ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่กับการศึกษา สามารถนำไปใช้กับงานราชการ โรงเรียน เพราะศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้โปรแกรมรายการต่าง ๆ สมบูรณ์ ศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในห้องสมุดเพื่อทำให้ขั้นตอนที่เคยยุ่งยากสะดวก และการบริการค้นข้อมูลก็จะดีเยี่ยมด้วยศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เต็มรูปแบบ ไม่ต่างอะไรกับโสตทัศนูปกรณ์หรือแผนกไมโครฟิล์มที่เป็นมุมหนึ่งของห้องสมุด ศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้ผู้บริการสะดวกและเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของห้องสมุดต่อไป (Dickinson, 1994 : 1) ศูนย์สื่อการสอนในอนาคตทุกแห่งต้องพัฒนามาใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักในการจัดสภาพแวดล้อมภายในศูนย์ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ต่อเชื่อมโยงระหว่างศูนย์สื่อการสอนต่างสถาบันและระหว่างศูนย์สื่อการสอนกับบ้านของผู้ใช้ โดยมี CD-ROM เป็นฐานข้อมูลที่ผู้เข้าใช้บริการศูนย์สื่อการสอน ต้องเข้ามา ใช้เพื่อการสืบค้นหาความรู้ได้ตลอดเวลาจะกลายเป็นหัวใจสำคัญของศูนย์สื่อในอนาคต เพียงแต่ว่าต้องฝึกให้ผู้ใช้ได้รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ต้องใช้อย่างไร ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่หนึ่งของนักเทคโนโลยีการศึกษาที่ต้องเข้าไปออกแบบ และวางระบบการใช้ให้สัมพันธ์กับการเรียนการสอน (Craver, 1995)
             ความเจริญก้าวหน้า ความทันสมัย คุณภาพและประสิทธิภาพของศูนย์สื่อการสอนจะมี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องชี้วัด ปริมาณการใช้บริการของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในศูนย์สื่อจะสูงมากกว่าสื่อทุกตัวที่มีอยู่ภายในศูนย์ การพัฒนาระบบเครือข่ายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทั้งในรูปแบบปัจจุบันที่ต่อเชื่อมระบบอินเตอร์เน็ต หรือการเชื่อมโยงด้วยเส้นใยแสง ล้วนแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของศูนย์สื่อที่จะต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นหัวใจในเกือบทุกเรื่องโดยที่ไม่ต้องใช้คน
อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพมาจาก
http://www7.brinkster.com





รูปแบบของศูนย์สื่อการสอนที่เปลี่ยนไป
             เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปศูนย์สื่อการสอนแต่ละยุคก็เปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงก็ย่อมจะมีหลายประการ ที่หนีไม่พ้นก็คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยี แต่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ก็ไม่ใช่ว่าจะทำให้ศูนย์สื่อการสอนได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของศูนย์สื่อการสอนจะเปลี่ยนไปได้หรือไม่ ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ (Lumley, 1995) คือ
             1. วิสัยทัศน์ของผู้บริหารศูนย์สื่อการสอน (Vision)
             2. การพัฒนาคุณภาพของบุคลากรในศูนย์ (Staff Development)
             3. การนำเอาเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เข้ามาช่วยนักเทคโนโลยีการศึกษา
             4. การสร้างความชัดเจนในการให้ครูมีส่วนร่วม
             5. มีกระบวนวางแผนหลักสูตรร่วมกันกับนักเทคโนโลยีการศึกษา
             6. ผู้บริหารให้การสนับสนุน
             ประการสำคัญคือการรับรู้คุณค่าของศูนย์สื่อการเรียนการสอน ของครูอาจารย์ นักเรียน และ การใช้ประโยชน์ของศูนย์ ฮวง และแวกแมน (Huang and Waxman, 1994) มหาวิทยาลัยฮูสตัน ได้ศึกษาผลกระทบของศูนย์สื่อกับความคาดหวังของที่มีผลต่ออาชีพของเขา โดยใช้แบบสอบถามนักศึกษาวิชาครูเกี่ยวกับกิจกรรมของศูนย์สื่อการสอน ซึ่งผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าศูนย์สื่อการสอนมีความเกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อผู้ที่จะเป็นครูในอนาคตในระดับสูง โดยเฉพาะมีการแสดงให้เห็นได้ชัดว่านักศึกษาวิชาครูเห็นว่าศูนย์สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญกับงานที่การศึกษา แต่แม้ว่าจะว่าประโยชน์ของศูนย์สื่อการสอนมีมากก็ตาม แต่ก็พบว่าการรับรู้คุณค่าของศูนย์สื่อการสอนก็เป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุนและให้เห็นถึงคุณค่าของศูนย์สื่อที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนการสอน ในแนวคิดของการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จากการเปรียบเทียบการใช้ศูนย์สื่อการสอนช่วยสนับสนุนในการเรียนการสอน จะช่วยทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในหลักสูตรที่เรียนดีกว่าวิธีการสอนแบบเดิม ๆ (Bingham, 1995) แต่เมื่อศูนย์สื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่ เข้าได้กับเทคโนโลยีใหม่และแนวคิดใหม่ ๆ
             การจัดพื้นที่ของศูนย์สื่อการสอนในอนาคต ไม่ใช่การจัดพื้นที่ในการแหล่งเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ แต่จะเป็นการจัดพื้นที่สำหรับอุปกรณ์โทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ โดยกำหนดให้มีอยู่ในห้องปฏิบัติการ, มีพื้นที่บริเวณการเชื่อมโยงเครือข่าย, พื้นที่การใช้ CD-ROM, พื้นที่อุปกรณ์การส่งสัญญาณแบบสองทาง เทเลคอนเฟอร์เรนท์ และพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม การออกแบบศูนย์สื่อการสอนในอนาคตเป็นการออกแบบเพื่อรองรับเทคโนโลยีโทรคมนาคม (Burke, 1990 : 123) ศูนย์สื่อการสอนจะไม่ใช่เพียงศูนย์จัดเก็บสื่อโสตทัศน์หรือศูนย์ให้ยืมใช้เครื่องมือ แต่จะเป็นที่ยกระดับและเพิ่มศักยภาพของกระบวนการเรียนรู้ที่มีอยู่เดิมไปสู่แหล่งความรู้ใหม่มีการวิจัย การสืบค้น และการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ในอนาคต ศูนย์สื่อในอนาคตจะต้องมีองค์ประกอบที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้เข้าถึงการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยประกอบไปด้วยคณะทำงานที่เป็นมืออาชีพเช่น นักสารสนเทศ,นักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ,โปรแกรมเมอร์, นักวิจัย, นักนิเวศน์วิทยา และสาขาต่าง ๆ ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมการเรียน (Lavi, 1994 : 40) ซึ่งแสดงรูปแบบที่เลวีนำเสนอดังในรูปที่ 2 เป็นการจัดศูนย์สื่อการสอนขนาดใหญ่ในอนาคตควรประกอบด้วย
             1. ส่วนที่เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์สื่อการสอนต่าง ๆ ได้แก่ โสตทัศนูปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยมีสถานที่จัดเก็บและวางกฎระเบียบในการยืม/คืน และการเข้ามาใช้ศูนย์
             2. ส่วนที่เป็นนักวิชาการ ที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาการเรียนการสอน วิธีการสอน ยกระดับ และพัฒนาข้อมูลและจัดเก็บฐานข้อมูลเพื่อการเรียนรู้
             3. ส่วนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ให้คำปรึกษาและแนะนำวิธีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและวิจัยค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ
             4. ส่วนพื้นที่ให้บริการทางวิชาการ ได้แก่ การจัดพื้นที่เพื่อประชุมทางวิชาการ การบรรยายสำหรับชั้นเรียนขนาดใหญ่ พื้นที่การนำเสนอผลงานทางวิชาการที่ทันสมัย
             5. ส่วนการผลิตสื่อการเรียนการสอน จัดให้มีห้องปฏิบัติการการผลิตสื่อ ห้องสตูดิโอบันทึกภาพและเสียง ห้องทำงานกราฟิกและคอมพิวเตอร์
             6. ส่วนเทคโนโลยีระบบสื่อสาร เป็นส่วนที่จัดเฉพาะเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อการสื่อสารทางการศึกษา ได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต เครือข่ายเส้นใยแสง ระบบวีดิโอคอนเฟอร์เรนต์ การศึกษาผ่านดาวเทียม
             สิ่งที่ควรคำนึงนอกเหนือจากการที่ศูนย์สื่อต้องมีอะไรแล้ว มีอะไรที่นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่นอีก แมควาย (McVey, 1996) ได้เสนอให้พิจารณาถึงสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ประกอบในการพิจารณา เนื่องจากสภาพแวดล้อมของศูนย์สื่อเองก็เป็นองค์ประกอบสำคัญ ประการหนึ่งในการจูงใจและเชิญชวนให้เข้ามาใช้บริการ รวมถึงความพร้อมในด้านเครื่องอำนวยความสะดวกและเครื่องมือต่าง ๆ ของศูนย์สื่อเอง ยกตัวอย่าง The Adsetts Centre ของมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ ฮอลแลม ประเทศอังกฤษ ที่นอกจากจะมีวัสดุสิ่งพิมพ์ วัสดุสื่อ ศูนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์เน็ตเวอร์ค และพื้นที่ผลิตสื่อแล้ว ภายในศูนย์เองยังจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้โดยติดตั้งโทรศัพท์ เคเบิลทีวี เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับศูนย์สื่อที่ต่าง ๆ ให้ผู้ใช้ได้ค้นข้อมูลจาก CD-ROM สามารถส่งไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) ค้นคว้าหรือติดต่อหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต (Internet) ให้บริการอัดล้างภาพและมีพนักงานให้คำแนะนำ รวมถึงการฝึกและสอนการใช้เครื่องมืออุปกรณ์สื่อต่าง ๆ ให้กับผู้เข้ามาใช้ มีทีมที่ทำงานในด้านภาพและเสียงให้บริการบันทึกเสียงและถ่ายทำวีดิทัศน์ในสตูดิโอ มีระบบดาวเทียมที่รับสถานีของประเทศต่าง ๆ มีห้องประชุมและห้องบรรยายขนาด 150-200 คน ห้องประชุมสัมนาที่มีการนำเสนอด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย (Purdy, 1997) มีลักษณะการจัดศูนย์สื่อเหมือนกับศูนย์สรรพสินค้า แต่เต็มไปด้วยศูนย์แห่งการเรียนรู้ที่สะดวกสบายและทันสมัยที่สุด
อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพมาจาก